"พระประแดง" พื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สันนิษฐานจากรูปแบบของสถาปัตยกรรมของวัดต่าง ๆ โดยรอบเกาะกระเพาะหมู ในอดีตพระประแดงมีความสำคัญในการเป็นเมืองหน้าด่าน เป็นท่าเรือสินค้า และเป็นพื้นที่สำหรับรับศึกที่จะมายังพระนครจากทางทะเล ทำให้ในอดีตบริเวณพระประแดงจะมีป้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ป้อมแผลงไฟฟ้า ป้อมวิทยาคม ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย ในเวลาต่อมา สงครามที่จะมาสู่สยามลดน้อยลง ทำให้ความสำคัญของป้อมต่าง ๆ น้อยลงตามไปด้วย จึงได้มีการรื้อถอนป้อมออก เหลือเพียงป้อมแผลงไฟฟ้าบริเวณตลาดพระประแดงเพียงที่เดียว
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพระประแดงมีความหลากหลาย ทั้งในเรื่องเชื้อชาติและศาสนา ชาวมุสลิมที่บ้านปากลัด พระประแดงเองก็หนึ่งในกลุ่มที่อยู่บริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นผู้ที่เข้ามาทำการค้าในสยาม ซึ่งต่อมาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวมุสลิมอีกกลุ่มเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มเติมจากการถูกกวาดต้อน หลังสงครามสยาม - ตานี ทำให้ในปัจจุบันที่พระประแดงมีพี่น้องชาวมุสลิมอยู่เป็นจำนวนมาก ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้มีย้ายกลุ่มคนมอญจากเมืองสามโคก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 300 ครอบครัว มาอยู่ที่พระประแดง โดยทำหน้าที่เป็นทหารป้องกันพระนคร และเป็นผู้ส่งข่าวสาร ภายใต้การนำของพระยาเจ่ง (ต้นตระกูลคชเสนี) ปัจจุบันที่พระประแดงยังมีคนมอญอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของมอญเอาไว้ได้อย่างเข้มแข็ง
ติดตามชมได้ในรายการ จากรากสู่เรา ตอน จากพระประแดงถึงนครเขื่อนขันธ์ : นิวอัมเตอร์ดัมไทยแลนด์ วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"พระประแดง" พื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สันนิษฐานจากรูปแบบของสถาปัตยกรรมของวัดต่าง ๆ โดยรอบเกาะกระเพาะหมู ในอดีตพระประแดงมีความสำคัญในการเป็นเมืองหน้าด่าน เป็นท่าเรือสินค้า และเป็นพื้นที่สำหรับรับศึกที่จะมายังพระนครจากทางทะเล ทำให้ในอดีตบริเวณพระประแดงจะมีป้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ป้อมแผลงไฟฟ้า ป้อมวิทยาคม ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย ในเวลาต่อมา สงครามที่จะมาสู่สยามลดน้อยลง ทำให้ความสำคัญของป้อมต่าง ๆ น้อยลงตามไปด้วย จึงได้มีการรื้อถอนป้อมออก เหลือเพียงป้อมแผลงไฟฟ้าบริเวณตลาดพระประแดงเพียงที่เดียว
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพระประแดงมีความหลากหลาย ทั้งในเรื่องเชื้อชาติและศาสนา ชาวมุสลิมที่บ้านปากลัด พระประแดงเองก็หนึ่งในกลุ่มที่อยู่บริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นผู้ที่เข้ามาทำการค้าในสยาม ซึ่งต่อมาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวมุสลิมอีกกลุ่มเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มเติมจากการถูกกวาดต้อน หลังสงครามสยาม - ตานี ทำให้ในปัจจุบันที่พระประแดงมีพี่น้องชาวมุสลิมอยู่เป็นจำนวนมาก ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้มีย้ายกลุ่มคนมอญจากเมืองสามโคก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 300 ครอบครัว มาอยู่ที่พระประแดง โดยทำหน้าที่เป็นทหารป้องกันพระนคร และเป็นผู้ส่งข่าวสาร ภายใต้การนำของพระยาเจ่ง (ต้นตระกูลคชเสนี) ปัจจุบันที่พระประแดงยังมีคนมอญอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น และยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของมอญเอาไว้ได้อย่างเข้มแข็ง
ติดตามชมได้ในรายการ จากรากสู่เรา ตอน จากพระประแดงถึงนครเขื่อนขันธ์ : นิวอัมเตอร์ดัมไทยแลนด์ วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live