อุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อนคือ ภาวะที่ผนังช่องคลอดเคลื่อนย้ายต่ำลงมาในตำแหน่งที่ผิดปกติ ทำให้อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานหย่อนคล้อยออกมา สังเกตได้จากการเห็นก้อนที่นูนโผล่ออกมาจากช่องคลอด อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานประกอบไปด้วย กระเพาะปัสสาวะ มดลูก และช่องคลอด มักจะพบบ่อยในวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน
ภาวะอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบริเวณอุ้งเชิงกรานอ่อนแรง และการที่เส้นประสาทถูกทำลายโดยที่ปัจจัยเสี่ยงนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนการคลอดบุตร การคลอดบุตรทางช่องคลอด อายุ ภาวะอ้วน โรคหรือความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน วัยหมดประจำเดือน และภาวะท้องผูกเรื้อรัง นอกจากนี้มีข้อมูลพบว่าหญิงที่มีประวัติพันธุกรรมในครอบครัวเป็นภาวะอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นถึง 5 เท่า การรักษามีทั้งแบบผ่าตัด และไม่ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ลองเช็กกันดูว่าเราเริ่มมีอาการหรือยังเพื่อเราจะได้ไปพบแพทย์และรักษาอาการได้ทันเวลา ติดตามความรู้จาก พญ.สุขุมาลย์ สว่างวารี สูตินรีแพทย์มะเร็งนรีเวชวิทยาและการผ่าตัดผ่านกล้องนรีเวช
อย่ามองข้ามอาการชาบริเวณแขน มือ และข้อมือ ที่มีสาเหตุมาจากการนอนทับแขนเป็นเวลานาน ซึ่งในบางรายมีอาการชาทั้งวันจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น หยิบจับสิ่งของไม่สะดวกมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยความรุนแรงแบ่งออกเป็น 3 ระยะ 1.ชาปลายฝ่ามือ 2.ฝ่ามือชาโดยเฉพาะหลังมือ 3.ข้อมือตกไม่สามารถกระดกขึ้นได้ ถ้าเริ่มมีอาการเหล่านี้ให้ลองทำท่าบริหารหรือท่าออกกำลังกาย แต่หากยังไม่ดีขึ้นให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและรักษาได้ทันเวลา ติดตามความรู้จาก อ. กภ.ธนยศ สกุลกรุณา คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมบริเวณส่วนกลางของจอประสาทตา อาการมักจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงทำให้ความสามารถในการมองเห็นของผู้ป่วยลดลงอย่างช้า ๆ ถึงแม้ผู้ป่วยบางรายจะไม่มีอาการผิดปกติในการมองเห็น แต่การตรวจสุขภาพตาถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย โดยบุคคลทั่วไปควรได้รับการตรวจสุขภาพตาทุก 2-4 ปี และสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ควรได้รับการตรวจจอประสาทตาจากจักษุแพทย์ทุกปีแม้จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เพราะฉะนั้นแล้วเราควรมาเช็กอาการเบื้องต้นและวิธีป้องกันกันก่อนว่าเรามีอาการเหล่านี้หรือไม่ เพื่อให้ผู้ป่วยรับมือทันกับโรคจอประสาทตาเสื่อม ติดตามความรู้จาก พญ.วรภา ลีลาพฤทธิ์ จักษุแพทย์
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
อุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ ภาวะกระบังลมหย่อนคือ ภาวะที่ผนังช่องคลอดเคลื่อนย้ายต่ำลงมาในตำแหน่งที่ผิดปกติ ทำให้อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานหย่อนคล้อยออกมา สังเกตได้จากการเห็นก้อนที่นูนโผล่ออกมาจากช่องคลอด อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานประกอบไปด้วย กระเพาะปัสสาวะ มดลูก และช่องคลอด มักจะพบบ่อยในวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน
ภาวะอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพันบริเวณอุ้งเชิงกรานอ่อนแรง และการที่เส้นประสาทถูกทำลายโดยที่ปัจจัยเสี่ยงนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนการคลอดบุตร การคลอดบุตรทางช่องคลอด อายุ ภาวะอ้วน โรคหรือความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน วัยหมดประจำเดือน และภาวะท้องผูกเรื้อรัง นอกจากนี้มีข้อมูลพบว่าหญิงที่มีประวัติพันธุกรรมในครอบครัวเป็นภาวะอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นถึง 5 เท่า การรักษามีทั้งแบบผ่าตัด และไม่ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ลองเช็กกันดูว่าเราเริ่มมีอาการหรือยังเพื่อเราจะได้ไปพบแพทย์และรักษาอาการได้ทันเวลา ติดตามความรู้จาก พญ.สุขุมาลย์ สว่างวารี สูตินรีแพทย์มะเร็งนรีเวชวิทยาและการผ่าตัดผ่านกล้องนรีเวช
อย่ามองข้ามอาการชาบริเวณแขน มือ และข้อมือ ที่มีสาเหตุมาจากการนอนทับแขนเป็นเวลานาน ซึ่งในบางรายมีอาการชาทั้งวันจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น หยิบจับสิ่งของไม่สะดวกมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยความรุนแรงแบ่งออกเป็น 3 ระยะ 1.ชาปลายฝ่ามือ 2.ฝ่ามือชาโดยเฉพาะหลังมือ 3.ข้อมือตกไม่สามารถกระดกขึ้นได้ ถ้าเริ่มมีอาการเหล่านี้ให้ลองทำท่าบริหารหรือท่าออกกำลังกาย แต่หากยังไม่ดีขึ้นให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและรักษาได้ทันเวลา ติดตามความรู้จาก อ. กภ.ธนยศ สกุลกรุณา คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมบริเวณส่วนกลางของจอประสาทตา อาการมักจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงทำให้ความสามารถในการมองเห็นของผู้ป่วยลดลงอย่างช้า ๆ ถึงแม้ผู้ป่วยบางรายจะไม่มีอาการผิดปกติในการมองเห็น แต่การตรวจสุขภาพตาถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย โดยบุคคลทั่วไปควรได้รับการตรวจสุขภาพตาทุก 2-4 ปี และสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ควรได้รับการตรวจจอประสาทตาจากจักษุแพทย์ทุกปีแม้จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เพราะฉะนั้นแล้วเราควรมาเช็กอาการเบื้องต้นและวิธีป้องกันกันก่อนว่าเรามีอาการเหล่านี้หรือไม่ เพื่อให้ผู้ป่วยรับมือทันกับโรคจอประสาทตาเสื่อม ติดตามความรู้จาก พญ.วรภา ลีลาพฤทธิ์ จักษุแพทย์
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live