Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 4 วันนี้เราจะไปย่ำมหานคร ริโอเดจาเนโร ของบราซิล ประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการท่องเที่ยวเพราะมีทัศนียภาพอันงดงาม และโดดเด่นในการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกมากมาย
แต่รู้หรือไม่? ในอีกด้าน ประเทศบราซิลกลับเป็น 1 ใน 10 ของประเทศที่ทิ้งอาหารมากที่สุดในโลก แต่ละวันจะมีอาหารที่ถูกทิ้งเป็นขยะมากถึง 40 ตันเลยทีเดียว
ปัญหาการทิ้งอาหารไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เฮจินา ทเชลลี ผู้ก่อตั้งองค์กรฟาเวลา ออร์กานิกา ไม่อาจนิ่งเฉยกับปัญหานี้ จึงได้ลุกขึ้นมารณรงค์ให้คนในชุมชนของเธอและชุมชนใกล้เคียง ได้รู้คุณค่าของอาหาร และใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า จนเกิดกระแส "การไม่ทิ้งอาหารให้เป็นขยะ" ในที่สุด...
อาหารเป็นสิ่งที่ทุกคนทั่วโลกให้ความสำคัญ และการบริโภคส่วนใหญ่ก็มาจากการผลิตแบบอุตสาหกรรม ที่เมื่อพิจารณาในด้านของสุขภาพแล้ว การผลิตแบบอุตสาหกรรมอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว
จึงได้มีคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นเกษตรกรเมืองในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี พยายามเปลี่ยนแนวคิดให้ผู้บริโภคหันมาซื้อและรับประทาน "อาหารออร์แกนิคที่ถูกและดีต่อสุขภาพ"
โดยพวกเขาใช้พื้นที่ใจกลางกรุงเบอร์ลินทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ด้วยการปลูกผักและเลี้ยงปลาโดยไม่ใช้สารเคมีที่เรียกว่า "ท็อปฟาร์มเมอร์ส" ซึ่งได้รับเสียงตอบรับค่อนข้างดีจากผู้บริโภคในกรุงเบอร์ลิน และพวกเขาต้องการขยายฐานการผลิตไปทั่วโลกเพื่อให้ทุกคนได้รับประทานที่ปลอดภัย
ติดตามได้ในรายการ Big Cities ย่ำมาหานคร
วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายนนี้ เวลา 11.30 - 12.00 น. ทางไทยพีบีเอส
รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live และ Facebook Big Cities Thailand
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชม Big Cities ย่ำมาหานคร ตอน 3 รูนดริงค์: ชุมชนทางเลือกในเบอร์ลิน
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 4 วันนี้เราจะไปย่ำมหานคร ริโอเดจาเนโร ของบราซิล ประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการท่องเที่ยวเพราะมีทัศนียภาพอันงดงาม และโดดเด่นในการจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกมากมาย
แต่รู้หรือไม่? ในอีกด้าน ประเทศบราซิลกลับเป็น 1 ใน 10 ของประเทศที่ทิ้งอาหารมากที่สุดในโลก แต่ละวันจะมีอาหารที่ถูกทิ้งเป็นขยะมากถึง 40 ตันเลยทีเดียว
ปัญหาการทิ้งอาหารไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เฮจินา ทเชลลี ผู้ก่อตั้งองค์กรฟาเวลา ออร์กานิกา ไม่อาจนิ่งเฉยกับปัญหานี้ จึงได้ลุกขึ้นมารณรงค์ให้คนในชุมชนของเธอและชุมชนใกล้เคียง ได้รู้คุณค่าของอาหาร และใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่า จนเกิดกระแส "การไม่ทิ้งอาหารให้เป็นขยะ" ในที่สุด...
อาหารเป็นสิ่งที่ทุกคนทั่วโลกให้ความสำคัญ และการบริโภคส่วนใหญ่ก็มาจากการผลิตแบบอุตสาหกรรม ที่เมื่อพิจารณาในด้านของสุขภาพแล้ว การผลิตแบบอุตสาหกรรมอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว
จึงได้มีคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นเกษตรกรเมืองในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี พยายามเปลี่ยนแนวคิดให้ผู้บริโภคหันมาซื้อและรับประทาน "อาหารออร์แกนิคที่ถูกและดีต่อสุขภาพ"
โดยพวกเขาใช้พื้นที่ใจกลางกรุงเบอร์ลินทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ด้วยการปลูกผักและเลี้ยงปลาโดยไม่ใช้สารเคมีที่เรียกว่า "ท็อปฟาร์มเมอร์ส" ซึ่งได้รับเสียงตอบรับค่อนข้างดีจากผู้บริโภคในกรุงเบอร์ลิน และพวกเขาต้องการขยายฐานการผลิตไปทั่วโลกเพื่อให้ทุกคนได้รับประทานที่ปลอดภัย
ติดตามได้ในรายการ Big Cities ย่ำมาหานคร
วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายนนี้ เวลา 11.30 - 12.00 น. ทางไทยพีบีเอส
รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live และ Facebook Big Cities Thailand
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ชม Big Cities ย่ำมาหานคร ตอน 3 รูนดริงค์: ชุมชนทางเลือกในเบอร์ลิน