ในปัจจุบันสังคมมักหลีกเลี่ยงในการพูดถึงเรื่อง “ความตาย” มุมมองนี้ส่งผลกระทบต่อวิธีที่เราจะเตรียมตัวรับมือกับความตาย และการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงท้ายของชีวิต โดยเฉพาะพระสงฆ์ ผู้ที่สละละบ้านและครอบครัวมายาวนาน เมื่อมีอาการป่วยหนัก จนต้องดูแลแบบประคับประคองในชีวิตช่วงท้าย ก็มักจะเกิดความลำบากทั้งกายและใจ จะอยู่โรงพยาบาล ก็ไม่สามารถหายป่วยได้ จะกลับบ้าน ส่วนใหญ่ผู้หญิงก็มักจะต้องเป็นคนดูแล ซึ่งขัดกับหลักพุทธศาสนา จึงทำให้ยากที่จากไปอย่างสงบได้ สันติภาวัน จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ดูแลพระสงฆ์ที่ป่วยระยะท้าย เพื่อให้พระที่ป่วยได้ใช้ชีวิตช่วงท้ายพิจารณาความเป็นจริงของชีวิต และละสังขารอย่างสงบ ตามอุดมคติของพระพุทธศาสนา โดยมีพระจิตอาสาคอยดูแล รวมไปถึงพวกเขายังได้ดูใจตนเองในการทำกิจต่าง ๆ ในบทบาทของพระสงฆ์พร้อมกันไปด้วย
สังคมไทยอาจคุ้นชินกับภาพของพระสงฆ์เพศชาย ที่เป็นตัวแทนในการปฏิบัติกิจทางพุทธศาสนา แต่แท้จริงแล้วการปฏิบัติธรรม ไม่ได้จำกัดไว้ให้แต่เพียงผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงก็สามารถปฏิบัติและบรรลุธรรมได้เช่นกัน ในปัจจุบัน จึงมีหลายกลุ่ม หลายองค์กรที่พยายามสร้างพื้นที่และชุมชน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติธรรมของผู้หญิงโดยเฉพาะ แต่ละกลุ่มคือใครบ้าง มีที่มาที่ไปอย่างไร ? ชุมชนเหล่านี้ส่งผลยังไงต่อชีวิตของผู้หญิงที่สนใจธรรมะอย่างไร ?
ติดตามชมได้ในรายการทำอะไรก็ธรรม ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 05.00 - 05.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ในปัจจุบันสังคมมักหลีกเลี่ยงในการพูดถึงเรื่อง “ความตาย” มุมมองนี้ส่งผลกระทบต่อวิธีที่เราจะเตรียมตัวรับมือกับความตาย และการดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงท้ายของชีวิต โดยเฉพาะพระสงฆ์ ผู้ที่สละละบ้านและครอบครัวมายาวนาน เมื่อมีอาการป่วยหนัก จนต้องดูแลแบบประคับประคองในชีวิตช่วงท้าย ก็มักจะเกิดความลำบากทั้งกายและใจ จะอยู่โรงพยาบาล ก็ไม่สามารถหายป่วยได้ จะกลับบ้าน ส่วนใหญ่ผู้หญิงก็มักจะต้องเป็นคนดูแล ซึ่งขัดกับหลักพุทธศาสนา จึงทำให้ยากที่จากไปอย่างสงบได้ สันติภาวัน จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ดูแลพระสงฆ์ที่ป่วยระยะท้าย เพื่อให้พระที่ป่วยได้ใช้ชีวิตช่วงท้ายพิจารณาความเป็นจริงของชีวิต และละสังขารอย่างสงบ ตามอุดมคติของพระพุทธศาสนา โดยมีพระจิตอาสาคอยดูแล รวมไปถึงพวกเขายังได้ดูใจตนเองในการทำกิจต่าง ๆ ในบทบาทของพระสงฆ์พร้อมกันไปด้วย
สังคมไทยอาจคุ้นชินกับภาพของพระสงฆ์เพศชาย ที่เป็นตัวแทนในการปฏิบัติกิจทางพุทธศาสนา แต่แท้จริงแล้วการปฏิบัติธรรม ไม่ได้จำกัดไว้ให้แต่เพียงผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงก็สามารถปฏิบัติและบรรลุธรรมได้เช่นกัน ในปัจจุบัน จึงมีหลายกลุ่ม หลายองค์กรที่พยายามสร้างพื้นที่และชุมชน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติธรรมของผู้หญิงโดยเฉพาะ แต่ละกลุ่มคือใครบ้าง มีที่มาที่ไปอย่างไร ? ชุมชนเหล่านี้ส่งผลยังไงต่อชีวิตของผู้หญิงที่สนใจธรรมะอย่างไร ?
ติดตามชมได้ในรายการทำอะไรก็ธรรม ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 05.00 - 05.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live