มารู้ถึงวิธีการรักษาพร้อมกับป้องกันอาการเวียนหัว 3 รูปแบบที่เสี่ยงอันตราย
1.เวียนหัวจากความดันต่ำ จะรู้สึกตื่นนอนไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร ยืนแล้วรู้สึกหน้ามืด มึนหัว หนาวสั่น มือชาง่าย
2.เวียนหัวเพราะน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือเรียกอีกอย่างว่าสุมนาวาตะกำเริบ เป็นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางที่เริ่มมีปัญหา เช่น อาการบ้านหมุน หูแว่ว หูตึง รุนแรงไปถึงหูดับ หากรับประทานอาหาร และนอนเป็นเวลาจะช่วยให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานได้ดีขึ้น
3.เวียนหัวเพราะสมองขาดเลือด รูปแบบนี้ถือว่าเป็นอันตราย ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนหัวบ่อย และการทรงตัวแย่ลง พูดตะกุกตะกัก สมองทำงานช้า สามารถเกิดได้หลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด รวมไปถึงโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน
ติดตามความรู้เกี่ยวกับอาการเวียนหัวที่อาจแฝงโรคร้าย จาก ณัฐพล วาสิกดิลก แพทย์แผนไทย
อาการไอ เป็นกลไกการตอบสนองของระบบทางเดินหายใจที่ทำให้เรารู้ว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากสภาพอากาศเมืองไทยเปลี่ยนแปลงบ่อยส่งผลให้อาการไอเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ซึ่งอาการไอผิดปกติแบ่งเป็น อาการไอเฉียบพลันจะมีระยะเวลาอาการไอไม่เกิน 2 สัปดาห์ อาการไอเรื้อรังอาการจะเป็นมากกว่า 2 เดือน อาจเกิดจากโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคไซนัส หอบหืด วัณโรค ถุงลมโป่งพอง รุนแรงไปจนถึงขั้นมะเร็งปอด รวมถึงเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น กรดไหลย้อน การกินยาลดความดัน รวมถึงอาชีพที่ต้องเจอกับมลภาวะต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังได้ทั้งสิ้น ติดตามความรู้จาก พจ.ศศินิภา กายเจริญ แพทย์แผนจีน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
มารู้ถึงวิธีการรักษาพร้อมกับป้องกันอาการเวียนหัว 3 รูปแบบที่เสี่ยงอันตราย
1.เวียนหัวจากความดันต่ำ จะรู้สึกตื่นนอนไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร ยืนแล้วรู้สึกหน้ามืด มึนหัว หนาวสั่น มือชาง่าย
2.เวียนหัวเพราะน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือเรียกอีกอย่างว่าสุมนาวาตะกำเริบ เป็นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางที่เริ่มมีปัญหา เช่น อาการบ้านหมุน หูแว่ว หูตึง รุนแรงไปถึงหูดับ หากรับประทานอาหาร และนอนเป็นเวลาจะช่วยให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานได้ดีขึ้น
3.เวียนหัวเพราะสมองขาดเลือด รูปแบบนี้ถือว่าเป็นอันตราย ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนหัวบ่อย และการทรงตัวแย่ลง พูดตะกุกตะกัก สมองทำงานช้า สามารถเกิดได้หลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด รวมไปถึงโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวาน
ติดตามความรู้เกี่ยวกับอาการเวียนหัวที่อาจแฝงโรคร้าย จาก ณัฐพล วาสิกดิลก แพทย์แผนไทย
อาการไอ เป็นกลไกการตอบสนองของระบบทางเดินหายใจที่ทำให้เรารู้ว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย เนื่องจากสภาพอากาศเมืองไทยเปลี่ยนแปลงบ่อยส่งผลให้อาการไอเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ซึ่งอาการไอผิดปกติแบ่งเป็น อาการไอเฉียบพลันจะมีระยะเวลาอาการไอไม่เกิน 2 สัปดาห์ อาการไอเรื้อรังอาการจะเป็นมากกว่า 2 เดือน อาจเกิดจากโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคไซนัส หอบหืด วัณโรค ถุงลมโป่งพอง รุนแรงไปจนถึงขั้นมะเร็งปอด รวมถึงเกิดจากปัจจัยอื่น เช่น กรดไหลย้อน การกินยาลดความดัน รวมถึงอาชีพที่ต้องเจอกับมลภาวะต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังได้ทั้งสิ้น ติดตามความรู้จาก พจ.ศศินิภา กายเจริญ แพทย์แผนจีน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live