เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นแนวเขตธรรมชาติที่กั้นระหว่างอินเดียและจีน เป็นจุดร้อนที่ความขัดแย้งอันยาวนานระหว่างสองมหาอํานาจแห่งเอเชียปะทุกขึ้นอย่างยาวนาน ความขัดแย้งด้านเขตแดนที่ทอดยาวกว่า 4,000 กิโลเมตรนี้ มีมิติที่สลับซับซ้อนและส่งผลกระทบไปยังความมั่นคงและเสถียรภาพของทั้งภูมิภาค
ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและจีนมีรากเหง้าที่ยาวนาน ย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงที่ทั้งสองประเทศกําลังก่อรูปร่างเป็นรัฐชาติในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1947 อินเดียประกาศเอกราช และ 2 ปีต่อมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็สถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน
ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและจีนยังรุนแรงขึ้นเมื่อมีการพิพาทเรื่องเขตแดนบนเทือกเขาหิมาลัย ทั้งสองประเทศอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ดินแดนเดียวกัน โดยใช้เส้นแบ่งเขตแดนของอังกฤษในอดีตเป็นหลักฐาน ซึ่งทําให้เกิดความสับสนและขัดแย้งกันเรื่องเส้นเขตแดนที่แท้จริง ดินแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิ์คือ อาร์กไซซิน ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบสูงทิเบต ความขัดแย้งในพื้นที่นี้นําไปสู่การปะทะกันทางทหารครั้งใหญ่เมื่อปี 1962 และยังคงเป็นจุดร้อนที่มีความตึงเครียดอยู่ตลอดมา
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและจีนบนเทือกเขาหิมาลัยได้เลวร้ายลง จนนําไปสู่การปะทะกันทางทหารที่รุนแรงในหุบเขากาลวานเมื่อปี 2020 ซึ่งส่งผลให้มีทหารอินเดียเสียชีวิต 20 นาย สถานการณ์ในขณะนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความตึงเครียดที่ยังคงดํารงอยู่ ทั้งสองฝ่ายต่างเร่งเครื่องเสริมกําลังทางทหารและสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการทหารตามแนวชายแดน เพื่อประกาศความเป็นเจ้าของพื้นที่
แม้ว่าความขัดแย้งระหว่างอินเดียและจีนจะยืดเยื้อมานาน แต่ทั้งสองประเทศก็ยังคงพยายามหาทางออกผ่านการเจรจา เนื่องจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ผูกโยงกันอยู่ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเพื่อลดความตึงเครียดตามแนวชายแดน อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งในพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่ซับซ้อนนี้ ยังคงเป็นความเสี่ยงที่อาจนําไปสู่การปะทะหรือสงครามใหญ่ในอนาคต หากทั้งสองประเทศไม่สามารถหาทางออกที่ยั่งยืนได้
ติดตามได้ ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น วันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นแนวเขตธรรมชาติที่กั้นระหว่างอินเดียและจีน เป็นจุดร้อนที่ความขัดแย้งอันยาวนานระหว่างสองมหาอํานาจแห่งเอเชียปะทุกขึ้นอย่างยาวนาน ความขัดแย้งด้านเขตแดนที่ทอดยาวกว่า 4,000 กิโลเมตรนี้ มีมิติที่สลับซับซ้อนและส่งผลกระทบไปยังความมั่นคงและเสถียรภาพของทั้งภูมิภาค
ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและจีนมีรากเหง้าที่ยาวนาน ย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงที่ทั้งสองประเทศกําลังก่อรูปร่างเป็นรัฐชาติในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1947 อินเดียประกาศเอกราช และ 2 ปีต่อมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็สถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน
ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและจีนยังรุนแรงขึ้นเมื่อมีการพิพาทเรื่องเขตแดนบนเทือกเขาหิมาลัย ทั้งสองประเทศอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ดินแดนเดียวกัน โดยใช้เส้นแบ่งเขตแดนของอังกฤษในอดีตเป็นหลักฐาน ซึ่งทําให้เกิดความสับสนและขัดแย้งกันเรื่องเส้นเขตแดนที่แท้จริง ดินแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิ์คือ อาร์กไซซิน ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบสูงทิเบต ความขัดแย้งในพื้นที่นี้นําไปสู่การปะทะกันทางทหารครั้งใหญ่เมื่อปี 1962 และยังคงเป็นจุดร้อนที่มีความตึงเครียดอยู่ตลอดมา
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและจีนบนเทือกเขาหิมาลัยได้เลวร้ายลง จนนําไปสู่การปะทะกันทางทหารที่รุนแรงในหุบเขากาลวานเมื่อปี 2020 ซึ่งส่งผลให้มีทหารอินเดียเสียชีวิต 20 นาย สถานการณ์ในขณะนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความตึงเครียดที่ยังคงดํารงอยู่ ทั้งสองฝ่ายต่างเร่งเครื่องเสริมกําลังทางทหารและสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการทหารตามแนวชายแดน เพื่อประกาศความเป็นเจ้าของพื้นที่
แม้ว่าความขัดแย้งระหว่างอินเดียและจีนจะยืดเยื้อมานาน แต่ทั้งสองประเทศก็ยังคงพยายามหาทางออกผ่านการเจรจา เนื่องจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ผูกโยงกันอยู่ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเพื่อลดความตึงเครียดตามแนวชายแดน อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งในพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่ซับซ้อนนี้ ยังคงเป็นความเสี่ยงที่อาจนําไปสู่การปะทะหรือสงครามใหญ่ในอนาคต หากทั้งสองประเทศไม่สามารถหาทางออกที่ยั่งยืนได้
ติดตามได้ ในรายการ FLASHPOINT จุดร้อนโลก ตอน จุดร้อนบนเทือกเขาหิมาลัยอันเยือกเย็น วันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 เวลา 21.30 - 21.55 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live