โรคหัวใจแต่ละชนิดจะมีลักษณะอาการ สาเหตุ และแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันไป โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โรคหัวใจแต่ละชนิดยังถือเป็นภัยเงียบเนื่องจากไม่แสดงอาการ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น วิธีการสังเกตสัญญาณเตือน เป็นการช่วยเช็กตัวเองให้รู้ได้เร็ว เพื่อให้รักษาโรคหัวใจได้อย่างทันท่วงที ติดตามความรู้จาก นพ.วิโรจน์ เมืองศิลปะศาสตร์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด รพ.จุฬาภรณ์
การนวดกดจุดบริเวณฝ่าเท้า ไม่เพียงแค่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย แก้ปวดเมื่อยเท่านั้น ยังสามารถช่วยดูแลสุขภาพโดยรวมได้ โดยการนวดกดจุดจะช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากบริเวณฝ่าเท้าเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาท ที่ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะในร่างกายถึง 23 จุด ช่วยให้มีการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ติดตามจาก สุลาวัลย์ แลบัว อาจารย์ผู้ฝึกสอน
เมื่อครูโยคะประสบอุบัติเหตุจนทำให้ร่างกายได้รับความเสียหาย ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ทำให้ต้องหยุดเล่นโยคะไป ซึ่งเหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้เกิดเป็นภาวะซึมเศร้า แพนิค เนื่องจากไม่สามารถทำสิ่งที่ตนเองรักได้ แต่ด้วยหัวใจที่ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค กลับมาฝึกโยคะอีกครั้ง จนในที่สุดจิตใจที่เข้มแข็งก็สามารถพาเธอกลับมาเล่นโยคะได้อีกครั้ง ติดตามประสบการณ์ดี ๆ จาก กุลิสรา ถิระวรนันท์ ครู กศน.ตำบล อายุ 52 ปี
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
โรคหัวใจแต่ละชนิดจะมีลักษณะอาการ สาเหตุ และแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันไป โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย โรคหัวใจแต่ละชนิดยังถือเป็นภัยเงียบเนื่องจากไม่แสดงอาการ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นต้น วิธีการสังเกตสัญญาณเตือน เป็นการช่วยเช็กตัวเองให้รู้ได้เร็ว เพื่อให้รักษาโรคหัวใจได้อย่างทันท่วงที ติดตามความรู้จาก นพ.วิโรจน์ เมืองศิลปะศาสตร์ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด รพ.จุฬาภรณ์
การนวดกดจุดบริเวณฝ่าเท้า ไม่เพียงแค่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย แก้ปวดเมื่อยเท่านั้น ยังสามารถช่วยดูแลสุขภาพโดยรวมได้ โดยการนวดกดจุดจะช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากบริเวณฝ่าเท้าเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาท ที่ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะในร่างกายถึง 23 จุด ช่วยให้มีการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ติดตามจาก สุลาวัลย์ แลบัว อาจารย์ผู้ฝึกสอน
เมื่อครูโยคะประสบอุบัติเหตุจนทำให้ร่างกายได้รับความเสียหาย ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ทำให้ต้องหยุดเล่นโยคะไป ซึ่งเหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้เกิดเป็นภาวะซึมเศร้า แพนิค เนื่องจากไม่สามารถทำสิ่งที่ตนเองรักได้ แต่ด้วยหัวใจที่ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค กลับมาฝึกโยคะอีกครั้ง จนในที่สุดจิตใจที่เข้มแข็งก็สามารถพาเธอกลับมาเล่นโยคะได้อีกครั้ง ติดตามประสบการณ์ดี ๆ จาก กุลิสรา ถิระวรนันท์ ครู กศน.ตำบล อายุ 52 ปี
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live