วันนี้ (28 มิ.ย. 67) มีการเสวนาของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พูดคุยถึงปัญหาการเลือก สว.ชุดใหม่ และ ข้อสังเกตการฮั้วระหว่างผู้สมัคร อย่าง รศ. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต นักวิชาการรัฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มองระบบป้องกันการฮั้วเลือก สว. ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง พร้อมอ้างถึงคะแนนจัดตั้ง โดยเครือข่ายนักการเมือง-ผู้มีอิทธิพล ที่อาจเรียกว่าเครือข่ายสีน้ำเงิน มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับคนบางกลุ่มในสังคมไทย
ขณะที่ ผศ. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ มองในภาพรวม สว.ชุด 2567 ดีกว่า สว.ชุดปัจจุบัน ที่อยู่ภายใต้ คสช.
ด้าน ทีมงานไอลอว์ ที่เข้าสังเกตการณ์การเลือก สว.ทุกขั้นตอน เปิดข้อสังเกตผลการเลือก สว.พบว่า มีเพียงกลุ่มคะแนนสูง และกลุ่มคะแนนต่ำมาก โดยไม่มีคะแนนตรงกลาง บางจังหวัดมีคะแนนเป็นกลุ่มก้อนย่างชัดเจน รวมถึงพบปัญหาเรื่องคุณสมบัติผู้สมัคร และผู้ที่ได้เป็น สว.หลายคน ไม่ตรงกับกลุ่มอาชีพ จึงเรียกร้องให้ กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติย้อนหลัง
วันนี้ (28 มิ.ย. 67) มีการเสวนาของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พูดคุยถึงปัญหาการเลือก สว.ชุดใหม่ และ ข้อสังเกตการฮั้วระหว่างผู้สมัคร อย่าง รศ. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต นักวิชาการรัฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มองระบบป้องกันการฮั้วเลือก สว. ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง พร้อมอ้างถึงคะแนนจัดตั้ง โดยเครือข่ายนักการเมือง-ผู้มีอิทธิพล ที่อาจเรียกว่าเครือข่ายสีน้ำเงิน มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับคนบางกลุ่มในสังคมไทย
ขณะที่ ผศ. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ มองในภาพรวม สว.ชุด 2567 ดีกว่า สว.ชุดปัจจุบัน ที่อยู่ภายใต้ คสช.
ด้าน ทีมงานไอลอว์ ที่เข้าสังเกตการณ์การเลือก สว.ทุกขั้นตอน เปิดข้อสังเกตผลการเลือก สว.พบว่า มีเพียงกลุ่มคะแนนสูง และกลุ่มคะแนนต่ำมาก โดยไม่มีคะแนนตรงกลาง บางจังหวัดมีคะแนนเป็นกลุ่มก้อนย่างชัดเจน รวมถึงพบปัญหาเรื่องคุณสมบัติผู้สมัคร และผู้ที่ได้เป็น สว.หลายคน ไม่ตรงกับกลุ่มอาชีพ จึงเรียกร้องให้ กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติย้อนหลัง