บ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ที่หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการามสร้างโดยแบ่งพื้นที่ให้ชาวบ้านเช่าแผงขายสินค้า เมื่อปี 2528 มีกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งก็คือกรรมการวัดวังก์วิเวการาม เป็นผู้ดำเนินการดูแลตลาดและระบบการเช่าแผง
ชาวมอญในพื้นที่มีสถานะ "ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า" หรือ "ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า" รัฐไทยผ่อนผันให้อยู่ได้ชั่วคราว สามารถทำงานได้ ชาวบ้านยังแต่งกายแบบมอญ มีอาหารการกินแบบมอญ ความยึดมั่นในพุทธศาสนาทำให้มีประเพณีพิธีกรรมงานบุญตลอดทั้งปี
ตลาดเริ่มคึกคักตั้งแต่เข้ามืดตี 5-9 โมงเช้า สินค้าส่วนใหญ่ของในท้องถิ่น เช่น ผักสด ปลาน้ำจืด ของป่า อาหารพื้นบ้าน ขึ้นชื่อคือ ขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วย ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มอญและวัฒนธรรมมอญอันเข้มแข็งได้กลายเป็น "จุดขาย" เป็นมนต์เสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนตลาดแห่งนี้
ติดตามชมได้ในรายการ กินอยู่.. คือ ตอน ตลาดวัดวังก์ ตลาดชายขอบของคนพลัดถิ่น วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน เวลา 16.00-16.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
บ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ที่หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการามสร้างโดยแบ่งพื้นที่ให้ชาวบ้านเช่าแผงขายสินค้า เมื่อปี 2528 มีกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งก็คือกรรมการวัดวังก์วิเวการาม เป็นผู้ดำเนินการดูแลตลาดและระบบการเช่าแผง
ชาวมอญในพื้นที่มีสถานะ "ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า" หรือ "ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า" รัฐไทยผ่อนผันให้อยู่ได้ชั่วคราว สามารถทำงานได้ ชาวบ้านยังแต่งกายแบบมอญ มีอาหารการกินแบบมอญ ความยึดมั่นในพุทธศาสนาทำให้มีประเพณีพิธีกรรมงานบุญตลอดทั้งปี
ตลาดเริ่มคึกคักตั้งแต่เข้ามืดตี 5-9 โมงเช้า สินค้าส่วนใหญ่ของในท้องถิ่น เช่น ผักสด ปลาน้ำจืด ของป่า อาหารพื้นบ้าน ขึ้นชื่อคือ ขนมจีนน้ำยาหยวกกล้วย ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มอญและวัฒนธรรมมอญอันเข้มแข็งได้กลายเป็น "จุดขาย" เป็นมนต์เสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนตลาดแห่งนี้
ติดตามชมได้ในรายการ กินอยู่.. คือ ตอน ตลาดวัดวังก์ ตลาดชายขอบของคนพลัดถิ่น วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน เวลา 16.00-16.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live