สิทธิในที่ดินทำกิน คือ ชีวิตและลมหายใจของคนจนและคนชายขอบ แต่ผืนแผ่นดินตั้งแต่ยอดดอยสูงไปจนถึงในเกาะแก่งในภาคใต้ ถูกประกาศเป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์ที่ครอบครองโดยรัฐ ทั้งป่าสงวนฯ อุทยานฯ เขตรักษาพันธุ์ฯ ซึ่งทับซ้อนที่ดินทำกินดั้งเดิมของชุมชน กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งเรื้อรังที่รุนแรงขึ้นตามลำดับ
หนึ่งใน 15 ข้อเสนอสำคัญของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) คือการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดิน ที่อยู่อาศัยโดยใช้รูปแบบโฉนดชุมชน ชวนไปทำความรู้จักชุมชนกิ่งแก้ว ซ.1 ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ชุมชนในเขตเมืองที่อยู่ในพื้นที่ดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งใน 58 พื้นที่นำร่องทั่วประเทศ ในการแก้ปัญหาตามแนวทางโฉนดชุมชน พวกเขาบอกว่าถ้าแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านที่ดินได้ ปัญหาอื่น ๆ ก็แก้ไขได้
นอกจากพื้นที่ชุมชนในเครือข่ายของ P-move ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่เผชิญปัญหาเรื่องสิทธิในการใช้ที่ดินในการประกอบอาชีพ และดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมของตนเอง อย่างเช่นการเตรียมทำไร่หมุนเวียน ของชาวบ้านในพื้นที่ บ้านแม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
อะไรคือทางออก... โฉนดชุมชนตามข้อเสนอของ P-move จะเกิดขึ้นได้จริงและขับเคลื่อนไปสู่การแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ หรือข้อเสนออะไรจะทำให้ป่าอยู่ได้ คนอยู่ได้ ชวนพูดคุยกับ ธีรเนตร ไชยสุวรรณ สมาพันธ์เกษตรกรภาคใต้ หนึ่งในสมาชิก P-move และสุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
อวดดี : พาไปลงพื้นที่ชุมชนคลิตี้ล่าง จ.กาญจนบุรี กับกลุ่มดินสอสีและสมรมคอมปานี เพื่อเรียนรู้สายน้ำแห่งชีวิตที่มีความผูกพันกับวิถีชาวกะเหรี่ยง ให้เยาวชนในพื้นที่ได้รู้ ฟื้นฟู และรักษาลำห้วยคลิตี้
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
สิทธิในที่ดินทำกิน คือ ชีวิตและลมหายใจของคนจนและคนชายขอบ แต่ผืนแผ่นดินตั้งแต่ยอดดอยสูงไปจนถึงในเกาะแก่งในภาคใต้ ถูกประกาศเป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์ที่ครอบครองโดยรัฐ ทั้งป่าสงวนฯ อุทยานฯ เขตรักษาพันธุ์ฯ ซึ่งทับซ้อนที่ดินทำกินดั้งเดิมของชุมชน กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งเรื้อรังที่รุนแรงขึ้นตามลำดับ
หนึ่งใน 15 ข้อเสนอสำคัญของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) คือการแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดิน ที่อยู่อาศัยโดยใช้รูปแบบโฉนดชุมชน ชวนไปทำความรู้จักชุมชนกิ่งแก้ว ซ.1 ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ชุมชนในเขตเมืองที่อยู่ในพื้นที่ดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งใน 58 พื้นที่นำร่องทั่วประเทศ ในการแก้ปัญหาตามแนวทางโฉนดชุมชน พวกเขาบอกว่าถ้าแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านที่ดินได้ ปัญหาอื่น ๆ ก็แก้ไขได้
นอกจากพื้นที่ชุมชนในเครือข่ายของ P-move ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่เผชิญปัญหาเรื่องสิทธิในการใช้ที่ดินในการประกอบอาชีพ และดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมของตนเอง อย่างเช่นการเตรียมทำไร่หมุนเวียน ของชาวบ้านในพื้นที่ บ้านแม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
อะไรคือทางออก... โฉนดชุมชนตามข้อเสนอของ P-move จะเกิดขึ้นได้จริงและขับเคลื่อนไปสู่การแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ หรือข้อเสนออะไรจะทำให้ป่าอยู่ได้ คนอยู่ได้ ชวนพูดคุยกับ ธีรเนตร ไชยสุวรรณ สมาพันธ์เกษตรกรภาคใต้ หนึ่งในสมาชิก P-move และสุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
อวดดี : พาไปลงพื้นที่ชุมชนคลิตี้ล่าง จ.กาญจนบุรี กับกลุ่มดินสอสีและสมรมคอมปานี เพื่อเรียนรู้สายน้ำแห่งชีวิตที่มีความผูกพันกับวิถีชาวกะเหรี่ยง ให้เยาวชนในพื้นที่ได้รู้ ฟื้นฟู และรักษาลำห้วยคลิตี้
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live