ภาวะลำไส้ขี้เกียจ เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของลำไส้ ซึ่งส่งผลทำให้การขยับตัวของลำไส้เคลื่อนตัวช้าลง ผู้ป่วยภาวะลำไส้ขี้เกียจจะเผชิญปัญหาในการขับถ่ายที่ยากขึ้น โดยจะมีอาการท้องผูก ทำให้รู้สึกถึงความยากลำบากที่เพิ่มมากขึ้นในการขับถ่ายแต่ละครั้ง เช่น ต้องเบ่งอุจจาระแรง ๆ จึงจะถ่ายออก อุจาระแข็งทำให้เกิดแผล เกิดริดสีดวง หรือมีความเจ็บปวดขณะขับถ่าย รวมไปถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งในระยะเริ่มต้นผู้ป่วยสามารถรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่าย ติดตามความรู้ได้จาก นพ.อุดมรัช โกวิททวิพัฒน์ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
เมื่ออายุมากขึ้น การออกกำลังกายถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งรูปแบบการออกกำลังกายที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของแต่ละบุคคล โดยสามารถประเมิณ และออกแบบได้ตามหลักการของวิทยาศาสตร์การกีฬา นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรรักษากิจกรรมทางกาย หรือการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การทำงานบ้าน หรือทำกิจกรรมประกอบจังหวะกับเพลงสนุก ๆ ให้รู้สึกเพลิดเพลิน ติดตามความรู้ได้จาก อ. ดร.คุณัญญา มาสดใส คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ภาวะลำไส้ขี้เกียจ เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อของลำไส้ ซึ่งส่งผลทำให้การขยับตัวของลำไส้เคลื่อนตัวช้าลง ผู้ป่วยภาวะลำไส้ขี้เกียจจะเผชิญปัญหาในการขับถ่ายที่ยากขึ้น โดยจะมีอาการท้องผูก ทำให้รู้สึกถึงความยากลำบากที่เพิ่มมากขึ้นในการขับถ่ายแต่ละครั้ง เช่น ต้องเบ่งอุจจาระแรง ๆ จึงจะถ่ายออก อุจาระแข็งทำให้เกิดแผล เกิดริดสีดวง หรือมีความเจ็บปวดขณะขับถ่าย รวมไปถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งในระยะเริ่มต้นผู้ป่วยสามารถรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่าย ติดตามความรู้ได้จาก นพ.อุดมรัช โกวิททวิพัฒน์ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
เมื่ออายุมากขึ้น การออกกำลังกายถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งรูปแบบการออกกำลังกายที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของแต่ละบุคคล โดยสามารถประเมิณ และออกแบบได้ตามหลักการของวิทยาศาสตร์การกีฬา นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรรักษากิจกรรมทางกาย หรือการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การทำงานบ้าน หรือทำกิจกรรมประกอบจังหวะกับเพลงสนุก ๆ ให้รู้สึกเพลิดเพลิน ติดตามความรู้ได้จาก อ. ดร.คุณัญญา มาสดใส คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live