ปัจจุบันสังคมเกิดความรุนแรงขึ้นหลายเหตุการณ์ บางคนนำข่าวสารที่ได้รับมาวิเคราะห์จนมีอารมณ์ร่วมไปกับเนื้อหา หากมีการติดตามข่าวความรุนแรงแล้วไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกได้ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า หรือมีอาการวิตกกังวล ทั้งนี้ หากเริ่มมีอาการใจสั่น กระวนกระวาย หวาดระแวง กังวล ย้ำคิดย้ำทำ คิดมาก โดยมีอาการยาวนานมากกว่า 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อป้องกันโรคทางจิตเวช ติดตามความรู้จาก นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
แนะนำท่าบริหารร่างกาย เพิ่มความยืดหยุ่นสำหรับกล้ามเนื้อทรวงอก เพื่อให้ปอดสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่ขณะหายใจ ด้วยการหายใจช้าและลึกร่วมกับการขยับร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้สมรรถภาพทางกายโดยรวมดีขึ้น ติดตามความรู้จาก เอื้อการย์ เมณกูล นักกายภาพบำบัด
ขยับท่าเดิมซ้ำ ๆ เสี่ยงทำข้อไหล่ติด การใช้งานข้อไหล่มากเกินไปจะส่งผลให้เยื่อหุ้มข้อไหล่บาดเจ็บหรืออักเสบ ทำให้มีอาการเจ็บหัวไหล่เวลาใช้งาน หากปล่อยไว้อาจเรื้อรังได้ ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวแขนข้างที่มีอาการเจ็บน้อยลงทำให้เยื่อหุ้มข้อไหล่หนาตัวขึ้น การขยับหัวไหล่ทำได้น้อยลง จึงเกิดอาการติดของหัวไหล่ มาเช็กอาการข้อไหล่ติดพร้อมฝึกท่าบริหารเพื่อบำบัดและป้องกันข้อไหล่ติด กับ กภ.เดชวิน หลายศิริเรืองไร คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ปัจจุบันสังคมเกิดความรุนแรงขึ้นหลายเหตุการณ์ บางคนนำข่าวสารที่ได้รับมาวิเคราะห์จนมีอารมณ์ร่วมไปกับเนื้อหา หากมีการติดตามข่าวความรุนแรงแล้วไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกได้ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า หรือมีอาการวิตกกังวล ทั้งนี้ หากเริ่มมีอาการใจสั่น กระวนกระวาย หวาดระแวง กังวล ย้ำคิดย้ำทำ คิดมาก โดยมีอาการยาวนานมากกว่า 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อป้องกันโรคทางจิตเวช ติดตามความรู้จาก นพ.ธีรนันท์ มิตรภานนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
แนะนำท่าบริหารร่างกาย เพิ่มความยืดหยุ่นสำหรับกล้ามเนื้อทรวงอก เพื่อให้ปอดสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่ขณะหายใจ ด้วยการหายใจช้าและลึกร่วมกับการขยับร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้สมรรถภาพทางกายโดยรวมดีขึ้น ติดตามความรู้จาก เอื้อการย์ เมณกูล นักกายภาพบำบัด
ขยับท่าเดิมซ้ำ ๆ เสี่ยงทำข้อไหล่ติด การใช้งานข้อไหล่มากเกินไปจะส่งผลให้เยื่อหุ้มข้อไหล่บาดเจ็บหรืออักเสบ ทำให้มีอาการเจ็บหัวไหล่เวลาใช้งาน หากปล่อยไว้อาจเรื้อรังได้ ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวแขนข้างที่มีอาการเจ็บน้อยลงทำให้เยื่อหุ้มข้อไหล่หนาตัวขึ้น การขยับหัวไหล่ทำได้น้อยลง จึงเกิดอาการติดของหัวไหล่ มาเช็กอาการข้อไหล่ติดพร้อมฝึกท่าบริหารเพื่อบำบัดและป้องกันข้อไหล่ติด กับ กภ.เดชวิน หลายศิริเรืองไร คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live