พี่สตังค์พาไปรู้จักวัตถุดิบพื้นถิ่นของพี่น้องชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน นั่นคือ "ใบชุน" ที่ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา พร้อมเข้าครัวปรุงเมนูขึ้นชื่อ "หมูห่อใบชุน" และเมนู "น้ำพริกใบชุน" วิธีการและรสชาติแต่ละเมนูจะเป็นอย่างไร ต้องติดตาม
"ใบชุน" จากต้นเซียงชุน เป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในวงศ์กระท้อน และเป็นพืชที่มีอายุยืนนาน พี่น้องชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน บ้านปางค่าใต้ นิยมนำส่วนของใบมาประกอบอาหาร ใบมีกลิ่นฉุน หรือกลิ่นเฉพาะตัว คล้ายกลิ่นใบมะม่วงอ่อน โดยต้นเซียงชุนนั้นสามารถพบได้บนยอดเขาภูลังกา ซึ่งในอดีต พี่น้องอิ้วเมี่ยนจะอาศัยอยู่บนเขา บรรพบุรุษรู้จักการนำใบชุนมากินกัน จนภายหลัง ชาวอิ้วเมี่ยน ย้ายถิ่นฐานลงมาจากเขา จึงนำต้นชุนมาปลูกในชุมชนบ้านปางค่าใต้ไว้ด้วย
ติดตามชมได้ในรายการ ภัตตาคารบ้านทุ่ง ตอน ใบชุน วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2565 เวลา 16.05 - 16.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
พี่สตังค์พาไปรู้จักวัตถุดิบพื้นถิ่นของพี่น้องชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน นั่นคือ "ใบชุน" ที่ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา พร้อมเข้าครัวปรุงเมนูขึ้นชื่อ "หมูห่อใบชุน" และเมนู "น้ำพริกใบชุน" วิธีการและรสชาติแต่ละเมนูจะเป็นอย่างไร ต้องติดตาม
"ใบชุน" จากต้นเซียงชุน เป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในวงศ์กระท้อน และเป็นพืชที่มีอายุยืนนาน พี่น้องชาติพันธุ์อิ้วเมี่ยน บ้านปางค่าใต้ นิยมนำส่วนของใบมาประกอบอาหาร ใบมีกลิ่นฉุน หรือกลิ่นเฉพาะตัว คล้ายกลิ่นใบมะม่วงอ่อน โดยต้นเซียงชุนนั้นสามารถพบได้บนยอดเขาภูลังกา ซึ่งในอดีต พี่น้องอิ้วเมี่ยนจะอาศัยอยู่บนเขา บรรพบุรุษรู้จักการนำใบชุนมากินกัน จนภายหลัง ชาวอิ้วเมี่ยน ย้ายถิ่นฐานลงมาจากเขา จึงนำต้นชุนมาปลูกในชุมชนบ้านปางค่าใต้ไว้ด้วย
ติดตามชมได้ในรายการ ภัตตาคารบ้านทุ่ง ตอน ใบชุน วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม 2565 เวลา 16.05 - 16.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live