สิ่งที่สำคัญที่สุดในการส่งเสริมให้ผู้สูงวัยทำงาน มีรายได้ของตนเอง คือการเปลี่ยนมุมมองของสังคม ให้ตระหนักเห็นว่าผู้สูงอายุเป็น "พลัง" สำคัญของประเทศ มิใช่ "ภาระ" ที่รอคอยให้สังคมยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ หรือเป็นเพียงผู้รอรับสวัสดิการเพียงอย่างเดียว
GenO(LD) สูงวัยไปด้วยกัน จะพาไปพบกับผู้สูงวัยที่ได้รับโอกาสขยายอายุการทำงาน ป้าสงัด อายุ 71 ปี แม่บ้านประจำสถาบันวิจัยสังคม และลุงบุญมาอายุ 72 ปี เป็นนักการภารโรงของคณะสถาปัตยกรรมฯ เป็นตัวอย่างพนักงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้รับ "โอกาส" ในการขยายอายุการทำงานหลังจากเกษียณอายุในวัย 60 ปี เช่นเดียวกับพนักงานของมหาวิทยาลัยอีกหลายๆ ตำแหน่งหน้าที่กว่า 70 คนที่รับโอกาสเช่นเดียวกัน
และแม้ผู้สูงวัยอย่างป้าทองสุข วัย 72 ปี ที่แม้จะไม่สามารถทำงานในระบบได้ เนื่องจากป่วยเป็นโรคไต ต้องไปฟอกไต อาทิตย์ละ 3 วัน แต่การที่ป้าได้รับโอกาสจากหลานๆ ที่ให้ทำอาหารให้ รวมทั้งการงานเล็กๆ น้อยๆ ที่พอจะสร้างรายให้ตนเองได้ ทำให้ผู้ป่วยอย่างป้าดูกระปรี้กระเปร่า ถ้าไม่บอกว่าป้าป่วยเป็นโรคไตก็ดูไม่ออก ที่สำคัญคือการทำงานทำให้ป้าไม่รู้สึกเหงา และมีความสุขที่สามารถหาเงินได้ด้วยตนเอง
แม้งานเหล่านั้น อาจไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่ยิ่งใหญ่ในสายตาของคนทั่วไป แต่การที่พวกท่านได้แสดงศักยภาพ ทำงานที่รัก จะทำให้เราเห็นถึง "พลัง" ที่ฉายออกมา การไม่ต้องเป็นภาระของลูกหลาน สามารถสร้างความมั่นคงทางรายได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรู้สึกภูมิใจในตนเอง รู้สึกถึงคุณค่า และศักดิ์ศรีในตัวเอง นอกจากนี้ยังช่วยให้พวกท่าน "ไม่เหงา" ป้องกันการเป็นโรคซึมเศร้าอันจะเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ ที่อาจตามมาได้อีกด้วย
จากนั้นจะพาไปพบกับผู้สูงวัยที่ "ไม่มีโอกาส" จะรับโอกาสในการทำงานอีกต่อไป เนื่องจากการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ป้าเสาวภาอายุ 71 ปี ที่เริ่มป่วยเป็นอัลไซต์เมอร์ระยะต้นมาประมาณ 3 ปีแล้ว ภาระการดูแลจึงตกเป็นของแป๋ว ลูกสาววัย 35 ปี ที่มีอีกบทบาทเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องดูแลลูกวัย 11 ขวบ การเป็นชนชั้นกลางที่ต้องรับบทบาทลูกที่ต้องดูแลแม่สูงวัยให้มีความสุข และบทบาทของแม่ที่ต้องการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก เธอต้องมีวิธีจัดการกับชีวิตและความรู้สึกอย่างไร เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิตตัวเอง และทำบทบาททั้งสองให้ดีที่สุดเท่าที่ชนชั้นกลางพนักงานออฟฟิศคนหนึ่งจะทำได้
ติดตามชมได้ในรายการ GenO(LD) สูงวัยไปด้วยกัน วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการส่งเสริมให้ผู้สูงวัยทำงาน มีรายได้ของตนเอง คือการเปลี่ยนมุมมองของสังคม ให้ตระหนักเห็นว่าผู้สูงอายุเป็น "พลัง" สำคัญของประเทศ มิใช่ "ภาระ" ที่รอคอยให้สังคมยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ หรือเป็นเพียงผู้รอรับสวัสดิการเพียงอย่างเดียว
GenO(LD) สูงวัยไปด้วยกัน จะพาไปพบกับผู้สูงวัยที่ได้รับโอกาสขยายอายุการทำงาน ป้าสงัด อายุ 71 ปี แม่บ้านประจำสถาบันวิจัยสังคม และลุงบุญมาอายุ 72 ปี เป็นนักการภารโรงของคณะสถาปัตยกรรมฯ เป็นตัวอย่างพนักงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้รับ "โอกาส" ในการขยายอายุการทำงานหลังจากเกษียณอายุในวัย 60 ปี เช่นเดียวกับพนักงานของมหาวิทยาลัยอีกหลายๆ ตำแหน่งหน้าที่กว่า 70 คนที่รับโอกาสเช่นเดียวกัน
และแม้ผู้สูงวัยอย่างป้าทองสุข วัย 72 ปี ที่แม้จะไม่สามารถทำงานในระบบได้ เนื่องจากป่วยเป็นโรคไต ต้องไปฟอกไต อาทิตย์ละ 3 วัน แต่การที่ป้าได้รับโอกาสจากหลานๆ ที่ให้ทำอาหารให้ รวมทั้งการงานเล็กๆ น้อยๆ ที่พอจะสร้างรายให้ตนเองได้ ทำให้ผู้ป่วยอย่างป้าดูกระปรี้กระเปร่า ถ้าไม่บอกว่าป้าป่วยเป็นโรคไตก็ดูไม่ออก ที่สำคัญคือการทำงานทำให้ป้าไม่รู้สึกเหงา และมีความสุขที่สามารถหาเงินได้ด้วยตนเอง
แม้งานเหล่านั้น อาจไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่ยิ่งใหญ่ในสายตาของคนทั่วไป แต่การที่พวกท่านได้แสดงศักยภาพ ทำงานที่รัก จะทำให้เราเห็นถึง "พลัง" ที่ฉายออกมา การไม่ต้องเป็นภาระของลูกหลาน สามารถสร้างความมั่นคงทางรายได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรู้สึกภูมิใจในตนเอง รู้สึกถึงคุณค่า และศักดิ์ศรีในตัวเอง นอกจากนี้ยังช่วยให้พวกท่าน "ไม่เหงา" ป้องกันการเป็นโรคซึมเศร้าอันจะเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ ที่อาจตามมาได้อีกด้วย
จากนั้นจะพาไปพบกับผู้สูงวัยที่ "ไม่มีโอกาส" จะรับโอกาสในการทำงานอีกต่อไป เนื่องจากการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ป้าเสาวภาอายุ 71 ปี ที่เริ่มป่วยเป็นอัลไซต์เมอร์ระยะต้นมาประมาณ 3 ปีแล้ว ภาระการดูแลจึงตกเป็นของแป๋ว ลูกสาววัย 35 ปี ที่มีอีกบทบาทเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องดูแลลูกวัย 11 ขวบ การเป็นชนชั้นกลางที่ต้องรับบทบาทลูกที่ต้องดูแลแม่สูงวัยให้มีความสุข และบทบาทของแม่ที่ต้องการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก เธอต้องมีวิธีจัดการกับชีวิตและความรู้สึกอย่างไร เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิตตัวเอง และทำบทบาททั้งสองให้ดีที่สุดเท่าที่ชนชั้นกลางพนักงานออฟฟิศคนหนึ่งจะทำได้
ติดตามชมได้ในรายการ GenO(LD) สูงวัยไปด้วยกัน วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมสดผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live