อุทยานหอยทากอาช่า จ.นครนายก ถือเป็นฟาร์มหอยทากต้นแบบที่เลี้ยงประมาณ 3,000 ตัว จากหอยทากที่เป็นศัตรูพืช สร้างความเสียหากมากว่าพันล้านบาท สู่การนำมาทำสารสกัดจากเมือกหอยทากที่มีประโยชน์ในการนำมาดูแลผิวพรรณ และเวชสำอาง ทั้งในรูปแบบของเซรั่ม ส่งออกเป็นวัตถุดิบโดยแปรรูปเป็นเมือกหอยทากผงแห้ง รวมไปถึงแนวคิดการนำเมือกหอยทากไปพัฒนาต่อยอดสู่การทำเป็นยารักษาโรค โดยจำแนกยาจากเมือกหอยทากได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ยาละลายลิ่มเลือด และ ยายับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็งเต้านม การนำเมือกหอยทากมาใช้ประโยชน์ ควรผ่านการกรองอย่างละเอียด เพื่อคัดแยกเชื้อโรค เชื้อจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนติดมาด้วย เพื่อให้ได้เมือกหอยทากที่มีความบริสุทธิ์ สะอาด ก่อนนำไปใช้งาน ติดตามแนวความคิดการพัฒนาเมือกหอยทาก จาก กฤตพง ภัทรธุวานัน วิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนหอยทากอาช่า จ.นครนายก และ ศ. ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ อาจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาการเวียนศีรษะ ที่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกโคลงเคลง ยืนหรือเดินไม่มั่นคง มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัวไม่อยู่ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุเนื่องมาจากภาวะหูชั้นในทำงานผิดปกติ มีการอักเสบ การบวม ติดเชื้อ ก่อให้เกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน และโรคเส้นประสาทหูชั้นในอักเสบ หากมีอาการปวดหัวที่รุนแรง ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาทันที เมื่อลดความรุนแรงจากอาการปวดหัวบ้านหมุนแล้ว การทำกายภาพบำบัด สามารถช่วยลดอาการโคลงเคลง ทรงตัวไม่อยู่ ทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ปกติได้ ติดตามคำแนะนำโดย กภ.สรินดา ศาตะมาน คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ก่อนการตัดสินใจทำศัลยกรรมจมูก ควรเช็กสิ่งที่ต้องรู้ในเรื่องของข้อจำกัดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ลักษณะของซิลิโคนที่ควรเลือกให้เหมาะสมกับผิวหนัง เพื่อป้องกันการทะลุหรือทรุดบริเวณจมูก รวมไปถึงเมื่อทำการผ่าตัดเสร็จควรสังเกตอาการ ระวังความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ การผ่าตัดจมูก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของความปลอดภัย ควรเลือกหมอผ่าตัดที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี ควรเลือกโรงพยาบาลที่เชื่อถือได้ และสุดท้ายสำรวจความพร้อมของร่างกายตัวเองว่ามีความปลอดภัยในการผ่าตัดหรือไม่ ติดตามความรู้จาก นพ.ณัฐวุฒิ วิวัจนสิรินทร์ แพทย์โสต ศอ นาสิกวิทยา
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
อุทยานหอยทากอาช่า จ.นครนายก ถือเป็นฟาร์มหอยทากต้นแบบที่เลี้ยงประมาณ 3,000 ตัว จากหอยทากที่เป็นศัตรูพืช สร้างความเสียหากมากว่าพันล้านบาท สู่การนำมาทำสารสกัดจากเมือกหอยทากที่มีประโยชน์ในการนำมาดูแลผิวพรรณ และเวชสำอาง ทั้งในรูปแบบของเซรั่ม ส่งออกเป็นวัตถุดิบโดยแปรรูปเป็นเมือกหอยทากผงแห้ง รวมไปถึงแนวคิดการนำเมือกหอยทากไปพัฒนาต่อยอดสู่การทำเป็นยารักษาโรค โดยจำแนกยาจากเมือกหอยทากได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ยาละลายลิ่มเลือด และ ยายับยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็งเต้านม การนำเมือกหอยทากมาใช้ประโยชน์ ควรผ่านการกรองอย่างละเอียด เพื่อคัดแยกเชื้อโรค เชื้อจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนติดมาด้วย เพื่อให้ได้เมือกหอยทากที่มีความบริสุทธิ์ สะอาด ก่อนนำไปใช้งาน ติดตามแนวความคิดการพัฒนาเมือกหอยทาก จาก กฤตพง ภัทรธุวานัน วิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนหอยทากอาช่า จ.นครนายก และ ศ. ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ อาจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาการเวียนศีรษะ ที่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกโคลงเคลง ยืนหรือเดินไม่มั่นคง มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัวไม่อยู่ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุเนื่องมาจากภาวะหูชั้นในทำงานผิดปกติ มีการอักเสบ การบวม ติดเชื้อ ก่อให้เกิดโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน และโรคเส้นประสาทหูชั้นในอักเสบ หากมีอาการปวดหัวที่รุนแรง ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาทันที เมื่อลดความรุนแรงจากอาการปวดหัวบ้านหมุนแล้ว การทำกายภาพบำบัด สามารถช่วยลดอาการโคลงเคลง ทรงตัวไม่อยู่ ทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ปกติได้ ติดตามคำแนะนำโดย กภ.สรินดา ศาตะมาน คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ก่อนการตัดสินใจทำศัลยกรรมจมูก ควรเช็กสิ่งที่ต้องรู้ในเรื่องของข้อจำกัดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ลักษณะของซิลิโคนที่ควรเลือกให้เหมาะสมกับผิวหนัง เพื่อป้องกันการทะลุหรือทรุดบริเวณจมูก รวมไปถึงเมื่อทำการผ่าตัดเสร็จควรสังเกตอาการ ระวังความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ การผ่าตัดจมูก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของความปลอดภัย ควรเลือกหมอผ่าตัดที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี ควรเลือกโรงพยาบาลที่เชื่อถือได้ และสุดท้ายสำรวจความพร้อมของร่างกายตัวเองว่ามีความปลอดภัยในการผ่าตัดหรือไม่ ติดตามความรู้จาก นพ.ณัฐวุฒิ วิวัจนสิรินทร์ แพทย์โสต ศอ นาสิกวิทยา
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live