พาไปดูการสื่อสารของภาคพลเมืองที่ปักหมุดผ่าน Csite ตั้งแต่การเฝ้าระวัง การเผชิญดีเปรสชันโนรูตอนเข้าไทย จนถึงตอนนี้อ่อนกำลังลง เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ผลลัพธ์ที่มากับพายุ คือ "ฝนตกหนัก น้ำมาเร็ว เปลี่ยนจุดท่วมและอาจจะท่วมนานบางแห่ง" แล้วอะไรคือข้อมูลที่เราต้องเข้าถึง ขณะที่การกระจายข้อมูลภัยพิบัติ รวมทั้งการเตรียมประชาชนให้พร้อมรับมือควรเป็นอย่างไร มาคุยให้เห็นภาพกับ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Gistda)
พาไปดูการเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำ ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำที่สุดในภาคกลาง ชาวบ้านต้องรับมือน้ำที่เอ่อล้นตลิ่งจากแม่น้ำน้อย ลำน้ำสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาในทุก ๆ ปี และพายุโนรูทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ในขณะนี้
ตามไปดูกิจกรรมน่าสนใจ ตั้งคำถามถึงวิกฤติโลกรวนจริง โลกเปลี่ยนจริง ? จากงาน Dialogue Forum 2 l Year 3 Weather Extremes, สภาวะอากาศสุดขั้ว ? ซึ่งมีหลายคนยอมรับและกังวลถึงสถานกาณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
พี่น้องสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยและสมาคมรักษ์ทะเลไทย ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้อง ผ่านปฏิบัติการทวงสัญญาน้ำพริกปลาทู ที่ขึ้นมาปักหลักบริเวณหน้าสำนักงานสหประชาชาติ เพื่อรอคำตอบจากตัวแทนรัฐบาล
สัปดาห์สิ่งแวดล้อมแม่โขง-อาเซียน(Mekong-ASEAN Environmental Week) ปี 2022 หรือเรียกสั้น ๆ ว่างานแมว-MAEW 2022 เป็นปีที่ 4 แล้ว ที่กลุ่มภาคประชาสังคมในภูมิภาคอาเซียนมาร่วมเปิดเวทีพูดคุยถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ต้องจับตา (เปิดหมุด) คุณธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร ปักหมุดฝากมาเล่าว่า ปีนี้มีกิจกรรม ตลอดทั้งเดือนกันยายน ในคอนเซ็ปต์ "ก้าวผ่านกระดาน เกมแมวจับหนู" หนึ่งในประเด็นร้อนคือ การคุยถึง ห่วงโซ่ความสัมพันธ์ทั้งในฐานะ "ผู้รับผลประโยชน์" "เหยื่อ" และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่สามารถลงมือทำเพื่อสิ่งที่ดีกว่าได้
กิจกรรมค่ายต้นกล้ามวกเหล็กเด็กรักษ์ป่าครั้งที่ 3 โดยทีมงานเครือข่ายป่าชุมชน ต.มิตรภาพ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี เรียนรู้รักษาสมดุลของธรรมชาติ เชื่อมโยงศิลปะด้านการสื่อสาร ผลิตออกมาเป็นคลิปสารคดี หนังสั้น และการ์ตูนอนิเมะ
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
พาไปดูการสื่อสารของภาคพลเมืองที่ปักหมุดผ่าน Csite ตั้งแต่การเฝ้าระวัง การเผชิญดีเปรสชันโนรูตอนเข้าไทย จนถึงตอนนี้อ่อนกำลังลง เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ผลลัพธ์ที่มากับพายุ คือ "ฝนตกหนัก น้ำมาเร็ว เปลี่ยนจุดท่วมและอาจจะท่วมนานบางแห่ง" แล้วอะไรคือข้อมูลที่เราต้องเข้าถึง ขณะที่การกระจายข้อมูลภัยพิบัติ รวมทั้งการเตรียมประชาชนให้พร้อมรับมือควรเป็นอย่างไร มาคุยให้เห็นภาพกับ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Gistda)
พาไปดูการเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำ ในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำที่สุดในภาคกลาง ชาวบ้านต้องรับมือน้ำที่เอ่อล้นตลิ่งจากแม่น้ำน้อย ลำน้ำสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาในทุก ๆ ปี และพายุโนรูทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ในขณะนี้
ตามไปดูกิจกรรมน่าสนใจ ตั้งคำถามถึงวิกฤติโลกรวนจริง โลกเปลี่ยนจริง ? จากงาน Dialogue Forum 2 l Year 3 Weather Extremes, สภาวะอากาศสุดขั้ว ? ซึ่งมีหลายคนยอมรับและกังวลถึงสถานกาณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
พี่น้องสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยและสมาคมรักษ์ทะเลไทย ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้อง ผ่านปฏิบัติการทวงสัญญาน้ำพริกปลาทู ที่ขึ้นมาปักหลักบริเวณหน้าสำนักงานสหประชาชาติ เพื่อรอคำตอบจากตัวแทนรัฐบาล
สัปดาห์สิ่งแวดล้อมแม่โขง-อาเซียน(Mekong-ASEAN Environmental Week) ปี 2022 หรือเรียกสั้น ๆ ว่างานแมว-MAEW 2022 เป็นปีที่ 4 แล้ว ที่กลุ่มภาคประชาสังคมในภูมิภาคอาเซียนมาร่วมเปิดเวทีพูดคุยถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ต้องจับตา (เปิดหมุด) คุณธีระชัย ศาลเจริญกิจถาวร ปักหมุดฝากมาเล่าว่า ปีนี้มีกิจกรรม ตลอดทั้งเดือนกันยายน ในคอนเซ็ปต์ "ก้าวผ่านกระดาน เกมแมวจับหนู" หนึ่งในประเด็นร้อนคือ การคุยถึง ห่วงโซ่ความสัมพันธ์ทั้งในฐานะ "ผู้รับผลประโยชน์" "เหยื่อ" และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่สามารถลงมือทำเพื่อสิ่งที่ดีกว่าได้
กิจกรรมค่ายต้นกล้ามวกเหล็กเด็กรักษ์ป่าครั้งที่ 3 โดยทีมงานเครือข่ายป่าชุมชน ต.มิตรภาพ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี เรียนรู้รักษาสมดุลของธรรมชาติ เชื่อมโยงศิลปะด้านการสื่อสาร ผลิตออกมาเป็นคลิปสารคดี หนังสั้น และการ์ตูนอนิเมะ
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live