เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในอดีตเป็นแผ่นดินรูปเกือกม้าที่ยื่นแหลมออกไปจรดกับแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่ง ปี 2265 มีการขุด “เกร็ด” หรือ เป็นคลองลัดแม่น้ำ เพื่อลดเวลาเดินทาง โดยเรียกว่า “คลองลัดเกร็ด” จึงทำให้แผ่นดินรูปเกือกม้ากลายเป็นเกาะกลางแม่น้ำอย่างในปัจจุบัน
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เกาะเกร็ดเป็นเมืองปากด่านที่สำคัญ เพราะบริเวณปากคลองลัดเกร็ดทางทิศใต้ หรือ บริเวณบ้านปากด่าน เป็นที่ตั้งของด่านขนอนหรือด่านเก็บภาษีเรือที่จะเดินทางเข้าออกกรุงศรีอยุธยา ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งชุมชน และ มีตลาดน้ำที่สำคัญบริเวณปากคลองบางตลาด
ในสมัยกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณปากคลองบ้านบางตลาด และต่อมาก็ได้เคลื่อนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเกาะเกร็ด จนเกิดเป็นชุมชนมอญขนาดใหญ่ และในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวมุสลิมที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ท่าอิฐ ยังได้ข้ามแม่น้ำมาตั้งชุมชนอยู่ในเกาะเกร็ดอีกด้วย ที่นี่จึงกลายเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่โดดเด่นอีกแห่งหนึ่งในแม่น้ำเจ้าพระยา
ในช่วงทศวรรษที่ 2530 เกาะเกร็ดมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม คนหนุ่มสาวออกจากเกาะเข้าไปทำงานในเมือง ในขณะเดียวกัน ชาวสวนชาวนาก็เลิกประกอบอาชีพ เพราะพื้นที่ถูกน้ำท่วมเสียหาย นอกจากนี้ ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาก็ซบเซาลงอีกด้วย เพราะมีผลิตภัณฑ์สมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ผนวกกับต้นทุนที่สูงขึ้นและดินเหนียวที่หาได้ยากขึ้น จึงทำให้ชาวบ้านค่อย ๆ เลิกประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผาไปในที่สุด
จนกระทั่ง ในช่วงปี 2540 เมื่อการท่องเที่ยวมีบทบาทในการหารายได้เข้าประเทศ ภาครัฐจึงผลักดันให้เกาะเกร็ดเป็นชุมชนท่องเที่ยว มีการฟื้นฟูรากวัฒนธรรมมอญมาเป็นจุดขาย นำเครื่องปั้นดินเผามาทำเป็นของที่ระลึก มีการจัดตั้งกลุ่ม OTOP สิ่งเหล่านี้ ทำให้เครื่องปั้นดินเผาได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง พร้อม ๆ กับการที่เกาะเกร็ดกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของจังหวัดนนทบุรีมาถึงปัจจุบัน
ติดตามได้ ในรายการจากรากสู่เรา ตอน เกาะเกร็ด จากเมืองปากด่าน สู่ชุมชนท่องเที่ยวกลางเจ้าพระยา วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 14.05 - 14.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในอดีตเป็นแผ่นดินรูปเกือกม้าที่ยื่นแหลมออกไปจรดกับแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่ง ปี 2265 มีการขุด “เกร็ด” หรือ เป็นคลองลัดแม่น้ำ เพื่อลดเวลาเดินทาง โดยเรียกว่า “คลองลัดเกร็ด” จึงทำให้แผ่นดินรูปเกือกม้ากลายเป็นเกาะกลางแม่น้ำอย่างในปัจจุบัน
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เกาะเกร็ดเป็นเมืองปากด่านที่สำคัญ เพราะบริเวณปากคลองลัดเกร็ดทางทิศใต้ หรือ บริเวณบ้านปากด่าน เป็นที่ตั้งของด่านขนอนหรือด่านเก็บภาษีเรือที่จะเดินทางเข้าออกกรุงศรีอยุธยา ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งชุมชน และ มีตลาดน้ำที่สำคัญบริเวณปากคลองบางตลาด
ในสมัยกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณปากคลองบ้านบางตลาด และต่อมาก็ได้เคลื่อนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเกาะเกร็ด จนเกิดเป็นชุมชนมอญขนาดใหญ่ และในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวมุสลิมที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ท่าอิฐ ยังได้ข้ามแม่น้ำมาตั้งชุมชนอยู่ในเกาะเกร็ดอีกด้วย ที่นี่จึงกลายเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่โดดเด่นอีกแห่งหนึ่งในแม่น้ำเจ้าพระยา
ในช่วงทศวรรษที่ 2530 เกาะเกร็ดมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม คนหนุ่มสาวออกจากเกาะเข้าไปทำงานในเมือง ในขณะเดียวกัน ชาวสวนชาวนาก็เลิกประกอบอาชีพ เพราะพื้นที่ถูกน้ำท่วมเสียหาย นอกจากนี้ ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาก็ซบเซาลงอีกด้วย เพราะมีผลิตภัณฑ์สมัยใหม่เข้ามาแทนที่ ผนวกกับต้นทุนที่สูงขึ้นและดินเหนียวที่หาได้ยากขึ้น จึงทำให้ชาวบ้านค่อย ๆ เลิกประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผาไปในที่สุด
จนกระทั่ง ในช่วงปี 2540 เมื่อการท่องเที่ยวมีบทบาทในการหารายได้เข้าประเทศ ภาครัฐจึงผลักดันให้เกาะเกร็ดเป็นชุมชนท่องเที่ยว มีการฟื้นฟูรากวัฒนธรรมมอญมาเป็นจุดขาย นำเครื่องปั้นดินเผามาทำเป็นของที่ระลึก มีการจัดตั้งกลุ่ม OTOP สิ่งเหล่านี้ ทำให้เครื่องปั้นดินเผาได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง พร้อม ๆ กับการที่เกาะเกร็ดกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมของจังหวัดนนทบุรีมาถึงปัจจุบัน
ติดตามได้ ในรายการจากรากสู่เรา ตอน เกาะเกร็ด จากเมืองปากด่าน สู่ชุมชนท่องเที่ยวกลางเจ้าพระยา วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 14.05 - 14.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live