วิทยาศาสตร์แบบตะวันตกเดินทางเข้ามาสู่ไทยเป็นครั้งแรกในสมัยอยุธยา เมื่อชาวตะวันตกเข้ามาพร้อมอาวุธปืน ในขณะที่เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกที่สังคมไทยได้พบ คือกล้องโทรทรรศน์ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้รับจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และแม้ว่าสังคมไทยจะได้เคยสัมผัสกับวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่วิทยาศาสตร์ในความหมายปัจจุบันก็เพิ่งเริ่มเกิดขึ้นอย่างจริงจังในสมัย รัตนโกสินทร์นี่เอง
นับจากวันที่ประเทศไทยเริ่มส่งนักเรียนไทยไปศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ในต่าง ประเทศในรัชกาลที่ 3 จนถึงปัจจุบันที่มหาวิทยาลัยไทยสามารถผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ได้เองปีละหลาย พันคน วิทยาศาสตร์ในสังคมไทยไม่เคยดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว หากแต่ต้องปะทะกับวัฒนธรรม ความเชื่อ และความไม่เป็นเหตุเป็นผลที่มีอยู่ในสังคมไทย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่วิทยาศาสตร์ในสังคมไทยซึ่งมีอายุเพียงร้อย กว่าปีจะหยั่งรากลึกมั่นคงได้
ร่วมสำรวจความหมายของวิทยาศาสตร์ และความ(ไม่)เป็นวิทยาศาสตร์ในสังคมไทยไปกับ
• ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
• รศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนผู้สนใจเรื่องตรรกะวิบัติในสังคมไทย
ติดตามชมรายการ วัฒนธรรมชุบแป้งทอด วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน 2557 เวลา 20.20 - 21.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทางwww.thaipbs.or.th/live
วิทยาศาสตร์แบบตะวันตกเดินทางเข้ามาสู่ไทยเป็นครั้งแรกในสมัยอยุธยา เมื่อชาวตะวันตกเข้ามาพร้อมอาวุธปืน ในขณะที่เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกที่สังคมไทยได้พบ คือกล้องโทรทรรศน์ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้รับจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และแม้ว่าสังคมไทยจะได้เคยสัมผัสกับวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่วิทยาศาสตร์ในความหมายปัจจุบันก็เพิ่งเริ่มเกิดขึ้นอย่างจริงจังในสมัย รัตนโกสินทร์นี่เอง
นับจากวันที่ประเทศไทยเริ่มส่งนักเรียนไทยไปศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ในต่าง ประเทศในรัชกาลที่ 3 จนถึงปัจจุบันที่มหาวิทยาลัยไทยสามารถผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ได้เองปีละหลาย พันคน วิทยาศาสตร์ในสังคมไทยไม่เคยดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว หากแต่ต้องปะทะกับวัฒนธรรม ความเชื่อ และความไม่เป็นเหตุเป็นผลที่มีอยู่ในสังคมไทย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่วิทยาศาสตร์ในสังคมไทยซึ่งมีอายุเพียงร้อย กว่าปีจะหยั่งรากลึกมั่นคงได้
ร่วมสำรวจความหมายของวิทยาศาสตร์ และความ(ไม่)เป็นวิทยาศาสตร์ในสังคมไทยไปกับ
• ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
• รศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนผู้สนใจเรื่องตรรกะวิบัติในสังคมไทย
ติดตามชมรายการ วัฒนธรรมชุบแป้งทอด วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน 2557 เวลา 20.20 - 21.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทางwww.thaipbs.or.th/live