“คุก” สถานที่สำหรับคุมขังผู้ที่กระทำผิดกฎของสังคม ที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์ของโลกมายาวนานและในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน
ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมี “คุกหลวง” ตั้งอยู่ที่หน้าวัดโพธิ์ บริเวณที่หน่วยบัญชาการรักษาดินแดนในปัจจุบัน ด้านในคุกมีลักษณะเหมือนการจำลองนรกตามคติความเชื่อแบบไตรภูมิ มีการทรมาน เฆี่ยนตี และใช้แรงงานนักโทษ
จนกระทั่งปี 2413 รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต่างประเทศ และได้ทรงไปดูงานคุกแบบสมัยใหม่ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งต่อมาก็ได้นำเอาความรู้มาสร้าง “คุกสมัยใหม่” แห่งแรกของสยาม ที่บริเวณตรอกคำ ถนนมหาไชย ชื่อว่า “คุกกองมหันตโทษ” และสร้างคุกอีกแห่งหนึ่งในภายหลังเรียกว่า “คุกกองลหุโทษ” บริเวณสนามหลวง
เมื่อเมืองขยายตัวและเกิดปัญหาความแออัดภายในคุก จึงได้มีการสร้างคุกเพิ่มในภายหลังคือ “เรือนจำบางขวาง” และ “เรือนจำกลางคลองเปรม” ตามลำดับ
ติดตามชมได้ในรายการ จากรากสู่เรา ตอน ประวัติศาสตร์คุก วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
“คุก” สถานที่สำหรับคุมขังผู้ที่กระทำผิดกฎของสังคม ที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์ของโลกมายาวนานและในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน
ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมี “คุกหลวง” ตั้งอยู่ที่หน้าวัดโพธิ์ บริเวณที่หน่วยบัญชาการรักษาดินแดนในปัจจุบัน ด้านในคุกมีลักษณะเหมือนการจำลองนรกตามคติความเชื่อแบบไตรภูมิ มีการทรมาน เฆี่ยนตี และใช้แรงงานนักโทษ
จนกระทั่งปี 2413 รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต่างประเทศ และได้ทรงไปดูงานคุกแบบสมัยใหม่ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งต่อมาก็ได้นำเอาความรู้มาสร้าง “คุกสมัยใหม่” แห่งแรกของสยาม ที่บริเวณตรอกคำ ถนนมหาไชย ชื่อว่า “คุกกองมหันตโทษ” และสร้างคุกอีกแห่งหนึ่งในภายหลังเรียกว่า “คุกกองลหุโทษ” บริเวณสนามหลวง
เมื่อเมืองขยายตัวและเกิดปัญหาความแออัดภายในคุก จึงได้มีการสร้างคุกเพิ่มในภายหลังคือ “เรือนจำบางขวาง” และ “เรือนจำกลางคลองเปรม” ตามลำดับ
ติดตามชมได้ในรายการ จากรากสู่เรา ตอน ประวัติศาสตร์คุก วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live