สภาวะเครียดสะสมจากการวิถีชีวิตในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคอ่อนเพลีย โรคหัวใจ โรค Burnout Syndrome อาการเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้นานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ซึ่งเราสามารถปรับอารมณ์ได้ด้วยสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณลดความวิตกกังวล ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ที่หาได้ง่าย ๆ ติดตามความรู้จาก ณัฐพล วาสิกดิลก แพทย์แผนไทย
ไต ในทัศนะการแพทย์แผนจีน มีความสำคัญไม่เพียงแค่เป็นส่วนหนึ่งของระบบขับถ่ายปัสสาวะเท่านั้น ในทางการแพทย์แผนจีน "ไต" มีความเกี่ยวข้องกับระบบต่างๆทั่วร่างกาย คล้ายๆกับเป็นคลังเสบียง บวกกับการเป็นแหล่งพลังเลยทีเดียว ไตก็เหมือนสิ่งอื่นๆที่อยู่ภายใต้หลักหยินหยาง ที่มีส่วนที่เป็น "หยินของไต" และ "หยางของไต" ที่ต้องสมดุลกันร่างกายจึงจะสบายเป็นปกติ
ไตพร่อง คือ ภาวะพลังไตอ่อนแอ พลังไม่สามารถกลับสู่ตำแหน่งดั้งเดิมของไตคือบริเวณตานเถียน ซึ่งเป็นแหล่งเก็บพลังพื้นฐานของไต ทำให้การหายใจสั้น หายใจไม่ลึก มีอาการหอบหืด มักพบว่ามีความผิดปกติร่วมกันของพลังปอดพร่องกับพลังไตพร่องควบคู่กัน เพราะฉะนั้นแล้วเราควรตรวจเช็กตัวเองว่าเรามีอาการไตพร่องหรือไม่ ถ้าหากไตแข็งแรงอวัยวะในร่างกายต่าง ๆ เราก็จะดีขึ้นและทำให้คุณภาพชีวิตเราดีขึ้นไปด้วย ติดตามความรู้จาก ดร. พจ.เยาวเกียรติ เยาวพันธุ์กุล แพทย์แผนจีน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
สภาวะเครียดสะสมจากการวิถีชีวิตในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคอ่อนเพลีย โรคหัวใจ โรค Burnout Syndrome อาการเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้นานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ซึ่งเราสามารถปรับอารมณ์ได้ด้วยสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณลดความวิตกกังวล ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ที่หาได้ง่าย ๆ ติดตามความรู้จาก ณัฐพล วาสิกดิลก แพทย์แผนไทย
ไต ในทัศนะการแพทย์แผนจีน มีความสำคัญไม่เพียงแค่เป็นส่วนหนึ่งของระบบขับถ่ายปัสสาวะเท่านั้น ในทางการแพทย์แผนจีน "ไต" มีความเกี่ยวข้องกับระบบต่างๆทั่วร่างกาย คล้ายๆกับเป็นคลังเสบียง บวกกับการเป็นแหล่งพลังเลยทีเดียว ไตก็เหมือนสิ่งอื่นๆที่อยู่ภายใต้หลักหยินหยาง ที่มีส่วนที่เป็น "หยินของไต" และ "หยางของไต" ที่ต้องสมดุลกันร่างกายจึงจะสบายเป็นปกติ
ไตพร่อง คือ ภาวะพลังไตอ่อนแอ พลังไม่สามารถกลับสู่ตำแหน่งดั้งเดิมของไตคือบริเวณตานเถียน ซึ่งเป็นแหล่งเก็บพลังพื้นฐานของไต ทำให้การหายใจสั้น หายใจไม่ลึก มีอาการหอบหืด มักพบว่ามีความผิดปกติร่วมกันของพลังปอดพร่องกับพลังไตพร่องควบคู่กัน เพราะฉะนั้นแล้วเราควรตรวจเช็กตัวเองว่าเรามีอาการไตพร่องหรือไม่ ถ้าหากไตแข็งแรงอวัยวะในร่างกายต่าง ๆ เราก็จะดีขึ้นและทำให้คุณภาพชีวิตเราดีขึ้นไปด้วย ติดตามความรู้จาก ดร. พจ.เยาวเกียรติ เยาวพันธุ์กุล แพทย์แผนจีน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live