โดยปกติแล้วเส้นเสียงจะเป็นตัววีชิดกันสนิท แต่สำหรับผู้สูงอายุที่เสียงแหบจะเกิดจากเส้นเสียงที่ฝ่อ ไม่เต่งตึง และหย่อนยาน เส้นเสียงทั้งสองข้างจึงประกบกันไม่สนิททำให้ลมรั่วส่งผลให้เสียงพร่า แหบแห้ง ไม่มีพลัง สาเหตุที่ทำให้เสียงแหบ คือ การอักเสบบวมช้ำของเส้นเสียงจากการตะโกน ตะเบ็ง ตะคอก เค้นเสียง, เนื้องอกที่เส้นเสียงและกล่องเสียง, โรคอื่น ๆ ที่มีผลกับเสียง เช่น กรดไหลย้อนจากกระเพาะขึ้นมาที่คอไประคายเคืองกล่องเสียง, ภูมิแพ้, ไอเรื้อรัง, สูบบุหรี่, มะเร็งกล่องเสียง วิธีการรักษามีตั้งแต่การฝึกพูด การใช้เสียงให้ถูกต้อง การหายใจให้ถูกวิธี ทั้งนี้ อาการเสียงแหบขึ้นอยู่กับสาเหตุและการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่จะไปกระตุ้นทำให้เส้นเสียงอักเสบ เราควรสังเกตอาการตั้งแต่เริ่มต้น หากอาการแย่ลงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุพร้อมกับทำการรักษาอย่างถูกวิธีโดยเร็วเพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ นอกจากจะเสียบุคลิกภาพแล้วยังอาจจะทำให้อาการเรื้อรังจนรุนแรงมากกว่าที่คิด ติดตามความรู้จาก พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล แพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การยืดเส้นประสาทส่วนบนก่อนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาจะช่วยเสริมสร้างสมรรถนะของกล้ามเนื้อก่อนลงสนามได้ดี อย่างเช่นนักกีฬาเจ็ตสกีจะมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนบนเป็นหลัก การเคลื่อนไหวในลักษณะบิดลำตัวจะทำให้เส้นประสาทถูกยึด และอาจเกิดการฉีกขาด ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บหรือเรื้อรังได้ เพราะฉะนั้นเราควรรู้วิธีการยืดเหยียดก่อนจะออกกำลังกายเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการบาดเจ็บในระยะยาว ติดตามความรู้จาก เนศวร์ณิชา วิวรรธนภัคกุล ผู้ฝึกสอน
ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน เป็นช่วงที่พบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจำนวนมาก เนื่องจากสภาพอากาศทำให้อาหารบูดและปนเปื้อนได้ง่าย โดยทั่วไปอาการอาหารเป็นพิษเป็นภาวะที่ไม่รุนแรงสามารถหายได้เอง แต่ในกลุ่มเสี่ยงอย่าง เด็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุ ถ้ามีอาการรุนแรงก็อาจทำให้สูญเสียน้ำและเกลือแร่ได้ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการภายใน 6-12 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหาร ลองสังเกตอาการเพื่อประเมินความรุนแรงกับ นพ.อุดมรัช โกวิททวิพัฒน์ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
โดยปกติแล้วเส้นเสียงจะเป็นตัววีชิดกันสนิท แต่สำหรับผู้สูงอายุที่เสียงแหบจะเกิดจากเส้นเสียงที่ฝ่อ ไม่เต่งตึง และหย่อนยาน เส้นเสียงทั้งสองข้างจึงประกบกันไม่สนิททำให้ลมรั่วส่งผลให้เสียงพร่า แหบแห้ง ไม่มีพลัง สาเหตุที่ทำให้เสียงแหบ คือ การอักเสบบวมช้ำของเส้นเสียงจากการตะโกน ตะเบ็ง ตะคอก เค้นเสียง, เนื้องอกที่เส้นเสียงและกล่องเสียง, โรคอื่น ๆ ที่มีผลกับเสียง เช่น กรดไหลย้อนจากกระเพาะขึ้นมาที่คอไประคายเคืองกล่องเสียง, ภูมิแพ้, ไอเรื้อรัง, สูบบุหรี่, มะเร็งกล่องเสียง วิธีการรักษามีตั้งแต่การฝึกพูด การใช้เสียงให้ถูกต้อง การหายใจให้ถูกวิธี ทั้งนี้ อาการเสียงแหบขึ้นอยู่กับสาเหตุและการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่จะไปกระตุ้นทำให้เส้นเสียงอักเสบ เราควรสังเกตอาการตั้งแต่เริ่มต้น หากอาการแย่ลงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุพร้อมกับทำการรักษาอย่างถูกวิธีโดยเร็วเพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ นอกจากจะเสียบุคลิกภาพแล้วยังอาจจะทำให้อาการเรื้อรังจนรุนแรงมากกว่าที่คิด ติดตามความรู้จาก พญ.นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล แพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การยืดเส้นประสาทส่วนบนก่อนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาจะช่วยเสริมสร้างสมรรถนะของกล้ามเนื้อก่อนลงสนามได้ดี อย่างเช่นนักกีฬาเจ็ตสกีจะมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนบนเป็นหลัก การเคลื่อนไหวในลักษณะบิดลำตัวจะทำให้เส้นประสาทถูกยึด และอาจเกิดการฉีกขาด ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บหรือเรื้อรังได้ เพราะฉะนั้นเราควรรู้วิธีการยืดเหยียดก่อนจะออกกำลังกายเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการบาดเจ็บในระยะยาว ติดตามความรู้จาก เนศวร์ณิชา วิวรรธนภัคกุล ผู้ฝึกสอน
ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน เป็นช่วงที่พบผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจำนวนมาก เนื่องจากสภาพอากาศทำให้อาหารบูดและปนเปื้อนได้ง่าย โดยทั่วไปอาการอาหารเป็นพิษเป็นภาวะที่ไม่รุนแรงสามารถหายได้เอง แต่ในกลุ่มเสี่ยงอย่าง เด็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุ ถ้ามีอาการรุนแรงก็อาจทำให้สูญเสียน้ำและเกลือแร่ได้ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการภายใน 6-12 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหาร ลองสังเกตอาการเพื่อประเมินความรุนแรงกับ นพ.อุดมรัช โกวิททวิพัฒน์ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 20 กันยายน 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live