เหตุการณ์จริงของพ่อแม่รุ่น Baby Boomers ที่บอกเล่าผ่านตัวแสดงแทน โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ (Hoarding Disorder) เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่มักจะแสดงอาการชัดเจนและรุนแรงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เช่น พฤติกรรมเก็บทุกอย่างที่ขวางหน้าสะสมสิ่งของที่ไม่จำเป็นและไม่มีมูลค่า แม้กระทั่งขยะก็ตัดใจทิ้งไม่ลงเพราะเสียดายของ หากปล่อยไว้นาน ๆ จนบ้านรก ก็อาจกลายเป็นสาเหตุความขัดแย้งภายในครอบครัว เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและโรคภัยต่าง ๆ
แต่ถ้าลูกหลานจะลุกขึ้นมาจัดการทิ้งทุกอย่างแบบเผด็จการ ก็คงไม่พ้นลงเอยด้วยการมีปากเสียง ทะเลาะเบาะแว้ง
และอาจสร้างบาดแผลทางใจให้กับพ่อแม่รุ่น Baby Boomersในระยะยาว เมื่อบรรดา “ของรัก” ที่พ่อแม่ชอบเก็บสะสมเริ่มมากขึ้นแบบไม่มีที่สิ้นสุด จนกลายเป็น “ของรก” ในสายตาของลูกหลาน ต้องทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยน
“ความรก” ให้กลายเป็น “ความรัก” โดยไม่มีใครต้องเจ็บปวด และอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวได้อย่างมีความสุข
ร่วมสำรวจใจผู้สูงอายุรุ่น Baby Boomers โดย ศ. ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาและดูแลใจผู้สูงวัย อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมแนะวิธีทำความเข้าใจผู้สูงอายุที่เป็นโรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ (Hoarding Disorder) รวมถึงแนวทางการจัดบ้านโดยไม่ทำลายความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
โรคกระดูกสันหลังคด ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากความผิดปกติของกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะทายกายภาพที่สามารถสังเกตได้ เช่น มีลักษณะของไหล่ที่ไม่เท่ากัน เอวไม่เสมอกัน สะโพกสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน ในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังคดรุนแรงอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ การรักษาด้วยการทำวอยตาบำบัดกระตุ้นกล้ามเนื้อเฉพาะจุด ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคดให้กลับมามีร่างกายที่ปกติได้ ติดตามความรู้จาก กภ.เบญจวรรณ แซ่เล้า คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
อุบัติเหตุทางตา อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ความรุนแรงขึ้นอยู่กับลักษณะของบาดแผล การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไม่ควรขยี้ตา หรือเขี่ยสิ่งแปลกปลอมภายในดวงตา อาจทำให้เกิดอาการอักเสบและติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้ เช็กอุบัติเหตุทางตาที่ต้องระวัง และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กับ นพ.เจตพัฒน์ ทวีโภคา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
เหตุการณ์จริงของพ่อแม่รุ่น Baby Boomers ที่บอกเล่าผ่านตัวแสดงแทน โรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ (Hoarding Disorder) เกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่มักจะแสดงอาการชัดเจนและรุนแรงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เช่น พฤติกรรมเก็บทุกอย่างที่ขวางหน้าสะสมสิ่งของที่ไม่จำเป็นและไม่มีมูลค่า แม้กระทั่งขยะก็ตัดใจทิ้งไม่ลงเพราะเสียดายของ หากปล่อยไว้นาน ๆ จนบ้านรก ก็อาจกลายเป็นสาเหตุความขัดแย้งภายในครอบครัว เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและโรคภัยต่าง ๆ
แต่ถ้าลูกหลานจะลุกขึ้นมาจัดการทิ้งทุกอย่างแบบเผด็จการ ก็คงไม่พ้นลงเอยด้วยการมีปากเสียง ทะเลาะเบาะแว้ง
และอาจสร้างบาดแผลทางใจให้กับพ่อแม่รุ่น Baby Boomersในระยะยาว เมื่อบรรดา “ของรัก” ที่พ่อแม่ชอบเก็บสะสมเริ่มมากขึ้นแบบไม่มีที่สิ้นสุด จนกลายเป็น “ของรก” ในสายตาของลูกหลาน ต้องทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยน
“ความรก” ให้กลายเป็น “ความรัก” โดยไม่มีใครต้องเจ็บปวด และอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวได้อย่างมีความสุข
ร่วมสำรวจใจผู้สูงอายุรุ่น Baby Boomers โดย ศ. ดร.อรัญญา ตุ้ยคัมภีร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาและดูแลใจผู้สูงวัย อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมแนะวิธีทำความเข้าใจผู้สูงอายุที่เป็นโรคชอบเก็บสะสมสิ่งของ (Hoarding Disorder) รวมถึงแนวทางการจัดบ้านโดยไม่ทำลายความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
โรคกระดูกสันหลังคด ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากความผิดปกติของกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะทายกายภาพที่สามารถสังเกตได้ เช่น มีลักษณะของไหล่ที่ไม่เท่ากัน เอวไม่เสมอกัน สะโพกสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน ในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังคดรุนแรงอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ การรักษาด้วยการทำวอยตาบำบัดกระตุ้นกล้ามเนื้อเฉพาะจุด ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคดให้กลับมามีร่างกายที่ปกติได้ ติดตามความรู้จาก กภ.เบญจวรรณ แซ่เล้า คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
อุบัติเหตุทางตา อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ความรุนแรงขึ้นอยู่กับลักษณะของบาดแผล การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไม่ควรขยี้ตา หรือเขี่ยสิ่งแปลกปลอมภายในดวงตา อาจทำให้เกิดอาการอักเสบและติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้ เช็กอุบัติเหตุทางตาที่ต้องระวัง และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กับ นพ.เจตพัฒน์ ทวีโภคา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live