บทบาทภาคประชาสังคมเมียนมา รณรงค์อารยะขัดขืนต่อต้านรัฐประหาร
ผ่านมาเกือบ 2 สัปดาห์ สำหรับการรัฐประหารในเมียนมา สถานการณ์ยังคงเข้มข้น เมื่อผู้ประท้วงยังไม่ยุติการต่อต้านกองทัพ และครั้งนี้ได้เห็นบทบาทของภาคประชาสังคมเมียนมา ที่รณรงค์การอารยะขัดขืน โดยใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียติดต่อสื่อสารกัน อีกด้านหนึ่งท่าทีของกลุ่มชาติพันธุ์ก็อาจจะมีผลกับสถานการณ์อย่างมาก เมื่อกองทัพเมียนมาอาจจะมีแนวคิดที่สวนทางกับการปกครองแบบสหพันธรัฐ ทำให้อนาคตการเมืองเมียนมา ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
นักวิเคราะห์มองกองทัพเมียนมาอยู่ยาว ปกครองแบบสภาทหาร ไม่ปล่อยเลือกตั้งใน 1 ปี
การประกาศยึดอำนาจและเตรียมเลือกตั้งใหม่ใน 1 ปี ของกองทัพเมียนมา ในสายตานักวิเคราะห์การเมืองเมียนมา แทบจะไม่มีใครเชื่อ เพราะประวัติศาสตร์ของกองทัพเมียนมา ชี้ให้เห็นมาตลอดว่า กองทัพจะครองอำนาจยาวนาน แบบเบ็ดเสร็จ ครั้งนี้ถ้าอ่านใจ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมา น่าเชื่อได้ว่ากองทัพเมียนมาจะปกครองเหมือนในอดีต โดยใช้สภาทหาร และถ้าชาวเมียนมายังต่อต้านก็มีความเสี่ยงจะเกิดความรุนแรง
ย้อนประวัติศาสตร์ขมขื่นของชาวเมียนมา ชีวิตภายใต้รัฐบาลทหาร 50 ปี ยากจนที่สุดในเอเชีย
แม้ชาวเมียนมาส่วนใหญ่จะเลือกพรรคเอ็นแอลดี ยังคงศรัทธาในตัวออง ซาน ซู จี เมื่อกองทัพยึดอำนาจ พวกเขาจึงลุกขึ้นมาต่อต้าน แต่ถ้ามองลึกไปกว่านั้น เหตุผลง่าย ๆ แต่มีน้ำหนัก ที่จะอธิบายปรากฏการณ์นี้คือชาวเมียนมากำลังต่อสู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ในช่วงเวลา 50 ปีที่พวกเขาอยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร เมียนมาตกอยู่ในสภาพที่ยากจนที่สุดในเอเชีย ระบบสาธารณสุข ระบบการศึกษาย่ำแย่ เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความช่วยเหลือจากรัฐก็ไม่ทันท่วงที อาจจะเรียกเป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์อันขมขื่นของชาวเมียนมา
อดีตนักเคลื่อนไหวปี 1988 มองเปรียบเทียบการประท้วงของชาวเมียนมาอดีตถึงปัจจุบัน
ถึงแม้การต่อต้านรัฐประหารของชาวเมียนมา อาจจะทำให้ย้อนนึกถึงเหตุการณ์ 8888 หรือการชุมนุมใหญ่วันที่ 8 สิงหาคม 1988 ซึ่งครั้งนี้ก็มีอดีตนักศึกษาในยุคนั้นมาร่วมขบวนด้วย แต่สิ่งที่ต่างไปคือการประท้วงดูเหมือนจะไม่มีแกนนำชัดเจน คล้ายแนวทางของไทยและฮ่องกง แล้วอดีตนักเคลื่อนไหวปี 1988 มองการเคลื่อนไหวปัจจุบันนี้อย่างไร
วัดใจพรรคก้าวไกลเสนอแก้ ม.112 ลดโทษเหลือ 1 ปี ไทยภักดีคัดค้านอ้างปกป้องสถาบัน
ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกล หรือในอดีตคือพรรคอนาคตใหม่ วิพากษ์วิจารณ์ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 บ่อยครั้ง แต่ครั้งนี้กำลังขยับไปอีกก้าวคือการเสนอแก้ไขกฎหมายในสภา พร้อมกับแก้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หัวใจสำคัญที่พรรคก้าวไกลเสนอแก้ไขคือลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี และถ้าแสดงความเห็นโดยสุจริตจะไม่มีความผิด แต่ก็คงไม่ผิดคาดที่จะมีเสียงคัดค้านจากบางกลุ่มด้วยคำอธิบายว่าต้องการปกป้องสถาบัน หรือแม้แต่ ส.ส.พรรคก้าวไกลเองก็มีหลายคนไม่เห็นด้วย
เปิดใจพยาบาลไทยในสหรัฐฯ ฉีดวัคซีน บทเรียนสาธารณสุขไทย
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังรอฉีดวัคซีนเข็มแรก แต่หลายประเทศเดินหน้าฉีดวัคซีนไปจำนวนมากแล้ว อย่างที่สหรัฐอเมริกา เริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม จากบริษัท ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา ร่วมพูดคุยประเด็นนี้กับพยาบาลในสหรัฐฯ ที่เล่าถึงประสบการณ์และข้อปฏิบัติของการใช้วัคซีน อาจจะเป็นกรณีในวงการสาธารณสุขของไทย
Thai PBS World : ประเมินแรงกดดันจากนานาชาติต่อเมียนมา และท่าทีอาเซียน
นานาชาติดูเหมือนจะเริ่มกดดันกองทัพเมียนมาหนักขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรแบบรายบุคคลต่อพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย และนายทหารระดับสูงที่เป็นผู้บริหารสภาบริหารแห่งรัฐ ท่าทีจากโลกตะวันตกมากพอที่จะกดดันทหารเมียนมาหรือไม่ อาเซียนและไทยควรจะมีบทบาทอย่างไร
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live
บทบาทภาคประชาสังคมเมียนมา รณรงค์อารยะขัดขืนต่อต้านรัฐประหาร
ผ่านมาเกือบ 2 สัปดาห์ สำหรับการรัฐประหารในเมียนมา สถานการณ์ยังคงเข้มข้น เมื่อผู้ประท้วงยังไม่ยุติการต่อต้านกองทัพ และครั้งนี้ได้เห็นบทบาทของภาคประชาสังคมเมียนมา ที่รณรงค์การอารยะขัดขืน โดยใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียติดต่อสื่อสารกัน อีกด้านหนึ่งท่าทีของกลุ่มชาติพันธุ์ก็อาจจะมีผลกับสถานการณ์อย่างมาก เมื่อกองทัพเมียนมาอาจจะมีแนวคิดที่สวนทางกับการปกครองแบบสหพันธรัฐ ทำให้อนาคตการเมืองเมียนมา ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
นักวิเคราะห์มองกองทัพเมียนมาอยู่ยาว ปกครองแบบสภาทหาร ไม่ปล่อยเลือกตั้งใน 1 ปี
การประกาศยึดอำนาจและเตรียมเลือกตั้งใหม่ใน 1 ปี ของกองทัพเมียนมา ในสายตานักวิเคราะห์การเมืองเมียนมา แทบจะไม่มีใครเชื่อ เพราะประวัติศาสตร์ของกองทัพเมียนมา ชี้ให้เห็นมาตลอดว่า กองทัพจะครองอำนาจยาวนาน แบบเบ็ดเสร็จ ครั้งนี้ถ้าอ่านใจ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมา น่าเชื่อได้ว่ากองทัพเมียนมาจะปกครองเหมือนในอดีต โดยใช้สภาทหาร และถ้าชาวเมียนมายังต่อต้านก็มีความเสี่ยงจะเกิดความรุนแรง
ย้อนประวัติศาสตร์ขมขื่นของชาวเมียนมา ชีวิตภายใต้รัฐบาลทหาร 50 ปี ยากจนที่สุดในเอเชีย
แม้ชาวเมียนมาส่วนใหญ่จะเลือกพรรคเอ็นแอลดี ยังคงศรัทธาในตัวออง ซาน ซู จี เมื่อกองทัพยึดอำนาจ พวกเขาจึงลุกขึ้นมาต่อต้าน แต่ถ้ามองลึกไปกว่านั้น เหตุผลง่าย ๆ แต่มีน้ำหนัก ที่จะอธิบายปรากฏการณ์นี้คือชาวเมียนมากำลังต่อสู้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ในช่วงเวลา 50 ปีที่พวกเขาอยู่ภายใต้รัฐบาลทหาร เมียนมาตกอยู่ในสภาพที่ยากจนที่สุดในเอเชีย ระบบสาธารณสุข ระบบการศึกษาย่ำแย่ เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความช่วยเหลือจากรัฐก็ไม่ทันท่วงที อาจจะเรียกเป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์อันขมขื่นของชาวเมียนมา
อดีตนักเคลื่อนไหวปี 1988 มองเปรียบเทียบการประท้วงของชาวเมียนมาอดีตถึงปัจจุบัน
ถึงแม้การต่อต้านรัฐประหารของชาวเมียนมา อาจจะทำให้ย้อนนึกถึงเหตุการณ์ 8888 หรือการชุมนุมใหญ่วันที่ 8 สิงหาคม 1988 ซึ่งครั้งนี้ก็มีอดีตนักศึกษาในยุคนั้นมาร่วมขบวนด้วย แต่สิ่งที่ต่างไปคือการประท้วงดูเหมือนจะไม่มีแกนนำชัดเจน คล้ายแนวทางของไทยและฮ่องกง แล้วอดีตนักเคลื่อนไหวปี 1988 มองการเคลื่อนไหวปัจจุบันนี้อย่างไร
วัดใจพรรคก้าวไกลเสนอแก้ ม.112 ลดโทษเหลือ 1 ปี ไทยภักดีคัดค้านอ้างปกป้องสถาบัน
ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกล หรือในอดีตคือพรรคอนาคตใหม่ วิพากษ์วิจารณ์ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 บ่อยครั้ง แต่ครั้งนี้กำลังขยับไปอีกก้าวคือการเสนอแก้ไขกฎหมายในสภา พร้อมกับแก้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หัวใจสำคัญที่พรรคก้าวไกลเสนอแก้ไขคือลดโทษเหลือจำคุก 1 ปี และถ้าแสดงความเห็นโดยสุจริตจะไม่มีความผิด แต่ก็คงไม่ผิดคาดที่จะมีเสียงคัดค้านจากบางกลุ่มด้วยคำอธิบายว่าต้องการปกป้องสถาบัน หรือแม้แต่ ส.ส.พรรคก้าวไกลเองก็มีหลายคนไม่เห็นด้วย
เปิดใจพยาบาลไทยในสหรัฐฯ ฉีดวัคซีน บทเรียนสาธารณสุขไทย
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังรอฉีดวัคซีนเข็มแรก แต่หลายประเทศเดินหน้าฉีดวัคซีนไปจำนวนมากแล้ว อย่างที่สหรัฐอเมริกา เริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม จากบริษัท ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา ร่วมพูดคุยประเด็นนี้กับพยาบาลในสหรัฐฯ ที่เล่าถึงประสบการณ์และข้อปฏิบัติของการใช้วัคซีน อาจจะเป็นกรณีในวงการสาธารณสุขของไทย
Thai PBS World : ประเมินแรงกดดันจากนานาชาติต่อเมียนมา และท่าทีอาเซียน
นานาชาติดูเหมือนจะเริ่มกดดันกองทัพเมียนมาหนักขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรแบบรายบุคคลต่อพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย และนายทหารระดับสูงที่เป็นผู้บริหารสภาบริหารแห่งรัฐ ท่าทีจากโลกตะวันตกมากพอที่จะกดดันทหารเมียนมาหรือไม่ อาเซียนและไทยควรจะมีบทบาทอย่างไร
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live