ตอนนี้คุณกำลัง “ทำงานเพื่อใช้ชีวิต” หรือ “มีชีวิตเพื่อทำงาน” กันแน่ ? ปัจจจุบัน คนส่วนมากทำงานประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมากกว่า 2,000 ชั่วโมงต่อเดือนบางคนอาจทำงานหนักและมากเกินกว่านี้ ปัญหาของการทำงานหนักเกินไปคงหนีไม่พ้นสุขภาพกายและใจของพนักงานที่พังลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้เรามีวิถีชีวิตการทำงานที่ดีคือ สมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว สาเหตุที่การทำงานหนักเพิ่มความเสี่ยงให้ร่างกายเกิดโรคต่าง ๆ ได้ นั่นเป็นเพราะ ร่างกายเรานอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ จนร่างกายปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ได้ไม่ดี สมองต้องทำงานหนักตามไปด้วย การพักผ่อนก็สำคัญให้คิดว่ามันก็คืองานประเภทหนึ่ง เราควรบาลานซ์ชีวิตให้ดี วางแผนว่าเวลาไหนเวลางาน เวลาไหนเวลาส่วนตัว ออกแบบการบาลานซ์ด้วยตัวเอง ถ้าเรากังวล เครียด ทำให้คุณภาพการนอนแย่ลง ตื่นมาไม่สดใส เพลีย และนอกจากสุขภาพไม่ดี การทำงานของเราก็ไม่มีประสิทธิภาพไปด้วยเพราะฉะนั้นแล้วเราควรวางแผนชีวิต วางแผนการทำงานให้ดี เช่น เราควรเขียนแผนการแต่ละวันล่วงหน้าว่าเราจะทำงานกี่โมงถึงกี่โมง เราจะมีเวลาส่วนตัวเวลาไหน และพักผ่อนเวลาใด และทำตามแบบแผนที่เราได้บันทึกไว้ เพื่อลดความเครียด พร้อมคุณภาพการนอนที่ดี และงานที่เราได้รับมอบหมายมาก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดีกว่าการที่เราโหมงานหนัก พออีกวันเราก็จะรู้สึกเหนื่อยล้า เพลีย ไม่มีแรงทำงาน ทำให้เสียทั้งสุขภาพ และเสียทั้งหน้าที่การงานนั่นเอง ติดตามความรู้จาก นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ โฆษกสุขภาพจิต
อาหารสุขภาพหรืออารหารลดน้ำหนักที่เราทราบกันอย่างสลัด อาจแฝงอันตรายไว้ที่น้ำสลัดได้ เพราะในน้ำสลัดบางยี่ห้อที่ขายในท้องตลาดอาจมีส่วนประกอบทั้งน้ำตาล และไขมันในปริมาณมากทำให้อ้วนกว่าเดิม และเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ เพราะฉะนั้นเราควรทราบวิธีการเลือกผักหลากสี และวิธีการเลือกน้ำสลัด เลือกอย่างไรกินแล้วไม่มีผลเสียต่อร่างกาย ทราบปริมาณพลังงานของน้ำสลัดแต่ละชนิด ติดตามความรู้จาก ผศ. ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ตอนนี้คุณกำลัง “ทำงานเพื่อใช้ชีวิต” หรือ “มีชีวิตเพื่อทำงาน” กันแน่ ? ปัจจจุบัน คนส่วนมากทำงานประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมากกว่า 2,000 ชั่วโมงต่อเดือนบางคนอาจทำงานหนักและมากเกินกว่านี้ ปัญหาของการทำงานหนักเกินไปคงหนีไม่พ้นสุขภาพกายและใจของพนักงานที่พังลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้เรามีวิถีชีวิตการทำงานที่ดีคือ สมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว สาเหตุที่การทำงานหนักเพิ่มความเสี่ยงให้ร่างกายเกิดโรคต่าง ๆ ได้ นั่นเป็นเพราะ ร่างกายเรานอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ จนร่างกายปรับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ได้ไม่ดี สมองต้องทำงานหนักตามไปด้วย การพักผ่อนก็สำคัญให้คิดว่ามันก็คืองานประเภทหนึ่ง เราควรบาลานซ์ชีวิตให้ดี วางแผนว่าเวลาไหนเวลางาน เวลาไหนเวลาส่วนตัว ออกแบบการบาลานซ์ด้วยตัวเอง ถ้าเรากังวล เครียด ทำให้คุณภาพการนอนแย่ลง ตื่นมาไม่สดใส เพลีย และนอกจากสุขภาพไม่ดี การทำงานของเราก็ไม่มีประสิทธิภาพไปด้วยเพราะฉะนั้นแล้วเราควรวางแผนชีวิต วางแผนการทำงานให้ดี เช่น เราควรเขียนแผนการแต่ละวันล่วงหน้าว่าเราจะทำงานกี่โมงถึงกี่โมง เราจะมีเวลาส่วนตัวเวลาไหน และพักผ่อนเวลาใด และทำตามแบบแผนที่เราได้บันทึกไว้ เพื่อลดความเครียด พร้อมคุณภาพการนอนที่ดี และงานที่เราได้รับมอบหมายมาก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดีกว่าการที่เราโหมงานหนัก พออีกวันเราก็จะรู้สึกเหนื่อยล้า เพลีย ไม่มีแรงทำงาน ทำให้เสียทั้งสุขภาพ และเสียทั้งหน้าที่การงานนั่นเอง ติดตามความรู้จาก นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ โฆษกสุขภาพจิต
อาหารสุขภาพหรืออารหารลดน้ำหนักที่เราทราบกันอย่างสลัด อาจแฝงอันตรายไว้ที่น้ำสลัดได้ เพราะในน้ำสลัดบางยี่ห้อที่ขายในท้องตลาดอาจมีส่วนประกอบทั้งน้ำตาล และไขมันในปริมาณมากทำให้อ้วนกว่าเดิม และเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ เพราะฉะนั้นเราควรทราบวิธีการเลือกผักหลากสี และวิธีการเลือกน้ำสลัด เลือกอย่างไรกินแล้วไม่มีผลเสียต่อร่างกาย ทราบปริมาณพลังงานของน้ำสลัดแต่ละชนิด ติดตามความรู้จาก ผศ. ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live