พื้นที่การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือทำจริง เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์ตรง และทักษะชีวิตให้กับเด็ก ๆ โดยเฉพาะในช่วงปิดเทอมที่เป็นโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึงพื้นที่การเรียนรู้นอกห้องเรียนที่อยู่ใกล้ตัวพวกเขามากขึ้น คุณเล่าเราขยายวันนี้ชวนคุยถึงทิศทางในอนาคต และข้อท้าทายของการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ หรือ Learning Ecosystem เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงกระบวนการเรียนรู้
ก่อนอื่นชวนติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของภาคพลเมืองที่รายงานสถานการณ์มากับ C-site เริ่มต้นพิกัดแรกของกลุ่มนักอ่านและคนรักหนังสือ คุณชนิสร ถึกสกุล ปักหมุดรายงานจาก จ.ขอนแก่น เป็นกิจกรรมการแบ่งปันมุมมองและบทสนทนาของนักอ่าน “คุยหนังสือแนบน้ำ ครั้งที่ 5” เมื่อวันศุกร์ ที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอีกกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ของชาวขอนแก่น และติดตามอีกหนึ่งพื้นที่ที่กำลังเปิดรับสมัครนักออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ในกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ของชาว จ.ลำปาก กับทีมลำปางมูฟ
ติดตามพิกัดต่อมา คุณสุมาลี สุวรรณกร ชวนนั่งล้อมวงเปิดพื้นที่การเรียนรู้ที่เมืองหมอแคน แดนหมอลำ ณ วัดไชยศรี บ้านสาวะถี อ.เมืองขอนแก่น เพื่อมาเรียนรู้กับพ่อครูแม่ครูหมอลำสินไซ โดยมีน้อง ๆ ในชุมชน และผู้ที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้เรื่องราวของวรรณกรรมอีสานเรื่อง สังข์ศิลป์ไชย และเรียนร้อง เรียนลำ เรียนฟ้อง กับพ่อครูแม่ครูในชุมชน
จากนั้นไปดูอีกพิกัดที่ จ.บุรีรัมย์ "ครูลี่ คีตา" แห่งโรงเรียนเล็กในทุ่งกว้าง ที่ใช้ทุ่งนาและฟ้ากว้างเป็นพื้นที่เล่นและห้องเรียนดนตรี ฟูมฟักเด็ก ๆ ในชุมชนที่สนใจดนตรีและเสียงเพลงมาเล่น มาเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดเวลาการใช้มือถือติดตามกับคุณกฤษฎา กุลขัว นักข่าวพลเมืองซาวอีสาน และชวนติดตามอีกพื้นที่ คุณอุทิศ จอดนอก พาไปที่ อ.สีชมพู จ.ขอนแก่น ที่นี่นักจัดการเรียนรู้ ทีมมหาลัยไทบ้านและกลุ่มเที่ยววิถีสีชมพู ร่วมกันจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิดเรื่องศิลปะ ภาษาและการท่องเที่ยว งานนี้น้อง ๆ ได้ฝึกสนทนาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันกันอย่างสนุกสนาน เพราะมีอาสาสมัครชาวต่างชาติ ทั้งจากเยอรมนีและอังกฤษมาร่วมแบ่งปันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ใกล้บ้าน
จากนั้นชวนขยายมุมมอง แนวคิด การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เลือกเล่น เลือกเรียน อย่างสร้างสรรค์ และอุดรอยรั่วทางกาเรียนรู้ให้ทุกคนได้เข้าถึง ซึ่งการสร้างพื้นที่แบบนี้ ยังมีข้อท้าทายและต้องการการสนับสนุนอย่างไรบ้าง ใครต้องทำอะไร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ Learning Ecosystem ระบบนิเวศการเรียนรู้นี้ ชวนคุยกับ คุณเอ๋ ไพฑูรย์ เพิ่มศิรินิวาส นักดนตรีบำบัด และคณะทำงานกลุ่มอีสานจะเลิร์น
ติดตามได้ในรายการคุณเล่าเราขยาย ตอน ปิดเทอม เปิดการเรียนรู้ วันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568 เวลา 17.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
คุณเล่า เราขยาย
โจทย์การระบาดปลาหมอคางดำ เราจะจัดการแบบครบวงจรได้อย่างไร?
อนาคตเศรษฐกิจเมืองไม้สัก
ก้าวต่อไปของมูโนะ
ปัตตานีวินเทจ ยังครีเอทได้อีก
จัดการน้ำ จัดการทุ่ง "รับมือน้ำท่วม" ฉบับพื้นที่ช้ำน้ำบางบาล อยุธยา
ห้องเรียนชีวิต ชุมชน สายน้ำโขง
การจัดการสถานการณ์ "ภัยพิบัติ"
ถอดภารกิจการจัดการภัยพิบัติเชียงราย
"เมล็ดพันธุ์" ฟื้นความหวังหลังน้ำท่วม
"น้ำเหนือ น้ำฝน น้ำหนุน" คนพื้นที่ทุ่งรับน้ำรับมืออย่างไร?
ฟื้นฟูเชียงรายจากนี้ต่อ
อนาคตคนตะวันออก บนความท้าทาย EEC
โรงเรียนริมราง ชุมชน (เพื่อ) มิตรภาพ
50 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย
แกะรอยพะยูน มองอนาคตทะเลอันดามัน
ความหวัง ความฝัน คนบางคล้า พื้นที่ไข่ขาว EEC
อีสานสู่สากล Isan to the world
เมืองมรดกโลกที่มีชีวิต
ภัยธรรมชาติเปลี่ยน เราจะเตรียมรับมือกันอย่างไร
พลังพลเมืองจับตาวิกฤตโลกเดือด
ข้าว(โฉม)ใหม่ ปลามัน
"สุขภาพจิตที่ดี" ของขวัญถึงเด็กทุกคน
มาตรา 69 ชี้ชะตาทะเลไทย
ถอดรหัสเลือกตั้ง อบจ. #บ้านฉันเอาแบบนี้
โจทย์ภัยพิบัติฝุ่นพิษ PM 2.5 กับการจัดการระดับท้องถิ่น - ชาติ
เรียนรู้ ตั้งรับ ปรับตัว วิทยาศาสตร์พลเมือง
'Next Step’ ปกป้องชายหาดด้วยวิทยาศาสตร์พลเมือง
ฝ่าทางตัน "รัฐธรรมนูญ 60" สู่ "รัฐธรรมนูญประชาชน"
โจทย์ที่อยู่อาศัยบนที่ดินรถไฟ
ห้องเรียนวิทยาศาสตร์บ้านฉัน จากการเรียนรู้สู่การเฝ้าระวัง
ดอนตาแพ้ว ขุมทรัพย์กลางทะเลระนอง
เลิกจ้างแรงงานยานภัณฑ์ หลักประกันของคนทำงานอยู่ตรงไหน ?
ปิดเทอม เปิดการเรียนรู้
"คลองชายธง" กับงานอนุรักษ์ในพื้นที่สาธารณะ
เสียงของแรงงานความหวังการเยียวยาใต้ซากตึก สตง.
คุณเล่า เราขยาย
โจทย์การระบาดปลาหมอคางดำ เราจะจัดการแบบครบวงจรได้อย่างไร?
อนาคตเศรษฐกิจเมืองไม้สัก
ก้าวต่อไปของมูโนะ
ปัตตานีวินเทจ ยังครีเอทได้อีก
จัดการน้ำ จัดการทุ่ง "รับมือน้ำท่วม" ฉบับพื้นที่ช้ำน้ำบางบาล อยุธยา
ห้องเรียนชีวิต ชุมชน สายน้ำโขง
การจัดการสถานการณ์ "ภัยพิบัติ"
ถอดภารกิจการจัดการภัยพิบัติเชียงราย
"เมล็ดพันธุ์" ฟื้นความหวังหลังน้ำท่วม
"น้ำเหนือ น้ำฝน น้ำหนุน" คนพื้นที่ทุ่งรับน้ำรับมืออย่างไร?
ฟื้นฟูเชียงรายจากนี้ต่อ
อนาคตคนตะวันออก บนความท้าทาย EEC
โรงเรียนริมราง ชุมชน (เพื่อ) มิตรภาพ
50 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย
แกะรอยพะยูน มองอนาคตทะเลอันดามัน
ความหวัง ความฝัน คนบางคล้า พื้นที่ไข่ขาว EEC
อีสานสู่สากล Isan to the world
เมืองมรดกโลกที่มีชีวิต
ภัยธรรมชาติเปลี่ยน เราจะเตรียมรับมือกันอย่างไร
พลังพลเมืองจับตาวิกฤตโลกเดือด
ข้าว(โฉม)ใหม่ ปลามัน
"สุขภาพจิตที่ดี" ของขวัญถึงเด็กทุกคน
มาตรา 69 ชี้ชะตาทะเลไทย
ถอดรหัสเลือกตั้ง อบจ. #บ้านฉันเอาแบบนี้
โจทย์ภัยพิบัติฝุ่นพิษ PM 2.5 กับการจัดการระดับท้องถิ่น - ชาติ
เรียนรู้ ตั้งรับ ปรับตัว วิทยาศาสตร์พลเมือง
'Next Step’ ปกป้องชายหาดด้วยวิทยาศาสตร์พลเมือง
ฝ่าทางตัน "รัฐธรรมนูญ 60" สู่ "รัฐธรรมนูญประชาชน"
โจทย์ที่อยู่อาศัยบนที่ดินรถไฟ
ห้องเรียนวิทยาศาสตร์บ้านฉัน จากการเรียนรู้สู่การเฝ้าระวัง
ดอนตาแพ้ว ขุมทรัพย์กลางทะเลระนอง
เลิกจ้างแรงงานยานภัณฑ์ หลักประกันของคนทำงานอยู่ตรงไหน ?
ปิดเทอม เปิดการเรียนรู้
"คลองชายธง" กับงานอนุรักษ์ในพื้นที่สาธารณะ
เสียงของแรงงานความหวังการเยียวยาใต้ซากตึก สตง.