การแต่งกายของคนไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ผู้คนส่วนใหญ่ยังคงนิยมนุ่งห่มด้วยผ้าผืน ต่อมาในสมัย ร.4 อิทธิพลการแต่งกายจากทางฝั่งตะวันตกเริ่มเข้าในกลุ่มชนชั้นสูง แต่เป็นเพียงการแต่งตัวไปถ่ายรูปหรือเพื่อความสวยงามเท่านั้น
การแต่งกายของคนไทยเริ่มปรับเปลี่ยนในรูปแบบตะวันตกอย่างชัดเจนในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการประกาศรัฐนิยมเพื่อกำหนดให้ประชาชนแต่งกายตามแบบสมัยใหม่ เช่น สวมหมวก สวมรองเท้า สวมกระโปรงแทนการนุ่งโจงกระเบน มีการเกิดขึ้นของ “ห้องเสื้อ” เนื่องจากผู้หญิงออกมาทำงานนอกบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านตัดเสื้อตามสั่งโดยได้แรงบันดาลใจมาจากดารา ภาพยนตร์และนิตยสารต่างประเทศ ต่อมาความเครื่องแต่งกายมีความเป็นแฟชั่นมากขึ้น ผู้คนเริ่มแต่งกายเพื่อแสดงอัตลักษณ์ของบุคคลจนเกิดสถานที่รวมตัวกันในยุค 80 อย่างสยามเซ็นเตอร์
ติดตามในรายการ จากรากสู่เรา ตอน ประวัติศาสตร์แฟชั่น จากผ้าแถบ และรัฐนิยม สู่ Y2K วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
การแต่งกายของคนไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ผู้คนส่วนใหญ่ยังคงนิยมนุ่งห่มด้วยผ้าผืน ต่อมาในสมัย ร.4 อิทธิพลการแต่งกายจากทางฝั่งตะวันตกเริ่มเข้าในกลุ่มชนชั้นสูง แต่เป็นเพียงการแต่งตัวไปถ่ายรูปหรือเพื่อความสวยงามเท่านั้น
การแต่งกายของคนไทยเริ่มปรับเปลี่ยนในรูปแบบตะวันตกอย่างชัดเจนในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการประกาศรัฐนิยมเพื่อกำหนดให้ประชาชนแต่งกายตามแบบสมัยใหม่ เช่น สวมหมวก สวมรองเท้า สวมกระโปรงแทนการนุ่งโจงกระเบน มีการเกิดขึ้นของ “ห้องเสื้อ” เนื่องจากผู้หญิงออกมาทำงานนอกบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านตัดเสื้อตามสั่งโดยได้แรงบันดาลใจมาจากดารา ภาพยนตร์และนิตยสารต่างประเทศ ต่อมาความเครื่องแต่งกายมีความเป็นแฟชั่นมากขึ้น ผู้คนเริ่มแต่งกายเพื่อแสดงอัตลักษณ์ของบุคคลจนเกิดสถานที่รวมตัวกันในยุค 80 อย่างสยามเซ็นเตอร์
ติดตามในรายการ จากรากสู่เรา ตอน ประวัติศาสตร์แฟชั่น จากผ้าแถบ และรัฐนิยม สู่ Y2K วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live