ข้อถกเถียงมาตรา 112 รอบ 1 เดือนกว่า 30 คดี
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถูกนำมาบังคับใช้อีกครั้งหนึ่งอย่างเข้มข้น นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีส่งสัญญาณให้บังคับใช้กฎหมายทุกฉบับ ตอนนี้แกนนำที่มีบทบาทสำคัญถูกดำเนินคดีมาตรา 112 แทบจะครบทุกคนแล้ว ท่ามกลางคำถามถึงการขยายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ หลายคนถูกดำเนินคดีเพราะการแต่งตัว บางคนอาจเป็นเพียงผู้สนับสนุนการชุมนุมเท่านั้น แต่อีกด้านหนึ่งมีความเห็นว่าถ้าพฤติกรรมเข้าข่ายก็ถือว่ามีความผิด และกฎหมายฉบับนี้ยังจำเป็นเพื่อคุ้มครองประมุขของประเทศ
ฝ่ายค้านเตรียมหมัดน็อก รัฐบาลเตรียมรับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจปีหน้า
ตลอดปีที่ผ่านมา รัฐบาลอาจจะมีอุปสรรคทางการเมืองมากมาย โดยเฉพาะการชุมนุมทางการเมือง แต่ก็สามารถประคับประคองจนสามารถผ่านมาได้ตลอดปี 2563 แต่เมื่อข้ามปีมาในปี 2564 รัฐบาลต้องเตรียมรับมือกับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจจากฝ่ายค้าน ฝ่ายค้านอ้างว่ามีหมัดน็อกต้องช็อกแน่นอน และอาจอภิปรายรัฐมนตรีแบบรายบุคคล แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่าคะแนนเสียงของรัฐบาลในสภาเลยนัก น้ำมามากแล้ว ออาจทำให้รัฐบาลไม่กังวลกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจมากน้อย
แนวคิดไทยส่งยานอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ โจทย์ท้าทายเหตุผลและความจำเป็น
แนวคิดของไทยที่จะสร้างยานไปโคจรรอบดวงจันทร์ในอีก 7 ปีข้างหน้า ถูกวิจารณ์และตั้งคำถามถึงความจำเป็นในสภาวะทางเศรษฐกิจขณะนี้ แต่หากมองการแข่งขันเวทีโลก ดวงจันทร์เป็นสมรภูมิที่หลายประเทศพยายามจะแสดงศักยภาพที่แฝงนัยทางการเมืองและเศรษฐกิจโลก ในอดีตนาซาถูกตั้งคำถามถึงความจำเป็น แต่สามารถผ่านบทพิสูจน์สร้างองค์ความรู้กลายเป็นนวัตกรรมในปัจจุบัน โครงการด้านอวกาศจึงมีความท้าทาย หากภาครัฐเดินหน้าต้องตอบสังคมให้ชัดเจนถึงประโยชน์และความคุ้มค่า
ข้อกำหนดกรุงเทพฯ ครบรอบ 10 ปี โอกาสกลับตัวของผู้ต้องขังหญิง
อีกไม่กี่วันจะครบรอบ 10 ปี ที่สมัชชาสหประชาชาติ รับรองข้อกำหนดที่ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง เรียกว่า ข้อกำหนดกรุงเทพ หนึ่งในเป้าหมายของโครงการนี้คือการเปิดโอกาสให้ผู้พ้นโทษกลับมาใช้ชีวิตในสังคม มีงานทำ ไม่กลับไปทำผิดซ้ำ มีหน่วยงานกว่า 30 องค์กรพยายามผลักดันเรื่องนี้
ทั่วโลกสั่งจองวัคซีนโควิด-19 สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
จนถึงขณะนี้ ยอดสั่งจองวัคซีนโควิด-19 ล่วงหน้า สูงกว่า 7 พันล้านโดส ทั้งที่วัคซีนของบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนา หรือถึงแม้จะอนุมัติให้ใช้แล้ว อาจถูกตั้งคำถามเรื่องความปลอดภัย แต่ดูเหมือนหลายประเทศจะไม่รอแล้ว ต้องเดิมพันกับการระบาดที่ยังคงรุนแรง แต่การสั่งซื้อล่วงหน้าส่วนใหญ่เป็นประเทศมหาอำนาจ มีรายได้สูง ในขณะที่ประเทศรายได้ต่ำอาจจะยังเข้าไม่ถึง ซึ่งอาจชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของโลก ที่สะท้อนผ่านการจัดการโรคระบาดได้อย่างชัดเจน
เปิดแผนสิงคโปร์อนุมัติวัคซีนไฟเซอร์ชาติแรกของเอเชีย เร่งสร้างภูมิคุ้มกันฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ถึงแม้วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์และบียอนด์เทคจะมีต้นทุนในการขนส่งสูง เพราะต้องเก็บในอุณหภูมิต่ำกว่า -70 องศาเซลเเซียส และฐานการผลิตของวัคซีนอยู่ในสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี แต่ไม่ใช่ปัญหาสำหรับสิงคโปร์ ที่ประกาศจะเป็นประเทศแรกในเอเชียที่จะอนุมัติวัคซีนของทั้งสองบริษัทนี้ โดยสิงคโปร์มีเป้าหมายว่าถ้าประชาชนมีภูมิคุ้มกัน จะทำให้เศรษฐกินฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง หลังซบเซาในช่วงการแผร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
Thai PBS World : ผลสำเร็จจากข้อกำหนดกรุงเทพฯ
ปีนี้ข้อกำหนดกรุงเทพอายุครบ 10 ปี แต่คนไทยจำนวนมากอาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร และทำไมต้องมีแนวทางปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง คุณณัฏฐา โกมลวาทิน คุยกับ ศ.พิเศษ กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อขอให้ย้อนรอยที่มาของข้อกำหนดกรุงเทพ ซึ่งน่าจะถือได้ว่าเป็นความภูมิใจร่วมกันของประเทศไทยที่ผลักดันเรื่องนี้ได้สำเร็จ
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live
ข้อถกเถียงมาตรา 112 รอบ 1 เดือนกว่า 30 คดี
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถูกนำมาบังคับใช้อีกครั้งหนึ่งอย่างเข้มข้น นับตั้งแต่นายกรัฐมนตรีส่งสัญญาณให้บังคับใช้กฎหมายทุกฉบับ ตอนนี้แกนนำที่มีบทบาทสำคัญถูกดำเนินคดีมาตรา 112 แทบจะครบทุกคนแล้ว ท่ามกลางคำถามถึงการขยายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ หลายคนถูกดำเนินคดีเพราะการแต่งตัว บางคนอาจเป็นเพียงผู้สนับสนุนการชุมนุมเท่านั้น แต่อีกด้านหนึ่งมีความเห็นว่าถ้าพฤติกรรมเข้าข่ายก็ถือว่ามีความผิด และกฎหมายฉบับนี้ยังจำเป็นเพื่อคุ้มครองประมุขของประเทศ
ฝ่ายค้านเตรียมหมัดน็อก รัฐบาลเตรียมรับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจปีหน้า
ตลอดปีที่ผ่านมา รัฐบาลอาจจะมีอุปสรรคทางการเมืองมากมาย โดยเฉพาะการชุมนุมทางการเมือง แต่ก็สามารถประคับประคองจนสามารถผ่านมาได้ตลอดปี 2563 แต่เมื่อข้ามปีมาในปี 2564 รัฐบาลต้องเตรียมรับมือกับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจจากฝ่ายค้าน ฝ่ายค้านอ้างว่ามีหมัดน็อกต้องช็อกแน่นอน และอาจอภิปรายรัฐมนตรีแบบรายบุคคล แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่าคะแนนเสียงของรัฐบาลในสภาเลยนัก น้ำมามากแล้ว ออาจทำให้รัฐบาลไม่กังวลกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจมากน้อย
แนวคิดไทยส่งยานอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ โจทย์ท้าทายเหตุผลและความจำเป็น
แนวคิดของไทยที่จะสร้างยานไปโคจรรอบดวงจันทร์ในอีก 7 ปีข้างหน้า ถูกวิจารณ์และตั้งคำถามถึงความจำเป็นในสภาวะทางเศรษฐกิจขณะนี้ แต่หากมองการแข่งขันเวทีโลก ดวงจันทร์เป็นสมรภูมิที่หลายประเทศพยายามจะแสดงศักยภาพที่แฝงนัยทางการเมืองและเศรษฐกิจโลก ในอดีตนาซาถูกตั้งคำถามถึงความจำเป็น แต่สามารถผ่านบทพิสูจน์สร้างองค์ความรู้กลายเป็นนวัตกรรมในปัจจุบัน โครงการด้านอวกาศจึงมีความท้าทาย หากภาครัฐเดินหน้าต้องตอบสังคมให้ชัดเจนถึงประโยชน์และความคุ้มค่า
ข้อกำหนดกรุงเทพฯ ครบรอบ 10 ปี โอกาสกลับตัวของผู้ต้องขังหญิง
อีกไม่กี่วันจะครบรอบ 10 ปี ที่สมัชชาสหประชาชาติ รับรองข้อกำหนดที่ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง เรียกว่า ข้อกำหนดกรุงเทพ หนึ่งในเป้าหมายของโครงการนี้คือการเปิดโอกาสให้ผู้พ้นโทษกลับมาใช้ชีวิตในสังคม มีงานทำ ไม่กลับไปทำผิดซ้ำ มีหน่วยงานกว่า 30 องค์กรพยายามผลักดันเรื่องนี้
ทั่วโลกสั่งจองวัคซีนโควิด-19 สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
จนถึงขณะนี้ ยอดสั่งจองวัคซีนโควิด-19 ล่วงหน้า สูงกว่า 7 พันล้านโดส ทั้งที่วัคซีนของบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนา หรือถึงแม้จะอนุมัติให้ใช้แล้ว อาจถูกตั้งคำถามเรื่องความปลอดภัย แต่ดูเหมือนหลายประเทศจะไม่รอแล้ว ต้องเดิมพันกับการระบาดที่ยังคงรุนแรง แต่การสั่งซื้อล่วงหน้าส่วนใหญ่เป็นประเทศมหาอำนาจ มีรายได้สูง ในขณะที่ประเทศรายได้ต่ำอาจจะยังเข้าไม่ถึง ซึ่งอาจชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของโลก ที่สะท้อนผ่านการจัดการโรคระบาดได้อย่างชัดเจน
เปิดแผนสิงคโปร์อนุมัติวัคซีนไฟเซอร์ชาติแรกของเอเชีย เร่งสร้างภูมิคุ้มกันฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ถึงแม้วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์และบียอนด์เทคจะมีต้นทุนในการขนส่งสูง เพราะต้องเก็บในอุณหภูมิต่ำกว่า -70 องศาเซลเเซียส และฐานการผลิตของวัคซีนอยู่ในสหรัฐอเมริกาและเยอรมนี แต่ไม่ใช่ปัญหาสำหรับสิงคโปร์ ที่ประกาศจะเป็นประเทศแรกในเอเชียที่จะอนุมัติวัคซีนของทั้งสองบริษัทนี้ โดยสิงคโปร์มีเป้าหมายว่าถ้าประชาชนมีภูมิคุ้มกัน จะทำให้เศรษฐกินฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง หลังซบเซาในช่วงการแผร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
Thai PBS World : ผลสำเร็จจากข้อกำหนดกรุงเทพฯ
ปีนี้ข้อกำหนดกรุงเทพอายุครบ 10 ปี แต่คนไทยจำนวนมากอาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร และทำไมต้องมีแนวทางปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง คุณณัฏฐา โกมลวาทิน คุยกับ ศ.พิเศษ กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อขอให้ย้อนรอยที่มาของข้อกำหนดกรุงเทพ ซึ่งน่าจะถือได้ว่าเป็นความภูมิใจร่วมกันของประเทศไทยที่ผลักดันเรื่องนี้ได้สำเร็จ
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live