Soft Power คือหนึ่งในนโยบายยกระดับเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ Soft power ยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโอกาสของท้องถิ่น แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนถึงการดำเนินการจากฝั่งนโยบาย แต่หลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคอีสานไม่เคยหยุดนิ่ง กำหนดจัดงานงานปลาร้าหมอลำ ระหว่างวันที่ 26-29 ธันวาคม 2567 ชวนติดตามการพาอีสานทะยานสู่สากลผ่านมิติอาหารและหมอลำของชาวขอนแก่น
และชวนติดตามความเคลื่อนไหวของภาคพลเมืองกับ C-Stie อย่างสถานการณ์น้ำท่วมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งปีนี้ถือว่ารุนแรงและสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ภาคประชาชนจึงนับเป็นกำลังสำคัญที่ร่วมบรรเทาความเดือดร้อนในระยะเร่งด่วน โดยเฉพาะการจัดการเรื่องอาหารและครัวกลางของชุมชน จากนั้นชวนไปเรียนรู้วิถีเกษตรดั้งเดิมในฤดูเก็บเกี่ยวของชาวไทยเชื้ิอสายเขมร ที่รวมกลุ่มกันสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว หรือเรียกว่า "อาสรัย จโรดเซรา" กับคุณสุพัฒน์ อาร์ตบ้านบ้าน และมุมมองการทำเกษตรร่วมสมัยกับ คุณขวัญชิต โพธิ์กระสังข์ สื่อชุมชนคนชายแดนไทย - กัมพูชา
ชวนติดตามวิถีการทำ “ปลาร้า” อาหาร และเครื่องปรุงรสของชาวอีสาน ซึ่งเป็นความมั่นคงทางอาหารที่สร้างรายได้ในหลายชุมชน อย่างที่บ้านหนองล่าม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ที่นี่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับรองมาตรฐานจาก อย. ส่งปลาร้าขายทั้งในและต่างประเทศ และชวนฟังมุมมองของคนรุ่นใหม่กับกีฬามวยไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบาย 5F Soft Power ต่อด้วยความม่วนซื่นกับคอนเสิร์ตหมอลำของคณะศิลป์อีสาน ซึ่งเป็นการทดลองลงมือทำกันจริง ๆ หลักจากเรียนรู้ในห้องเรียนของคนรุ่นใหม่ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จากนั้น ชวนขยายแนวทางการพาอีสานทะยานสู่สากลผ่านมิติอาหารและหมอลำ กับความหวังในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ท้องถิ่นมากขึ้น กับเชฟคำนาง ณัฏฐภรณ์ คมจิต ผู้ประกอบการเฮือนคำนาง และคุณสุชาติ อินทร์พรหม หนึ่งในผู้ก่อตั้งหมอลำคณะ 'อีสานนครศิลป์'
ติดตามได้ในรายการคุณเล่าเราขยาย ตอน อีสานสู่สากล Isan to the world วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2567 เวลา 17.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
Soft Power คือหนึ่งในนโยบายยกระดับเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ Soft power ยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโอกาสของท้องถิ่น แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนถึงการดำเนินการจากฝั่งนโยบาย แต่หลายพื้นที่โดยเฉพาะภาคอีสานไม่เคยหยุดนิ่ง กำหนดจัดงานงานปลาร้าหมอลำ ระหว่างวันที่ 26-29 ธันวาคม 2567 ชวนติดตามการพาอีสานทะยานสู่สากลผ่านมิติอาหารและหมอลำของชาวขอนแก่น
และชวนติดตามความเคลื่อนไหวของภาคพลเมืองกับ C-Stie อย่างสถานการณ์น้ำท่วมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งปีนี้ถือว่ารุนแรงและสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ภาคประชาชนจึงนับเป็นกำลังสำคัญที่ร่วมบรรเทาความเดือดร้อนในระยะเร่งด่วน โดยเฉพาะการจัดการเรื่องอาหารและครัวกลางของชุมชน จากนั้นชวนไปเรียนรู้วิถีเกษตรดั้งเดิมในฤดูเก็บเกี่ยวของชาวไทยเชื้ิอสายเขมร ที่รวมกลุ่มกันสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว หรือเรียกว่า "อาสรัย จโรดเซรา" กับคุณสุพัฒน์ อาร์ตบ้านบ้าน และมุมมองการทำเกษตรร่วมสมัยกับ คุณขวัญชิต โพธิ์กระสังข์ สื่อชุมชนคนชายแดนไทย - กัมพูชา
ชวนติดตามวิถีการทำ “ปลาร้า” อาหาร และเครื่องปรุงรสของชาวอีสาน ซึ่งเป็นความมั่นคงทางอาหารที่สร้างรายได้ในหลายชุมชน อย่างที่บ้านหนองล่าม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ที่นี่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับรองมาตรฐานจาก อย. ส่งปลาร้าขายทั้งในและต่างประเทศ และชวนฟังมุมมองของคนรุ่นใหม่กับกีฬามวยไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบาย 5F Soft Power ต่อด้วยความม่วนซื่นกับคอนเสิร์ตหมอลำของคณะศิลป์อีสาน ซึ่งเป็นการทดลองลงมือทำกันจริง ๆ หลักจากเรียนรู้ในห้องเรียนของคนรุ่นใหม่ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จากนั้น ชวนขยายแนวทางการพาอีสานทะยานสู่สากลผ่านมิติอาหารและหมอลำ กับความหวังในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ท้องถิ่นมากขึ้น กับเชฟคำนาง ณัฏฐภรณ์ คมจิต ผู้ประกอบการเฮือนคำนาง และคุณสุชาติ อินทร์พรหม หนึ่งในผู้ก่อตั้งหมอลำคณะ 'อีสานนครศิลป์'
ติดตามได้ในรายการคุณเล่าเราขยาย ตอน อีสานสู่สากล Isan to the world วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม 2567 เวลา 17.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live