ศิลปินนักร้องและตลกร่วม 100 ชีวิต หมุนเวียนขึ้นเวที สร้างเสียงหัวเราะและความบันเทิงให้ผู้ชม ยกให้เป็นคืนแห่งรอยยิ้ม เต็มไปด้วยน้ำใจเหล่าคนบันเทิงที่ร่วมกันช่วยเหลือ ดอน จมูกบาน ตลกรุ่นใหญ่ที่กำลังรักษาตัวจากอาการป่วยมะเร็งตับ
แม้เพิ่งเป็นบัณฑิต แต่ดาราหลายคนได้เปรียบ วางแผนอนาคตไว้ชัดเจน มองเห็นความมั่นคงในชีวิตเพราะเลือกเรียนสาขาที่ต่อยอดได้จริง เตรียมพัฒนาฝีมือเบื้องหน้า และเป็นโอกาสในวันที่ต้องกลายเป็นคนเบื้องหลังอีกด้วย ดังเช่น "ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก" ที่จบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกการแสดงและกำกับการแสดง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ขณะนี้ตั้งเป้ารับงานเต็มตัว ทั้งละครและหนังจากจีนที่ติดต่อเข้ามา และยังอยากสานฝันใช้ความรู้ที่เรียนทำละครเวทีของตัวเอง ก่อนเรียนต่อปริญญาโท
ล้อเล่นกับกลั่นแกล้ง บางทีมีเส้นบางๆ คั่นอยู่ เพราะเมื่อใดที่ผู้ถูกล้อไม่ชอบใจ ก็อาจจะไม่สนุกด้วย ยิ่งในยุคออนไลน์ การล้อเลียนในโลกไซเบอร์ยิ่งขยายวงกว้าง ไร้การควบคุม ซึ่งกลุ่มคนดังก็คือกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นอันดับต้นๆ จากกรณีตัวอย่างของศิลปิน "นะ นักร้องนำวง Polycat" สะท้อนถึงขอบเขตของคำว่ามารยาทในการแซวดารา กับการกลั่นแกล้งผ่านโลกเสมือนจริง หรือ Cyber Bullying ให้กลายเป็นที่พูดถึง
นอกจากการประชาสัมพันธ์ตามปกติแล้ว นักร้องนักดนตรีต่างคิดหากลวิธีมากมาย เพื่อให้ตนเองเป็นที่รู้จัก แต่การโปรโมทแบบไม่คิดหน้าคิดหลัง กลับกลายเป็นสิ่งที่ย้อนมาทำร้ายอาชีพของพวกเขาได้เช่นกัน อย่างเช่นเคสที่หลายคนยังจำได้ดี ก็คือ เลดี้ กาก้า ที่ไปร่วมงาน VMAs ในปี 2010 ด้วยการสวมชุดที่ตัดเย็บจากเนื้อวัวสด แม้อ้างว่าแต่งชุดนี้ เพื่อต่อต้านการนโยบายการปิดกั้นเพศสภาพ ของผู้มีความหลากหลายทางเพศในกองทัพสหรัฐ แต่องค์กรพิทักษ์สัตว์อย่าง PETA ก็ประณามว่าเป็นชุดที่ไม่เหมาะสม ด้านสมาคมมังสวิรัติก็ไม่เห็นด้วยเช่นเดียวกัน
เทศกาลดนตรี Glastonbury ขึ้นชื่อว่าเป็นงานแสดงดนตรีกลางแจ้งที่เก่าแก่ และยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ปีนี้มีความเคลื่อนไหวใหม่ที่น่าสนใจ นั่นคือการประกาศจัดพื้นที่พิเศษ สำหรับแฟนเพลงผู้หญิงเท่านั้น โดยผู้จัดงานตั้งใจจัดพื้นที่สำหรับผู้หญิง เพื่อยืนยันว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับโลกที่ยังถูกออกแบบมาโดยคำนึงถึงแต่ผู้ชายเป็นหลัก ซึ่งในอังกฤษก็ยังมีการต่อสู้กับประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในหลายๆ มิติ ทางผู้จัดจึงหวังใช้พื้นที่ The Sisterhood ในการต่อสู้ให้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของผู้หญิงและกลุ่มคนชายขอบเหล่านี้หมดไป
ติดตามชมในรายการไทยบันเทิง วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2559 เวลา 11.05 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ศิลปินนักร้องและตลกร่วม 100 ชีวิต หมุนเวียนขึ้นเวที สร้างเสียงหัวเราะและความบันเทิงให้ผู้ชม ยกให้เป็นคืนแห่งรอยยิ้ม เต็มไปด้วยน้ำใจเหล่าคนบันเทิงที่ร่วมกันช่วยเหลือ ดอน จมูกบาน ตลกรุ่นใหญ่ที่กำลังรักษาตัวจากอาการป่วยมะเร็งตับ
แม้เพิ่งเป็นบัณฑิต แต่ดาราหลายคนได้เปรียบ วางแผนอนาคตไว้ชัดเจน มองเห็นความมั่นคงในชีวิตเพราะเลือกเรียนสาขาที่ต่อยอดได้จริง เตรียมพัฒนาฝีมือเบื้องหน้า และเป็นโอกาสในวันที่ต้องกลายเป็นคนเบื้องหลังอีกด้วย ดังเช่น "ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก" ที่จบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกการแสดงและกำกับการแสดง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ขณะนี้ตั้งเป้ารับงานเต็มตัว ทั้งละครและหนังจากจีนที่ติดต่อเข้ามา และยังอยากสานฝันใช้ความรู้ที่เรียนทำละครเวทีของตัวเอง ก่อนเรียนต่อปริญญาโท
ล้อเล่นกับกลั่นแกล้ง บางทีมีเส้นบางๆ คั่นอยู่ เพราะเมื่อใดที่ผู้ถูกล้อไม่ชอบใจ ก็อาจจะไม่สนุกด้วย ยิ่งในยุคออนไลน์ การล้อเลียนในโลกไซเบอร์ยิ่งขยายวงกว้าง ไร้การควบคุม ซึ่งกลุ่มคนดังก็คือกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นอันดับต้นๆ จากกรณีตัวอย่างของศิลปิน "นะ นักร้องนำวง Polycat" สะท้อนถึงขอบเขตของคำว่ามารยาทในการแซวดารา กับการกลั่นแกล้งผ่านโลกเสมือนจริง หรือ Cyber Bullying ให้กลายเป็นที่พูดถึง
นอกจากการประชาสัมพันธ์ตามปกติแล้ว นักร้องนักดนตรีต่างคิดหากลวิธีมากมาย เพื่อให้ตนเองเป็นที่รู้จัก แต่การโปรโมทแบบไม่คิดหน้าคิดหลัง กลับกลายเป็นสิ่งที่ย้อนมาทำร้ายอาชีพของพวกเขาได้เช่นกัน อย่างเช่นเคสที่หลายคนยังจำได้ดี ก็คือ เลดี้ กาก้า ที่ไปร่วมงาน VMAs ในปี 2010 ด้วยการสวมชุดที่ตัดเย็บจากเนื้อวัวสด แม้อ้างว่าแต่งชุดนี้ เพื่อต่อต้านการนโยบายการปิดกั้นเพศสภาพ ของผู้มีความหลากหลายทางเพศในกองทัพสหรัฐ แต่องค์กรพิทักษ์สัตว์อย่าง PETA ก็ประณามว่าเป็นชุดที่ไม่เหมาะสม ด้านสมาคมมังสวิรัติก็ไม่เห็นด้วยเช่นเดียวกัน
เทศกาลดนตรี Glastonbury ขึ้นชื่อว่าเป็นงานแสดงดนตรีกลางแจ้งที่เก่าแก่ และยิ่งใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ปีนี้มีความเคลื่อนไหวใหม่ที่น่าสนใจ นั่นคือการประกาศจัดพื้นที่พิเศษ สำหรับแฟนเพลงผู้หญิงเท่านั้น โดยผู้จัดงานตั้งใจจัดพื้นที่สำหรับผู้หญิง เพื่อยืนยันว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับโลกที่ยังถูกออกแบบมาโดยคำนึงถึงแต่ผู้ชายเป็นหลัก ซึ่งในอังกฤษก็ยังมีการต่อสู้กับประเด็นความเท่าเทียมทางเพศในหลายๆ มิติ ทางผู้จัดจึงหวังใช้พื้นที่ The Sisterhood ในการต่อสู้ให้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของผู้หญิงและกลุ่มคนชายขอบเหล่านี้หมดไป
ติดตามชมในรายการไทยบันเทิง วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2559 เวลา 11.05 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live