ยึดอำนาจเมียนมา สะเทือนภูมิรัฐศาสตร์โลก
การยึดอำนาจในเมียนมาส่งผลสะเทือนต่อภูมิรัฐศาสตร์โลกอย่างเลี่ยงไม่ได้ มหาอำนาจตะวันตกอาจจะอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ว่าจะวางท่าทีต่อเมียนมาอย่างไร โดยเฉพาะอเมริกา ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ตัดความช่วยเหลือประเทศที่ก่อรัฐประหาร แต่ถ้าบีบเมียนมามากเกินไป อาจจะทำให้เมียนมาเลือกไปพึ่งพิงจีนมากขึ้น ส่งผลต่อดุลอำนาจในเอเชียแปซิฟิก
"เนปิดอว์" ปราการเหล็กแห่งกองทัพเมียนมา
ถึงแม้จะได้เห็นการอารยะขัดขืนของชาวเมียนมาต่อต้านการยึดอำนาจ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าถ้าจะยกระดับเป็นการชุมนุมขับไล่กองทัพไม่ใช่เรื่องง่าย นับตั้งแต่เมียนมาย้ายเมืองหลวงมาที่เนปิดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่นี้อยู่ตอนกลางของประเทศ ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการลุกฮือของฝูงชนแตกต่างจากย่างกุ้ง รวมถึงการยึดอำนาจของกองทัพในเนปิดอว์ไม่ใช่เรื่องยาก
รู้จัก พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจในเมียนมา
ชื่อของ พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา ถูกจับจ้องไปทั่วโลก หลังจากเขาตัดสินใจเข้ายึดอำนาจ เบื้องหลังของนายพลคนนี้มีความสัมพันธ์กับกองทัพไทยเป็นอย่างดี และอีกด้านหนึ่งที่อาจจะถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเหตุผลยึดอำนาจ เพื่อปกป้องธุรกิจหรือไม่ เพราะ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย เข้าไปมีส่วนร่วมกับบริษัทต่าง ๆ มากมาย จนอาจจะเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจในเมียนมา
ย้อนบทบาท ออง ซาน ซู จี นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เสี่ยงถูกตัดสิทธิ์การเมือง
ภาพที่คนทั่วโลกจดจำ ออง ซาน ซู จี คงจะไม่ต่างจากหญิงเหล็กแห่งเมียนมา นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย กว่าจะได้ขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา เธอผ่านการจับกุมคุมขังมาแล้วหลายครั้ง และเมื่อกองทัพยึดอำนาจ ก็จำเป็นต้องควบคุมตัวออง ซาน ซู จี เป็นคนแรก ๆ แต่ครั้งนี้เธอถูกดำเนินคดีอาญา อาจจะมีความเสี่ยงถูกจำคุกและตัดสิทธิ์ทางการเมือง
ฟังเสียงสะท้อนชาวเมียนมาในไทย กับการยึดอำนาจของกองทัพ
ในประเทศไทยมีชาวเมียนมาจำนวนไม่น้อยที่ไม่พอใจการรัฐประหาร ออกมาทำกิจกรรมหน้าสถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทย เรียกร้องให้ปล่อยตัวออง ซาน ซู จี ชาวเมียนมาบางคนรู้สึกผิดหวังในการยึดอำนาจของกองทัพ
รัฐบาลปรับงบประมาณปี 65 ถอยซื้อเรือดำน้ำ ผันงบประมาณสู้โควิด-19
การจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ที่รัฐบาลเห็นชอบในหลักการแล้ว น่าสังเกตว่าไม่มีการตั้งงบประมาณการจัดซื้อเรือดำน้ำเพื่อเสริมเขี้ยวเล็บทางทะเล ถือว่าเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่ต้องเลื่อนออกไป เหตุผลหนึ่งอาจจะเป็นเพราะกระแสโจมตีรัฐบาลและกองทัพ ในขณะเดียวกัน อาจจะต้องการกันงบประมาณไปใช้กับสถานการณ์โควิด-19
Thai PBS World : วิเคราะห์สถานการณ์ในเมียนมา
ท่าทีของนานาชาติดูเหมือนจะประสานเสียงกันดังขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อกดดันกองทัพเมียนมาหลังจากการทำรัฐประหาร ผู้นำสองประเทศของอาเซียนเรียกร้องให้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศเร่งด่วน บทบาทของอาเซียนจะมีน้ำหนักต่อกองทัพเมียนมามากน้อยแค่ไหน
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live
ยึดอำนาจเมียนมา สะเทือนภูมิรัฐศาสตร์โลก
การยึดอำนาจในเมียนมาส่งผลสะเทือนต่อภูมิรัฐศาสตร์โลกอย่างเลี่ยงไม่ได้ มหาอำนาจตะวันตกอาจจะอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ว่าจะวางท่าทีต่อเมียนมาอย่างไร โดยเฉพาะอเมริกา ซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ตัดความช่วยเหลือประเทศที่ก่อรัฐประหาร แต่ถ้าบีบเมียนมามากเกินไป อาจจะทำให้เมียนมาเลือกไปพึ่งพิงจีนมากขึ้น ส่งผลต่อดุลอำนาจในเอเชียแปซิฟิก
"เนปิดอว์" ปราการเหล็กแห่งกองทัพเมียนมา
ถึงแม้จะได้เห็นการอารยะขัดขืนของชาวเมียนมาต่อต้านการยึดอำนาจ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าถ้าจะยกระดับเป็นการชุมนุมขับไล่กองทัพไม่ใช่เรื่องง่าย นับตั้งแต่เมียนมาย้ายเมืองหลวงมาที่เนปิดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่นี้อยู่ตอนกลางของประเทศ ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการลุกฮือของฝูงชนแตกต่างจากย่างกุ้ง รวมถึงการยึดอำนาจของกองทัพในเนปิดอว์ไม่ใช่เรื่องยาก
รู้จัก พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจในเมียนมา
ชื่อของ พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเมียนมา ถูกจับจ้องไปทั่วโลก หลังจากเขาตัดสินใจเข้ายึดอำนาจ เบื้องหลังของนายพลคนนี้มีความสัมพันธ์กับกองทัพไทยเป็นอย่างดี และอีกด้านหนึ่งที่อาจจะถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเหตุผลยึดอำนาจ เพื่อปกป้องธุรกิจหรือไม่ เพราะ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย เข้าไปมีส่วนร่วมกับบริษัทต่าง ๆ มากมาย จนอาจจะเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางธุรกิจในเมียนมา
ย้อนบทบาท ออง ซาน ซู จี นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เสี่ยงถูกตัดสิทธิ์การเมือง
ภาพที่คนทั่วโลกจดจำ ออง ซาน ซู จี คงจะไม่ต่างจากหญิงเหล็กแห่งเมียนมา นักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย กว่าจะได้ขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา เธอผ่านการจับกุมคุมขังมาแล้วหลายครั้ง และเมื่อกองทัพยึดอำนาจ ก็จำเป็นต้องควบคุมตัวออง ซาน ซู จี เป็นคนแรก ๆ แต่ครั้งนี้เธอถูกดำเนินคดีอาญา อาจจะมีความเสี่ยงถูกจำคุกและตัดสิทธิ์ทางการเมือง
ฟังเสียงสะท้อนชาวเมียนมาในไทย กับการยึดอำนาจของกองทัพ
ในประเทศไทยมีชาวเมียนมาจำนวนไม่น้อยที่ไม่พอใจการรัฐประหาร ออกมาทำกิจกรรมหน้าสถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทย เรียกร้องให้ปล่อยตัวออง ซาน ซู จี ชาวเมียนมาบางคนรู้สึกผิดหวังในการยึดอำนาจของกองทัพ
รัฐบาลปรับงบประมาณปี 65 ถอยซื้อเรือดำน้ำ ผันงบประมาณสู้โควิด-19
การจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ที่รัฐบาลเห็นชอบในหลักการแล้ว น่าสังเกตว่าไม่มีการตั้งงบประมาณการจัดซื้อเรือดำน้ำเพื่อเสริมเขี้ยวเล็บทางทะเล ถือว่าเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่ต้องเลื่อนออกไป เหตุผลหนึ่งอาจจะเป็นเพราะกระแสโจมตีรัฐบาลและกองทัพ ในขณะเดียวกัน อาจจะต้องการกันงบประมาณไปใช้กับสถานการณ์โควิด-19
Thai PBS World : วิเคราะห์สถานการณ์ในเมียนมา
ท่าทีของนานาชาติดูเหมือนจะประสานเสียงกันดังขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อกดดันกองทัพเมียนมาหลังจากการทำรัฐประหาร ผู้นำสองประเทศของอาเซียนเรียกร้องให้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศเร่งด่วน บทบาทของอาเซียนจะมีน้ำหนักต่อกองทัพเมียนมามากน้อยแค่ไหน
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live