แนะนำวิธีการจัดการเมื่อต้องทำหลายงานพร้อมกันเพื่อบริหารทักษะ ความสามารถที่หลากหลาย (Multitasking) โดยเน้นไปที่การให้ความสำคัญกับการรู้ถึงความเชี่ยวชาญที่แท้จริง (Core Competencies) ของตนเอง โดย พญ.อุบลพรรณ วีระโจง แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ให้การทำงานเป็นไปอย่างสมดุล สามารถจัดการเวลา และรักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรงไม่เจ็บป่วยจากการโหมทำงานเกินกำลัง
ปรุงยาดมจากสมุนไพรให้เหมาะสมกับธาตุเจ้าเรือนที่เราต้องการบำรุงในร่างกาย โดยใช้ศาสตร์ความรู้เรื่องแพทย์แผนไทย ร่วมกับความต้องการในการเน้นบำรุงอาการต่าง ๆ เพื่อผสมตำรับสมุนไพรเป็นยาบรรเทาอาการเจ็บป่วย พูดคุยถึงสรรพคุณทางยาของสมุนไพรไทย และการใช้กลิ่นช่วยผ่อนคลาย กับ คุณสายป่านชื่นใจ นักปรุงยาดมจากสมุนไพร
ปรับท่านั่งในการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยเทคนิกจาก กภ.สรินดา ศาตะมาน คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล วิธีการจัดท่าทางการนั่งเพื่อลดอาการปวดเมื่อยตามระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ อย่างเช่น บริเวณคอ บ่า ไหล่ หลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) รวมถึงการรักษาสภาพจิตใจไม่ให้เกิดอาการเครียดสะสมจากความไม่สบายในท่านั่งขณะทำงาน ปรับพฤติกรรมในการทำงานเพื่อช่วยรักษาสุขภาพร่างกาย ให้มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 เวลา 07.30 – 08.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แนะนำวิธีการจัดการเมื่อต้องทำหลายงานพร้อมกันเพื่อบริหารทักษะ ความสามารถที่หลากหลาย (Multitasking) โดยเน้นไปที่การให้ความสำคัญกับการรู้ถึงความเชี่ยวชาญที่แท้จริง (Core Competencies) ของตนเอง โดย พญ.อุบลพรรณ วีระโจง แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ให้การทำงานเป็นไปอย่างสมดุล สามารถจัดการเวลา และรักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรงไม่เจ็บป่วยจากการโหมทำงานเกินกำลัง
ปรุงยาดมจากสมุนไพรให้เหมาะสมกับธาตุเจ้าเรือนที่เราต้องการบำรุงในร่างกาย โดยใช้ศาสตร์ความรู้เรื่องแพทย์แผนไทย ร่วมกับความต้องการในการเน้นบำรุงอาการต่าง ๆ เพื่อผสมตำรับสมุนไพรเป็นยาบรรเทาอาการเจ็บป่วย พูดคุยถึงสรรพคุณทางยาของสมุนไพรไทย และการใช้กลิ่นช่วยผ่อนคลาย กับ คุณสายป่านชื่นใจ นักปรุงยาดมจากสมุนไพร
ปรับท่านั่งในการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยเทคนิกจาก กภ.สรินดา ศาตะมาน คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล วิธีการจัดท่าทางการนั่งเพื่อลดอาการปวดเมื่อยตามระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ อย่างเช่น บริเวณคอ บ่า ไหล่ หลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) รวมถึงการรักษาสภาพจิตใจไม่ให้เกิดอาการเครียดสะสมจากความไม่สบายในท่านั่งขณะทำงาน ปรับพฤติกรรมในการทำงานเพื่อช่วยรักษาสุขภาพร่างกาย ให้มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 เวลา 07.30 – 08.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live