ข้อห้ามเรื่องสตรีห้ามเล่นละครนั้น ถือเป็นกฎข้อห้ามใหญ่หลวงในช่วงรัชกาลที่ 3 หรือก็คือยุคสมัยตามท้องเรื่องของละครบุษบาลุยไฟ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ คีตศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร มีคำตอบ
“การแสดงละครผู้หญิงถือเป็นเครื่องราชูปโภคในพระมหากษัตริย์ หรือในพระเจ้าแผ่นดิน ถ้าเราไม่มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือไม่สามารถที่จะเทียบเท่าได้ จะจัดการแสดงไม่ว่าจะเป็นมโหรีผู้หญิง ละครผู้หญิงก็จะเป็นการเลียนแบบ ถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ในยุคนั้น”
ดังนั้นแล้วตามที่ประวัติที่มีการบันทึกไว้การแสดงโดยใช้ผู้หญิงจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเล่นกัน ข้อห้ามในลักษณะดังกล่าวดำเนินมาจนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้มียกเลิกให้ผู้หญิงแสดงละครได้อย่างที่ปรากฏจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ บรรยากาศบ้านเมืองในยุคสมัยดังกล่าว ถือเป็นยุคเฟื่อนฟูทางด้วยศิลปะวรรณคดี ทำให้ผู้คนทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในวรรณคดีเป็นอย่างดี
“ในยุคนั้นต้องบอกว่าผู้ที่รู้เรื่องราวของวรรณคดี เขารู้กันทั่วบ้านทั่วเมือง ผิดกับยุคปัจจุบันมากที่วรรคดีหายไปจากความทรงจำของเยาวชนคนรุ่นใหม่ แต่ในสมัยก่อนเขาเสพวรรณคดี เขาจะรู้เรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบของรามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุตหรือแม้แต่นิทานพื้นบ้านก็เป็นที่รู้กัน เพราะเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวรรณคดี มันสอดแทรกวิถีชีวิตขบนธรรมเนียมประเพณีโบราณต่าง ๆ ของคนไทยเอาไว้”
ติดตามชมละคร บุษบาลุยไฟ ทุกวันศุกร์-อาทิตย์ เวลา 20.15 - 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3
▶️ ชมสดออนไลน์
Website : www.thaipbs.or.th/Live
Facebook : @ThaiPBS
▶️ ชมละคร บุษบาลุยไฟ อีกครั้ง
Website : www.VIPA.me
Application VIPA : https://thaip.bs/VIPADownload
ข้อห้ามเรื่องสตรีห้ามเล่นละครนั้น ถือเป็นกฎข้อห้ามใหญ่หลวงในช่วงรัชกาลที่ 3 หรือก็คือยุคสมัยตามท้องเรื่องของละครบุษบาลุยไฟ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น กัญจนปกรณ์ แสดงหาญ คีตศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร มีคำตอบ
“การแสดงละครผู้หญิงถือเป็นเครื่องราชูปโภคในพระมหากษัตริย์ หรือในพระเจ้าแผ่นดิน ถ้าเราไม่มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือไม่สามารถที่จะเทียบเท่าได้ จะจัดการแสดงไม่ว่าจะเป็นมโหรีผู้หญิง ละครผู้หญิงก็จะเป็นการเลียนแบบ ถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ในยุคนั้น”
ดังนั้นแล้วตามที่ประวัติที่มีการบันทึกไว้การแสดงโดยใช้ผู้หญิงจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเล่นกัน ข้อห้ามในลักษณะดังกล่าวดำเนินมาจนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้มียกเลิกให้ผู้หญิงแสดงละครได้อย่างที่ปรากฏจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ บรรยากาศบ้านเมืองในยุคสมัยดังกล่าว ถือเป็นยุคเฟื่อนฟูทางด้วยศิลปะวรรณคดี ทำให้ผู้คนทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในวรรณคดีเป็นอย่างดี
“ในยุคนั้นต้องบอกว่าผู้ที่รู้เรื่องราวของวรรณคดี เขารู้กันทั่วบ้านทั่วเมือง ผิดกับยุคปัจจุบันมากที่วรรคดีหายไปจากความทรงจำของเยาวชนคนรุ่นใหม่ แต่ในสมัยก่อนเขาเสพวรรณคดี เขาจะรู้เรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบของรามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุตหรือแม้แต่นิทานพื้นบ้านก็เป็นที่รู้กัน เพราะเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวรรณคดี มันสอดแทรกวิถีชีวิตขบนธรรมเนียมประเพณีโบราณต่าง ๆ ของคนไทยเอาไว้”
ติดตามชมละคร บุษบาลุยไฟ ทุกวันศุกร์-อาทิตย์ เวลา 20.15 - 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3
▶️ ชมสดออนไลน์
Website : www.thaipbs.or.th/Live
Facebook : @ThaiPBS
▶️ ชมละคร บุษบาลุยไฟ อีกครั้ง
Website : www.VIPA.me
Application VIPA : https://thaip.bs/VIPADownload