รู้สู้โรค : วัยทองก่อนวัย กับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
วัยทองก่อนวัยอันควร คือการที่ผู้หญิงหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี โดยค่าเฉลี่ยของผู้หญิงไทยจะเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือวัยทองเมื่ออายุ 50 ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ 75-90% เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ที่ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงรังสีทำลายรังไข่ เช่น ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก และเคยได้รับยาเคมีบำบัด หรือเคยได้รับยาที่มีผลต่อรังไข่ ทำให้รังไข่เสื่อมสลาย หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ติดตามความรู้ได้จาก พญ.กตัญญุตา นาคปลัด สูตินรีแพทย์ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
ปรับก่อนป่วย : นั่งยองไม่ได้เกิดจากอะไร
นั่งยองไม่ได้ สัญญาณเตือนปัญหากล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่เกี่ยวข้องกับการนั่งยองได้แก่ เอ็นร้อยหวายบริเวณข้อเท้า กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อรอบหัวเข่า กล้ามเนื้อขาด้านหลัง กล้ามเนื้อสะโพก และกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งเราสามารถทดสอบการนั่งยองได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงวิธีบริหารเพื่อบำบัดกลุ่มกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องป้องกันข้อจำกัดของการเคลื่อนไหว ติดตามจาก อ.กภ.ธนยศ สกุลกรุณา คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ออกกำลังเป็นยา : ท่าสร้างกล้ามเนื้อต้นขาพยุงข้อเข่า
การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อต้นขา และกล้ามเนื้อในการเหยียดเข่า จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ซึ่งมีผลต่อการลดแรงกระแทกต่อข้อเข่า ลดปัญหาปวดข้อเข่า รวมถึงปัญหาข้อเข่าเสื่อมตามมาได้ เรียนรู้ท่าสร้ามกล้ามเนื้อต้นขากับ ธิดารัตน์ จันทร์สุหร่าย ครูผู้ฝึกสอน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
รู้สู้โรค : วัยทองก่อนวัย กับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
วัยทองก่อนวัยอันควร คือการที่ผู้หญิงหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี โดยค่าเฉลี่ยของผู้หญิงไทยจะเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือวัยทองเมื่ออายุ 50 ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ 75-90% เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ที่ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงรังสีทำลายรังไข่ เช่น ป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก และเคยได้รับยาเคมีบำบัด หรือเคยได้รับยาที่มีผลต่อรังไข่ ทำให้รังไข่เสื่อมสลาย หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ติดตามความรู้ได้จาก พญ.กตัญญุตา นาคปลัด สูตินรีแพทย์ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
ปรับก่อนป่วย : นั่งยองไม่ได้เกิดจากอะไร
นั่งยองไม่ได้ สัญญาณเตือนปัญหากล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่เกี่ยวข้องกับการนั่งยองได้แก่ เอ็นร้อยหวายบริเวณข้อเท้า กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อรอบหัวเข่า กล้ามเนื้อขาด้านหลัง กล้ามเนื้อสะโพก และกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งเราสามารถทดสอบการนั่งยองได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงวิธีบริหารเพื่อบำบัดกลุ่มกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องป้องกันข้อจำกัดของการเคลื่อนไหว ติดตามจาก อ.กภ.ธนยศ สกุลกรุณา คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ออกกำลังเป็นยา : ท่าสร้างกล้ามเนื้อต้นขาพยุงข้อเข่า
การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อต้นขา และกล้ามเนื้อในการเหยียดเข่า จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ซึ่งมีผลต่อการลดแรงกระแทกต่อข้อเข่า ลดปัญหาปวดข้อเข่า รวมถึงปัญหาข้อเข่าเสื่อมตามมาได้ เรียนรู้ท่าสร้ามกล้ามเนื้อต้นขากับ ธิดารัตน์ จันทร์สุหร่าย ครูผู้ฝึกสอน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live