หนังสือพระราชประวัติของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่จัดพิมพ์โดยกระทรวงวัฒนธรรม จากเดิมตีพิมพ์ไว้สองแสนเล่ม แต่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จนต้องเพิ่มจำนวนเป็น 1 ล้านชุด ช่วงนี้จึงมีประชาชนจำนวนมากมารอคิวรับไปเก็บไว้เป็นที่ระลึก
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีศิลปินหลากค่ายหลายแนวร่วมกันแต่งเพลงแสดงความอาลัยต่อในหลวง รัชกาลที่ 9 กว่า 100เพลง เช่นบทเพลงของคนวงการลูกทุ่ง "ฟ้าร้องไห้" โดยครูเพลง ชลธี ธารทอง ที่ได้ศิลปินลูกทุ่งหลายสิบชีวิตรวมใจถ่ายทอด หรือเพลงแหล่ของศิลปินแห่งชาติ ขวัญจิต ศรีประจันต์ ผู้เคยถวายงานแสดงเพลงอีแซวต่อหน้าพระพักตร์ ก็เตรียมนำเพลงพื้นบ้านแสดงความรู้สึกไปร่วมแสดงในคอนเสิร์ตที่จะจัดขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ ในงาน "พลังศิลปินรวมใจ แสดงความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เป็นกวีหญิงหนึ่งเดียวที่เข้ารอบสุดท้ายกวีซีไรต์ปีนี้ "โรสนี นูรฟารีดา" (โรดสนี นูดฟารีดา) อดีตนักข่าวจากหาดใหญ่ ใช้กลอนเปล่าถ่ายทอดความรู้สึก ชวนผู้อ่านมองสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยมุมใหม่ๆ และตีความคำว่า บ้าน จากแบ่งปันบนหน้าเฟซบุ๊ก รวบรวมเป็นกวีนิพนธ์ "ไกลกว่ารั้วบ้านของเรา" ที่ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายซีไรต์ปีนี้
ประสบการณ์ในฐานะนักปั่นจักรยานทางไกลของกวีแห่งทุ่งสักอาศรม "ศิวกานท์ ปทุมสูติ" แปรเปลี่ยนเป็นความคิดที่เกาะเกี่ยวกับกงล้อ โดยเฉพาะการตั้งคำถามถึงพันธนาการของมนุษย์ ผ่านนิยายกวีนิพนธ์ "ทางจักรา" ผลงานลำดับที่ 5 ที่เข้าชิงรางวัลซีไรต์
กลายเป็นอาหารของคนทุกภาคที่เรียกติดปากว่า "ส้มตำ,ตำส้ม" ในพจนานุกรม หมายถึง ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้ มะละกอมาตำ ผสมกับเครื่องปรุง กระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง มีรสเปรี้ยว เป็นที่มาของคำว่า "ส้ม" เพราะนอกจากหมายถึงชื่อผลไม้ ส้มยังเป็นคำวิเศษณ์บอกรสชาติเปรี้ยวนำ บางคำยังบอกถึงกรรมวิธีการถนอมอาหารของคนพื้นถิ่นที่หมักดองจนเปรี้ยว แค่คำๆ เดียวใช้ได้หลายเมนู ไม่ว่าจะปลาส้ม ส้มปลา ส้มหมู หรือผักส้ม ล้วนเป็นคำมีที่มา นั่นเพราะภาษาคือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
ติดตามชมในรายการไทยบันเทิง วันพุธที่ 16 พ.ย. 2559 เวลา 11.05 - 11.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
หนังสือพระราชประวัติของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่จัดพิมพ์โดยกระทรวงวัฒนธรรม จากเดิมตีพิมพ์ไว้สองแสนเล่ม แต่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จนต้องเพิ่มจำนวนเป็น 1 ล้านชุด ช่วงนี้จึงมีประชาชนจำนวนมากมารอคิวรับไปเก็บไว้เป็นที่ระลึก
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีศิลปินหลากค่ายหลายแนวร่วมกันแต่งเพลงแสดงความอาลัยต่อในหลวง รัชกาลที่ 9 กว่า 100เพลง เช่นบทเพลงของคนวงการลูกทุ่ง "ฟ้าร้องไห้" โดยครูเพลง ชลธี ธารทอง ที่ได้ศิลปินลูกทุ่งหลายสิบชีวิตรวมใจถ่ายทอด หรือเพลงแหล่ของศิลปินแห่งชาติ ขวัญจิต ศรีประจันต์ ผู้เคยถวายงานแสดงเพลงอีแซวต่อหน้าพระพักตร์ ก็เตรียมนำเพลงพื้นบ้านแสดงความรู้สึกไปร่วมแสดงในคอนเสิร์ตที่จะจัดขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้ ในงาน "พลังศิลปินรวมใจ แสดงความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เป็นกวีหญิงหนึ่งเดียวที่เข้ารอบสุดท้ายกวีซีไรต์ปีนี้ "โรสนี นูรฟารีดา" (โรดสนี นูดฟารีดา) อดีตนักข่าวจากหาดใหญ่ ใช้กลอนเปล่าถ่ายทอดความรู้สึก ชวนผู้อ่านมองสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยมุมใหม่ๆ และตีความคำว่า บ้าน จากแบ่งปันบนหน้าเฟซบุ๊ก รวบรวมเป็นกวีนิพนธ์ "ไกลกว่ารั้วบ้านของเรา" ที่ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายซีไรต์ปีนี้
ประสบการณ์ในฐานะนักปั่นจักรยานทางไกลของกวีแห่งทุ่งสักอาศรม "ศิวกานท์ ปทุมสูติ" แปรเปลี่ยนเป็นความคิดที่เกาะเกี่ยวกับกงล้อ โดยเฉพาะการตั้งคำถามถึงพันธนาการของมนุษย์ ผ่านนิยายกวีนิพนธ์ "ทางจักรา" ผลงานลำดับที่ 5 ที่เข้าชิงรางวัลซีไรต์
กลายเป็นอาหารของคนทุกภาคที่เรียกติดปากว่า "ส้มตำ,ตำส้ม" ในพจนานุกรม หมายถึง ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้ มะละกอมาตำ ผสมกับเครื่องปรุง กระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง มีรสเปรี้ยว เป็นที่มาของคำว่า "ส้ม" เพราะนอกจากหมายถึงชื่อผลไม้ ส้มยังเป็นคำวิเศษณ์บอกรสชาติเปรี้ยวนำ บางคำยังบอกถึงกรรมวิธีการถนอมอาหารของคนพื้นถิ่นที่หมักดองจนเปรี้ยว แค่คำๆ เดียวใช้ได้หลายเมนู ไม่ว่าจะปลาส้ม ส้มปลา ส้มหมู หรือผักส้ม ล้วนเป็นคำมีที่มา นั่นเพราะภาษาคือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม
ติดตามชมในรายการไทยบันเทิง วันพุธที่ 16 พ.ย. 2559 เวลา 11.05 - 11.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live