อาการปวดหัวไมเกรน หรือที่ทางการแพทย์แผนไทยวินิจฉัยว่าเกิดจาก ธาตุลมแปรปรวน เนื่องจากมีการใช้งานสมองที่มากเกินไป ทำให้มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำแนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ที่ใช้สมุนไพรมาช่วยในการรักษาอาการตามระยะ ได้แก่ อินทผลัม เจียวกู่หลาน ยาดมสมุนไพร โดยเฉพาะยาดมที่มีกลิ่นเปรี้ยว และเถาเอ็นอ่อน ติดตามคำแนะนำจาก หมอนัท ณัฐพล วาสิกดิลก แพทย์แผนไทย
ความเครียด เป็นบ่อเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมไปถึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อการนอน ทำให้มีอาการนอนหลับได้ยาก เนื่องจากความเครียดทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ตึงตัว การทำหัตถศาสตร์บำบัด นวดกดจุด จะช่วยคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ระบบเลือดลมไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามความรู้จาก สมพงษ์ วิเศษสุวรรณ อาจารย์ผู้ฝึกสอน
ปัจจุบันเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชากรมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสมาธิสั้นเพิ่มมากขึ้น ชวนฝึก 2 ท่าออกกำลังกายที่ช่วงเสริมสร้างสมาธิ นอกจากจะช่วยฝึกสมองให้มีสมาธิที่ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ฝึกการทรงตัวที่มั่นคงได้อีกด้วย ติดตามคำแนะนำจาก ภัทรานิษฐ์ เงินศุภลักษณ์ ครูผู้ฝึกสอน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 12 ตุลาคม 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
อาการปวดหัวไมเกรน หรือที่ทางการแพทย์แผนไทยวินิจฉัยว่าเกิดจาก ธาตุลมแปรปรวน เนื่องจากมีการใช้งานสมองที่มากเกินไป ทำให้มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำแนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ที่ใช้สมุนไพรมาช่วยในการรักษาอาการตามระยะ ได้แก่ อินทผลัม เจียวกู่หลาน ยาดมสมุนไพร โดยเฉพาะยาดมที่มีกลิ่นเปรี้ยว และเถาเอ็นอ่อน ติดตามคำแนะนำจาก หมอนัท ณัฐพล วาสิกดิลก แพทย์แผนไทย
ความเครียด เป็นบ่อเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมไปถึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อการนอน ทำให้มีอาการนอนหลับได้ยาก เนื่องจากความเครียดทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ตึงตัว การทำหัตถศาสตร์บำบัด นวดกดจุด จะช่วยคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ระบบเลือดลมไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามความรู้จาก สมพงษ์ วิเศษสุวรรณ อาจารย์ผู้ฝึกสอน
ปัจจุบันเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชากรมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสมาธิสั้นเพิ่มมากขึ้น ชวนฝึก 2 ท่าออกกำลังกายที่ช่วงเสริมสร้างสมาธิ นอกจากจะช่วยฝึกสมองให้มีสมาธิที่ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ฝึกการทรงตัวที่มั่นคงได้อีกด้วย ติดตามคำแนะนำจาก ภัทรานิษฐ์ เงินศุภลักษณ์ ครูผู้ฝึกสอน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพุธที่ 12 ตุลาคม 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live