เมื่อเราพูดถึงชาวอินเดียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงที่เชียงใหม่ มีจุดเริ่มต้นสำคัญจากการที่อังกฤษเข้าไปตั้งบริษัทชื่อว่า อิสต์ อินเดีย ซึ่งมีการผูกขาดการค้า และขยายอำนาจไปทั่วอนุทวีปอินเดีย จนกระทั่งยึดครองอินเดียได้เป็นผลสำเร็จในปี 2401
ผลจากการที่อังกฤษได้อินเดียเป็นอาณานิคม ทำให้ชาวอินเดียจำนวนมากเคลื่อนย้ายออกจากอินเดียไปยังประเทศต่าง ๆ ที่อังกฤษเข้าไปตั้งสถานีการค้า และเปิดบริษัทในฐานะคนในบังคับของอังกฤษ ซึ่งในช่วงเวลานั้นเองสยามได้ทำสนธิสัญญาเบาว์ริงทำให้การค้าขายกับชาวตะวันตกขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายไม้สักและของป่า ที่มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ทำให้มีชาวอินเดียเดินทางเข้ามาทำงาน และค้าขาย นับเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งถิ่นฐานของชาวคนอินเดียในเชียงใหม่
ชาวอินเดียกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาในเชียงใหม่โดยเฉพาะชาวซิกข์และชาวฮินดูจะตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณย่านวัดเกตการาม และตำบลช้างม่อย เนื่องจากชาวซิกข์และฮินดูในเวลานั้นส่วนมากจะทำอาชีพค้าขายผ้าอยู่ที่ตลาดวโรรส ซึ่งไม่ไกลจากบริเวณที่อยู่อาศัย ต่อมากลุ่มชาวซิกข์ก็ได้ตั้งคุรุดวาราหรือวัดซิกข์ขึ้นติดกับวัดเกตการาม มีทั้งชาวซิกข์ ชาวซิกข์นามธารี และชาวฮินดูไปประกอบศาสนกิจร่วมกัน
ปัจจุบันถึงแม้จะมีการแยกออกมาตั้งศาสนสถานของตัวเองตามหลักความเชื่อ มีวัดนามธารีของชาวซิกข์นามธารี มีวัดเทพมณเฑียรของชาวฮินดู แต่ทั้งชาวซิกข์ ชาวซิกนามธารี และชาวและฮินดู ก็ยังคงไปมาหาสู่กัน ไปร่วมกิจกรรมของทุกวัดโดยไม่มีการแบ่งแยก เพราะว่าพวกเขาทุกคนรับว่าตัวเองมีบรรพบุรุษมาจากที่เดียวกันและเป็นชาวไทย-อินเดียเหมือนกัน
ติดตามในรายการ จากรากสู่เรา ตอน คนซิกข์และฮินดู : อัตลักษณ์ ความสัมพันธ์และวัฒนธรรมล้านนา วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เมื่อเราพูดถึงชาวอินเดียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงที่เชียงใหม่ มีจุดเริ่มต้นสำคัญจากการที่อังกฤษเข้าไปตั้งบริษัทชื่อว่า อิสต์ อินเดีย ซึ่งมีการผูกขาดการค้า และขยายอำนาจไปทั่วอนุทวีปอินเดีย จนกระทั่งยึดครองอินเดียได้เป็นผลสำเร็จในปี 2401
ผลจากการที่อังกฤษได้อินเดียเป็นอาณานิคม ทำให้ชาวอินเดียจำนวนมากเคลื่อนย้ายออกจากอินเดียไปยังประเทศต่าง ๆ ที่อังกฤษเข้าไปตั้งสถานีการค้า และเปิดบริษัทในฐานะคนในบังคับของอังกฤษ ซึ่งในช่วงเวลานั้นเองสยามได้ทำสนธิสัญญาเบาว์ริงทำให้การค้าขายกับชาวตะวันตกขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายไม้สักและของป่า ที่มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ทำให้มีชาวอินเดียเดินทางเข้ามาทำงาน และค้าขาย นับเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งถิ่นฐานของชาวคนอินเดียในเชียงใหม่
ชาวอินเดียกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาในเชียงใหม่โดยเฉพาะชาวซิกข์และชาวฮินดูจะตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณย่านวัดเกตการาม และตำบลช้างม่อย เนื่องจากชาวซิกข์และฮินดูในเวลานั้นส่วนมากจะทำอาชีพค้าขายผ้าอยู่ที่ตลาดวโรรส ซึ่งไม่ไกลจากบริเวณที่อยู่อาศัย ต่อมากลุ่มชาวซิกข์ก็ได้ตั้งคุรุดวาราหรือวัดซิกข์ขึ้นติดกับวัดเกตการาม มีทั้งชาวซิกข์ ชาวซิกข์นามธารี และชาวฮินดูไปประกอบศาสนกิจร่วมกัน
ปัจจุบันถึงแม้จะมีการแยกออกมาตั้งศาสนสถานของตัวเองตามหลักความเชื่อ มีวัดนามธารีของชาวซิกข์นามธารี มีวัดเทพมณเฑียรของชาวฮินดู แต่ทั้งชาวซิกข์ ชาวซิกนามธารี และชาวและฮินดู ก็ยังคงไปมาหาสู่กัน ไปร่วมกิจกรรมของทุกวัดโดยไม่มีการแบ่งแยก เพราะว่าพวกเขาทุกคนรับว่าตัวเองมีบรรพบุรุษมาจากที่เดียวกันและเป็นชาวไทย-อินเดียเหมือนกัน
ติดตามในรายการ จากรากสู่เรา ตอน คนซิกข์และฮินดู : อัตลักษณ์ ความสัมพันธ์และวัฒนธรรมล้านนา วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live