การต่อสู้ของชาวเมียนมามากกว่า 1 เดือน เพื่อขับไล่กองทัพจากการทำรัฐประหาร ไม่ใช่เพียงความเคลื่อนไหวของประชาชนเท่านั้น แต่บรรดาสมาชิกพรรค NLD รวมตัวกันจัดตั้งคณะกรรมการตัวแทนรัฐสภา หรือ CRPH กำลังช่วงชิงความชอบธรรมในการเป็นรัฐบาลเมียนมาที่แท้จริง
ปัจจัยหนึ่งที่บรรดานักวิเคราะห์ต่างมองกันว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสถานการณ์ในเมียนมาก็คือ การจับอาวุธขึ้นสู้ของบรรดากองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ จนมีผู้คนลี้ภัยเข้าไปอาศัยกับกลุ่มชาติพันธุ์มากขึ้น ถ้าถึงจุดที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่อสู้กองทัพเมียนมายังเต็มตัว อาจจะเข้าสู่สงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบ แต่ศักยภาพของกองทัพเมียนมา กับกองกำลังแต่ละกลุ่ม แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน
ช่วงเวลาที่ผ่านมามีเหตุทำร้ายร่างกายชาวเอเชียให้สหรัฐฯมากขึ้นอย่างผิดสังเกต อาจจะเป็นกระแสเกลียดชังชาวเอเชียที่ฝังลึกอยู่กับชาวอเมริกันบางส่วนมายาวนาน แต่ด้านหนึ่งก็อาจจะมีปัจจัยเร่ง เกิดจากยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และอาจจะรวมกับภาวะที่มีโรคระบาด ซึ่งชาวอเมริกันบางส่วนกล่าวโทษว่ามาจากจีน ทั้งหมดนี้อาจจะเป็นโจทย์ท้าทาย โจ ไบเดน ต้องเร่งสลายความขัดแย้ง
ท่ามกลางความคาดหวังว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อาจจะเป็นช่องทางการคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง แต่ในที่สุดที่ประชุมรัฐสภาก็คว่ำร่างฉบับนี้ไปในวาระที่ 3 จุดเปลี่ยนสำคัญอยู่ที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
คำวินิจฉัยที่ยืนยันว่าต้องทำประชามติ ก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถูกตีความต่างกัน วาระที่ 3 โหวตได้หรือไม่ จนต้องคว่ำไป ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ถึงความสูญเปล่าตลอดระยะเวลาที่ทำมา
โดยรวมแล้วความพยายามแก้รัฐธรรมนูญใช้เวลากว่า 2 ปี ก็ต้องกลับไปเริ่มนับหนึ่งใหม่ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าจะทำด้วยวิธีไหน แก้ใหม่ทั้งฉบับ หรือแก้รายมาตรา และนับตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศนโยบาย สภาตั้งกรรมาธิการศึกษา ส.ส.เริ่มจัดทำร่าง เลื่อนโหวตวาระที่ 1 ตั้งกรรมาธิการศึกษาอีกครั้ง นำไปสู่การยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ และล้มกระบวนการ ตลอดเส้นทางนี้ จะเห็นบทบาทของรัฐบาลทีระบุว่า สนับสนุนการแก้รัฐธรรมนูญสวนทางความเป็นจริง
ถึงขณะนี้แกนนำการชุมนุมหลายคนที่ถูกกล่าวหาจากคดี ม.112 ก็ยังไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว แต่ก็ยังพยายามเคลื่อนไหวจากภายในเรือนจำผ่านทนายความ โดยเฉพาะการเขียนจดหมายของทนายอานนท์ อ้างถึงความกังวลต่อชีวิตในเรือนจำ จดหมายฉบับนี้ ระบุถึงการถูกเจ้าหน้าที่เรือนจำตรวจเชื้อโควิด-19 กลางดึก อาจจะไม่ปลอดภัย แต่กรมราชทัณฑ์ก็ชี้แจงเรื่องนี้ว่าเป็นปกติ
คนเมียนมาจำนวนมากกำลังอพยพออกจากย่างกุ้งเพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย ท่ามกลางการสลายการชุมนุมอย่างรุนแรง มิสยูนิเวิร์สเมียนมา 2018 ซึ่งอยู่ระหว่างถ่ายทำละครในไทย ถึงเอกภาพของคนประชาชนเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร และหวังว่านานาชาติจะแสดงพลังเพื่อช่วยคนเมียนมาให้พ้นวิกฤต
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2564 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live
การต่อสู้ของชาวเมียนมามากกว่า 1 เดือน เพื่อขับไล่กองทัพจากการทำรัฐประหาร ไม่ใช่เพียงความเคลื่อนไหวของประชาชนเท่านั้น แต่บรรดาสมาชิกพรรค NLD รวมตัวกันจัดตั้งคณะกรรมการตัวแทนรัฐสภา หรือ CRPH กำลังช่วงชิงความชอบธรรมในการเป็นรัฐบาลเมียนมาที่แท้จริง
ปัจจัยหนึ่งที่บรรดานักวิเคราะห์ต่างมองกันว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสถานการณ์ในเมียนมาก็คือ การจับอาวุธขึ้นสู้ของบรรดากองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ จนมีผู้คนลี้ภัยเข้าไปอาศัยกับกลุ่มชาติพันธุ์มากขึ้น ถ้าถึงจุดที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่อสู้กองทัพเมียนมายังเต็มตัว อาจจะเข้าสู่สงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบ แต่ศักยภาพของกองทัพเมียนมา กับกองกำลังแต่ละกลุ่ม แตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน
ช่วงเวลาที่ผ่านมามีเหตุทำร้ายร่างกายชาวเอเชียให้สหรัฐฯมากขึ้นอย่างผิดสังเกต อาจจะเป็นกระแสเกลียดชังชาวเอเชียที่ฝังลึกอยู่กับชาวอเมริกันบางส่วนมายาวนาน แต่ด้านหนึ่งก็อาจจะมีปัจจัยเร่ง เกิดจากยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และอาจจะรวมกับภาวะที่มีโรคระบาด ซึ่งชาวอเมริกันบางส่วนกล่าวโทษว่ามาจากจีน ทั้งหมดนี้อาจจะเป็นโจทย์ท้าทาย โจ ไบเดน ต้องเร่งสลายความขัดแย้ง
ท่ามกลางความคาดหวังว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อาจจะเป็นช่องทางการคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมือง แต่ในที่สุดที่ประชุมรัฐสภาก็คว่ำร่างฉบับนี้ไปในวาระที่ 3 จุดเปลี่ยนสำคัญอยู่ที่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
คำวินิจฉัยที่ยืนยันว่าต้องทำประชามติ ก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถูกตีความต่างกัน วาระที่ 3 โหวตได้หรือไม่ จนต้องคว่ำไป ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ถึงความสูญเปล่าตลอดระยะเวลาที่ทำมา
โดยรวมแล้วความพยายามแก้รัฐธรรมนูญใช้เวลากว่า 2 ปี ก็ต้องกลับไปเริ่มนับหนึ่งใหม่ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าจะทำด้วยวิธีไหน แก้ใหม่ทั้งฉบับ หรือแก้รายมาตรา และนับตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศนโยบาย สภาตั้งกรรมาธิการศึกษา ส.ส.เริ่มจัดทำร่าง เลื่อนโหวตวาระที่ 1 ตั้งกรรมาธิการศึกษาอีกครั้ง นำไปสู่การยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ และล้มกระบวนการ ตลอดเส้นทางนี้ จะเห็นบทบาทของรัฐบาลทีระบุว่า สนับสนุนการแก้รัฐธรรมนูญสวนทางความเป็นจริง
ถึงขณะนี้แกนนำการชุมนุมหลายคนที่ถูกกล่าวหาจากคดี ม.112 ก็ยังไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว แต่ก็ยังพยายามเคลื่อนไหวจากภายในเรือนจำผ่านทนายความ โดยเฉพาะการเขียนจดหมายของทนายอานนท์ อ้างถึงความกังวลต่อชีวิตในเรือนจำ จดหมายฉบับนี้ ระบุถึงการถูกเจ้าหน้าที่เรือนจำตรวจเชื้อโควิด-19 กลางดึก อาจจะไม่ปลอดภัย แต่กรมราชทัณฑ์ก็ชี้แจงเรื่องนี้ว่าเป็นปกติ
คนเมียนมาจำนวนมากกำลังอพยพออกจากย่างกุ้งเพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย ท่ามกลางการสลายการชุมนุมอย่างรุนแรง มิสยูนิเวิร์สเมียนมา 2018 ซึ่งอยู่ระหว่างถ่ายทำละครในไทย ถึงเอกภาพของคนประชาชนเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร และหวังว่านานาชาติจะแสดงพลังเพื่อช่วยคนเมียนมาให้พ้นวิกฤต
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2564 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live