หากจะมีโครงการใด ๆ เกิดขึ้น การตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำ อย่างรอบด้าน เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวต่อฐานทรัพยากร เป็นเรื่องที่หลายภาคส่วนเห็นตรงกันว่า ใช้สรรพกำลัง เวลา น้อยกว่าการฟื้นฟูหลังเกิดผลกระทบ การรับฟังและคุยกันบนฐานข้อมูล จึงมีส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของเราทุกคนในสังคม
จึงชวนขยายประเด็นการฟื้นฟูระบบนิเวศ – สังคม - สุขภาพ ทั้งระดับชุมชน ท้องถิ่น และระดับชาติ ที่เป็นผลสะเทือนจากการทำเหมืองในหลายลักษณะ ทั้งการเวทีเสวนาวิชาการ RCCT เพื่อเติมศักยภาพชุมชนนักเล่าเรื่องสาธารณะถึงความสำคัญในการปกป้องและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม รวมถึงการต่อสู้และความพยายามฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของชาวบ้านในพื้นที่เหมืองหินดงมะไฟ จ.หนองบัวลำภู และกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดจังหวัดเลยที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ ยังมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมฟื้นฟูบ้านของพวกเขา นอกจากขั้นตอนทางกฎหมาย การทอผ้า หรือ "ตำหูก"
และติดตามความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ใกล้ตัวกับ C-site ที่นักข่าวพลเมืองจากทุกภูมิภาคร่วมรายงาน ทั้งความสวยงามของ “ม่อนหมอกตะวัน” ที่บ้านป่าหวาย ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ จ.ตาก ที่คุณชวลิต วิกุลชัยกิจรายงานเข้ามา รวมถึงพิธีขอขมาแม่น้ำโขง และขอพรต่อแม่คงคาในช่วงวันออกพรรษา คุณสมาน แก้วงพวง ก็ปักหมุดรายงานจากวัดท่าสองคอน ต.บ้านม่วง อ.สังคม จ.หนองคาย และอีกพิกัดจาก จ.อุดรธานี คุณเดชา คำเบ้าเมือง รายงานว่ากลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เดินทางไปชุมนุมศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ไปยื่นหนังสือแก่ผู้ว่าฯ ให้ตั้งกรรมการจังหวัดแก้ปัญหาเหมืองโปแตช
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
หากจะมีโครงการใด ๆ เกิดขึ้น การตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำ อย่างรอบด้าน เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวต่อฐานทรัพยากร เป็นเรื่องที่หลายภาคส่วนเห็นตรงกันว่า ใช้สรรพกำลัง เวลา น้อยกว่าการฟื้นฟูหลังเกิดผลกระทบ การรับฟังและคุยกันบนฐานข้อมูล จึงมีส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของเราทุกคนในสังคม
จึงชวนขยายประเด็นการฟื้นฟูระบบนิเวศ – สังคม - สุขภาพ ทั้งระดับชุมชน ท้องถิ่น และระดับชาติ ที่เป็นผลสะเทือนจากการทำเหมืองในหลายลักษณะ ทั้งการเวทีเสวนาวิชาการ RCCT เพื่อเติมศักยภาพชุมชนนักเล่าเรื่องสาธารณะถึงความสำคัญในการปกป้องและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม รวมถึงการต่อสู้และความพยายามฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของชาวบ้านในพื้นที่เหมืองหินดงมะไฟ จ.หนองบัวลำภู และกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดจังหวัดเลยที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ ยังมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมฟื้นฟูบ้านของพวกเขา นอกจากขั้นตอนทางกฎหมาย การทอผ้า หรือ "ตำหูก"
และติดตามความเคลื่อนไหวและเหตุการณ์ใกล้ตัวกับ C-site ที่นักข่าวพลเมืองจากทุกภูมิภาคร่วมรายงาน ทั้งความสวยงามของ “ม่อนหมอกตะวัน” ที่บ้านป่าหวาย ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ จ.ตาก ที่คุณชวลิต วิกุลชัยกิจรายงานเข้ามา รวมถึงพิธีขอขมาแม่น้ำโขง และขอพรต่อแม่คงคาในช่วงวันออกพรรษา คุณสมาน แก้วงพวง ก็ปักหมุดรายงานจากวัดท่าสองคอน ต.บ้านม่วง อ.สังคม จ.หนองคาย และอีกพิกัดจาก จ.อุดรธานี คุณเดชา คำเบ้าเมือง รายงานว่ากลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เดินทางไปชุมนุมศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ไปยื่นหนังสือแก่ผู้ว่าฯ ให้ตั้งกรรมการจังหวัดแก้ปัญหาเหมืองโปแตช
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live