ชาวยะวา หรือคนจากเกาะชวา กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ชัดเจน กลุ่มของชาวยะวาเข้ามาในดินแดนสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเข้ามาทำการค้าขายและเป็นทหารอาสา แต่ยังไม่มีการตั้งเป็นชุมชนชาวยะวาที่ชัดเจน
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ชาวยะวาเข้ามาในสยาม เพื่อแสวงหาโอกาสการทำงานมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่ในเกาะชวาขณะนั้นตกอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา และได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีนัก รวมถึงในเรื่องของค่าแรงในสยามที่สูงกว่าในเกาะชวา จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเกาะชวา และได้ทอดพระเนตรเห็นสวนพฤกษศาสตร์ในเกาะชวา จึงได้มีการนำกลุ่มของช่างทำสวนชาวยะวาเข้ามาในสยาม เพื่อตกแต่งสวนในหลาย ๆ ที่ เช่น สนามหลวง พระราชวังดุสิต พระราชวังบางประอิน และสวนลุมพินี
ชาวยะวามีการตั้งชุมชนกระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ โดยส่วนมากจะอยู่ใกล้กับบริเวณที่ทำงาน เช่น บางลำพู สวนลุมพินี แต่ชุมชนชาวยะวาที่ใหญ่ที่สุด จะอยู่บริเวณถนนสาทร ในตรอกโรงน้ำแข็ง หรือในปัจจุบัน คือ ซอยเจริญราษฎร์ 1 ในปัจจุบัน พื้นที่ตรงนี้ยังคงมีคนเชื้อสายยะวาอาศัยอยู่ และยังคงสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม อย่างเช่น เรื่องของอาหารและการแต่งกาย เพื่อให้ยังสามารถดำรงตัวตนของตัวเองไว้ได้ ท่ามกลางสังคมที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ล้วนถูกผสมผสาน จนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรมไทย
ติดตามชมได้ในรายการ จากรากสู่เรา ตอน ชุมชนมัสยิดยะวา วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2565 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ชาวยะวา หรือคนจากเกาะชวา กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ชัดเจน กลุ่มของชาวยะวาเข้ามาในดินแดนสยามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเข้ามาทำการค้าขายและเป็นทหารอาสา แต่ยังไม่มีการตั้งเป็นชุมชนชาวยะวาที่ชัดเจน
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ชาวยะวาเข้ามาในสยาม เพื่อแสวงหาโอกาสการทำงานมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่ในเกาะชวาขณะนั้นตกอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลันดา และได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีนัก รวมถึงในเรื่องของค่าแรงในสยามที่สูงกว่าในเกาะชวา จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเกาะชวา และได้ทอดพระเนตรเห็นสวนพฤกษศาสตร์ในเกาะชวา จึงได้มีการนำกลุ่มของช่างทำสวนชาวยะวาเข้ามาในสยาม เพื่อตกแต่งสวนในหลาย ๆ ที่ เช่น สนามหลวง พระราชวังดุสิต พระราชวังบางประอิน และสวนลุมพินี
ชาวยะวามีการตั้งชุมชนกระจายตัวอยู่ในหลายพื้นที่ โดยส่วนมากจะอยู่ใกล้กับบริเวณที่ทำงาน เช่น บางลำพู สวนลุมพินี แต่ชุมชนชาวยะวาที่ใหญ่ที่สุด จะอยู่บริเวณถนนสาทร ในตรอกโรงน้ำแข็ง หรือในปัจจุบัน คือ ซอยเจริญราษฎร์ 1 ในปัจจุบัน พื้นที่ตรงนี้ยังคงมีคนเชื้อสายยะวาอาศัยอยู่ และยังคงสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม อย่างเช่น เรื่องของอาหารและการแต่งกาย เพื่อให้ยังสามารถดำรงตัวตนของตัวเองไว้ได้ ท่ามกลางสังคมที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ล้วนถูกผสมผสาน จนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า วัฒนธรรมไทย
ติดตามชมได้ในรายการ จากรากสู่เรา ตอน ชุมชนมัสยิดยะวา วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม 2565 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live