ศาสตร์พระราชากับการจัดการน้ำชุมชน
การบริหารจัดการน้ำ เป็นหนึ่งใน พระราชกรณียกิจที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงสนพระราชหฤทัย และมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำกระจายอยู่ทั่วประเทศ หลายโครงการที่พระองค์ได้ทรงริเริ่มไว้ วันนี้กำลังมีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำตามศาสตร์พระราชา โดยมุ่งประโยชน์สุดท้ายไปความเป็นอยู่ของประชาชนค่ะ คุณนิตยา กีรติเสริมสิน เดินทางไปที่จังหวัดเชียงรายเพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการเรื่องนี้
ประติมากรรมสุนัขทรงเลี้ยง
1 ในประติมากรรมที่จัดสร้างเป็นพิเศษ ประดับพระเมรุมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ สุนัขทรงเลี้ยง คุณทองแดง และคุณโจโฉ คุณกริษฐา ดีมี ได้ไปติดตามความคืบหน้าที่ขณะนี้ ประติมากร ใช้โรงปั้นส่วนตัวจัดสร้างผลงานชิ้นนี้อยู่ และขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว
๙ ทรงนำ ทำอย่างพ่อ : อ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริชุบชีวิตชุมชน
ภาพวันนี้เป็นภาพของ คุณศรีล้วน ศรีบุรี อดีตกำนันตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย และเป็นอดีตผู้นำชาวบ้านที่พยายามช่วยให้ทุกคนรอดพ้นจากปัญหาภัยแล้ง ที่ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพไปขายแรงงานต่างถิ่น คุณศรีล้วน จึงถวายฎีกาขอพระราชทานอ่างเก็บน้ำไปถึงในหลวง รัชกาลที่ 9 หลังจากนั้น 1 ปี ก็เกิดโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ข้าวต้มท่าสุด อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น และอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ ได้เปลี่ยนชีวิตของเขาและชาวบ้านโดยรอบนับแต่นั้นเป็นต้นมา
เกษตรกรของพระราชา ต้นกล้าของชุมชน
อุ้ม คนึงนิตย์ ชะนะโม คือ วัยรุ่นคนหนึ่งที่เกิดในครอบครัวเกษตรกร เมื่อเรียนจบเธอตั้งใจจะใช้ชีวิตและทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เพราะความจำเป็นเธอจึงต้องทิ้งชีวิตที่เคยฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยกลับบ้านเกิดในจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยเงินสดติดตัวเพียงหมื่นกว่าบาท อุ้มตัดสินใจหันเหชีวิตมาเป็นเกษตรกร เดินตามรอยศาสตร์พระราชา เปลี่ยนแรงเสียดทานคัดค้านจากคนในครอบครัวและชุมชนให้กลายเป็นพลัง จนกระทั่งเธอได้รู้จักกับความพอเพียง ครอบครัวของอุ้มมีรายได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ การใช้ชีวิตแบบพออยู่ พอกิน พอประมาณ ทำให้เธอและครอบครัวมีความสุขอย่างแท้จริงโดยไม่ต้องร่ำรวยทองเงินทอง
จากนี้ไป การเสียสละและเป็นที่พึ่งพาของผู้อื่น คือจุดมุ่งหมายที่เธอตั้งมั่น นี่คือเหตุผลที่อุ้มก่อตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 9 ดีขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงแก่ชาวบ้านในชุมชนและคนต่างถิ่นที่สนใจ การเผยแพร่ศาสตร์พระราชาให้กว้างไกลออกไป คืองานสำคัญที่อุ้มตั้งใจจะทำให้สำเร็จไม่ว่าจะต้องเหน็ดเหนื่อยเพียงใดก็ตาม
ติดตามชมรายการแสงจากพ่อ สู่ความยั่งยืน ทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ศาสตร์พระราชากับการจัดการน้ำชุมชน
การบริหารจัดการน้ำ เป็นหนึ่งใน พระราชกรณียกิจที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงสนพระราชหฤทัย และมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำกระจายอยู่ทั่วประเทศ หลายโครงการที่พระองค์ได้ทรงริเริ่มไว้ วันนี้กำลังมีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำตามศาสตร์พระราชา โดยมุ่งประโยชน์สุดท้ายไปความเป็นอยู่ของประชาชนค่ะ คุณนิตยา กีรติเสริมสิน เดินทางไปที่จังหวัดเชียงรายเพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการเรื่องนี้
ประติมากรรมสุนัขทรงเลี้ยง
1 ในประติมากรรมที่จัดสร้างเป็นพิเศษ ประดับพระเมรุมาศ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ สุนัขทรงเลี้ยง คุณทองแดง และคุณโจโฉ คุณกริษฐา ดีมี ได้ไปติดตามความคืบหน้าที่ขณะนี้ ประติมากร ใช้โรงปั้นส่วนตัวจัดสร้างผลงานชิ้นนี้อยู่ และขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว
๙ ทรงนำ ทำอย่างพ่อ : อ่างเก็บน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริชุบชีวิตชุมชน
ภาพวันนี้เป็นภาพของ คุณศรีล้วน ศรีบุรี อดีตกำนันตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย และเป็นอดีตผู้นำชาวบ้านที่พยายามช่วยให้ทุกคนรอดพ้นจากปัญหาภัยแล้ง ที่ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพไปขายแรงงานต่างถิ่น คุณศรีล้วน จึงถวายฎีกาขอพระราชทานอ่างเก็บน้ำไปถึงในหลวง รัชกาลที่ 9 หลังจากนั้น 1 ปี ก็เกิดโครงการอ่างเก็บน้ำแม่ข้าวต้มท่าสุด อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น และอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ ได้เปลี่ยนชีวิตของเขาและชาวบ้านโดยรอบนับแต่นั้นเป็นต้นมา
เกษตรกรของพระราชา ต้นกล้าของชุมชน
อุ้ม คนึงนิตย์ ชะนะโม คือ วัยรุ่นคนหนึ่งที่เกิดในครอบครัวเกษตรกร เมื่อเรียนจบเธอตั้งใจจะใช้ชีวิตและทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เพราะความจำเป็นเธอจึงต้องทิ้งชีวิตที่เคยฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยกลับบ้านเกิดในจังหวัดบุรีรัมย์ด้วยเงินสดติดตัวเพียงหมื่นกว่าบาท อุ้มตัดสินใจหันเหชีวิตมาเป็นเกษตรกร เดินตามรอยศาสตร์พระราชา เปลี่ยนแรงเสียดทานคัดค้านจากคนในครอบครัวและชุมชนให้กลายเป็นพลัง จนกระทั่งเธอได้รู้จักกับความพอเพียง ครอบครัวของอุ้มมีรายได้จากการทำเกษตรอินทรีย์ การใช้ชีวิตแบบพออยู่ พอกิน พอประมาณ ทำให้เธอและครอบครัวมีความสุขอย่างแท้จริงโดยไม่ต้องร่ำรวยทองเงินทอง
จากนี้ไป การเสียสละและเป็นที่พึ่งพาของผู้อื่น คือจุดมุ่งหมายที่เธอตั้งมั่น นี่คือเหตุผลที่อุ้มก่อตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 9 ดีขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงแก่ชาวบ้านในชุมชนและคนต่างถิ่นที่สนใจ การเผยแพร่ศาสตร์พระราชาให้กว้างไกลออกไป คืองานสำคัญที่อุ้มตั้งใจจะทำให้สำเร็จไม่ว่าจะต้องเหน็ดเหนื่อยเพียงใดก็ตาม
ติดตามชมรายการแสงจากพ่อ สู่ความยั่งยืน ทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live