เครือข่ายศาสตร์พระราชา ปลูกวันแม่ในที่ดินของพ่อ
คุณบุศย์สิรินทร์ ยิ่งเกียรติกุล จะพาคุณผู้ชม กลับไปยังสถานที่ที่เป็นจุดกำเนิดเกษตรทฤษฏีใหม่ ที่วัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี ที่นั่นมีการเปิดหลักสูตรให้ผู้ที่สนใจมาเรียนรู้และสานต่อ ศาสตร์พระราชา และเกษตรทฤษฏีใหม่
"กษัตริย์ภูฏาน - ในหลวง ร.9" ความผูกพันที่มากกว่ามิตรประเทศ
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน ทรงเคารพรัก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอย่างมาก ในฐานะเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศ และเมื่อทรงทราบข่าวการเสด็จสวรรคต นอกจากจะเสด็จพระราชดำเนินมาประเทศไทยด้วยพระองค์เอง ยังทรงมีพระกระแสรับสั่งให้ภูฏานจัดพิธีสวดมนต์ทั่วประเทศถึง 7 วัน ซึ่งคุณวรลักษณ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้ไปร่วมพิธีนี้ที่ประเทศภูฎาณมาด้วย และพิธีนี้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อจิตใจของคนไทย ที่ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศภูฏาน ในช่วงเวลาแห่งความสูญเสีย
ซุ้มถวายดอกไม้จันทน์ในกรุงเทพฯ
คุณวันวิสาข์ ทินวัฒน์ ได้ไปติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างซุ้ม ซึ่งกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วร้อยละ 20
๙ ทรงนำ ทำอย่างพ่อ : นักเรียนเรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง
เป็นภาพของนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่จังหวัดลำพูน โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนประจำหญิงล้วน ที่โรงเรียนมีกฎสำคัญข้อหนึ่ง คือ นักเรียนทุกคนต้องไม่นำโทรศัพท์มือถือมาด้วย ทำให้ตอนสมัครเรียน หลายคนก็กลุ้มใจไปตามๆกัน บางคนตัดสินใจไม่มาเรียนที่นี่ แต่หลายคนก็ยอมเซ็นสัญญายอมรับข้อตกลง ผลดีที่น้องไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ คือ โรงเรียนประหยัดค่าไฟได้ถึง เดือนละกว่า 5 หมื่นบาท เพราะโรงเรียนนี้มีนักเรียนเกือบ 400 คน และนักเรียนก็ไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต และ ไม่ต้องเสียเงินซื้อโทรศัพท์ เป็นการน้อมนำแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในชีวิตจริง
โรงเรียนเเห่งขุนเขา
ด้วยเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จบ้านขอบด้ง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ได้มีพระราชดำรัส ฝากดูเเลเด็กชาวเขา แก่ครูเรียม สิงห์ทร ครูโรงเรียนบ้าน ขอบด้ง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2535 สร้างความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เเก่คณะครูบนดอยอ่างขางที่เฝ้ารับเสด็จ
สำหรับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบนดอยอ่างขาง ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เหมือนโรงเรียนทั่วไป เเต่ประสบปัญหาเรื่องการสื่อสาร เนื่องจากการไม่ใช้ภาษาไทย ในการสื่อสาร ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธ์ ทำให้ผลการเรียนในภาพรวมต่ำกว่ามาตราฐาน ทางผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 5 เเห่ง บนดอยอ่างขาง จึงได้ร่วมตัวสร้างต้นเเบบ เครือข่าย "อ่างขางโมเดล" เพื่อการทำงานร่วมกัน ในการดำเนินการ
ติดตามชมรายการแสงจากพ่อ สู่ความยั่งยืน ทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เครือข่ายศาสตร์พระราชา ปลูกวันแม่ในที่ดินของพ่อ
คุณบุศย์สิรินทร์ ยิ่งเกียรติกุล จะพาคุณผู้ชม กลับไปยังสถานที่ที่เป็นจุดกำเนิดเกษตรทฤษฏีใหม่ ที่วัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี ที่นั่นมีการเปิดหลักสูตรให้ผู้ที่สนใจมาเรียนรู้และสานต่อ ศาสตร์พระราชา และเกษตรทฤษฏีใหม่
"กษัตริย์ภูฏาน - ในหลวง ร.9" ความผูกพันที่มากกว่ามิตรประเทศ
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน ทรงเคารพรัก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอย่างมาก ในฐานะเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศ และเมื่อทรงทราบข่าวการเสด็จสวรรคต นอกจากจะเสด็จพระราชดำเนินมาประเทศไทยด้วยพระองค์เอง ยังทรงมีพระกระแสรับสั่งให้ภูฏานจัดพิธีสวดมนต์ทั่วประเทศถึง 7 วัน ซึ่งคุณวรลักษณ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้ไปร่วมพิธีนี้ที่ประเทศภูฎาณมาด้วย และพิธีนี้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อจิตใจของคนไทย ที่ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศภูฏาน ในช่วงเวลาแห่งความสูญเสีย
ซุ้มถวายดอกไม้จันทน์ในกรุงเทพฯ
คุณวันวิสาข์ ทินวัฒน์ ได้ไปติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างซุ้ม ซึ่งกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วร้อยละ 20
๙ ทรงนำ ทำอย่างพ่อ : นักเรียนเรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง
เป็นภาพของนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่จังหวัดลำพูน โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนประจำหญิงล้วน ที่โรงเรียนมีกฎสำคัญข้อหนึ่ง คือ นักเรียนทุกคนต้องไม่นำโทรศัพท์มือถือมาด้วย ทำให้ตอนสมัครเรียน หลายคนก็กลุ้มใจไปตามๆกัน บางคนตัดสินใจไม่มาเรียนที่นี่ แต่หลายคนก็ยอมเซ็นสัญญายอมรับข้อตกลง ผลดีที่น้องไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ คือ โรงเรียนประหยัดค่าไฟได้ถึง เดือนละกว่า 5 หมื่นบาท เพราะโรงเรียนนี้มีนักเรียนเกือบ 400 คน และนักเรียนก็ไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต และ ไม่ต้องเสียเงินซื้อโทรศัพท์ เป็นการน้อมนำแนวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในชีวิตจริง
โรงเรียนเเห่งขุนเขา
ด้วยเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จบ้านขอบด้ง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ได้มีพระราชดำรัส ฝากดูเเลเด็กชาวเขา แก่ครูเรียม สิงห์ทร ครูโรงเรียนบ้าน ขอบด้ง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2535 สร้างความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เเก่คณะครูบนดอยอ่างขางที่เฝ้ารับเสด็จ
สำหรับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบนดอยอ่างขาง ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เหมือนโรงเรียนทั่วไป เเต่ประสบปัญหาเรื่องการสื่อสาร เนื่องจากการไม่ใช้ภาษาไทย ในการสื่อสาร ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธ์ ทำให้ผลการเรียนในภาพรวมต่ำกว่ามาตราฐาน ทางผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 5 เเห่ง บนดอยอ่างขาง จึงได้ร่วมตัวสร้างต้นเเบบ เครือข่าย "อ่างขางโมเดล" เพื่อการทำงานร่วมกัน ในการดำเนินการ
ติดตามชมรายการแสงจากพ่อ สู่ความยั่งยืน ทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live