Beatbox ส่งความสุข น่าจะเป็นคำจำกัดความที่ชัดเจนที่สุด เมื่อพูดถึงคลิปเพลงใหม่ของวงประสานเสียงจากมาเลเซีย "C.O.V." เพราะนอกจากเทคนิคทำเสียงดนตรีจากปาก และการประสานเสียง A Cappella เนื้อหาของเพลงทั้งหมดยังเป็นคำอวยพรในเทศกาลตรุษจีน ดัดแปลงจากเพลงจีนความหมายมงคลยอดนิยม เช่น เพลงกงซี กงซี หรือยินดี ยินดี และเหอ ซิง เหนียนหรือเพลงยินดีปีใหม่ ซึ่งสมาชิกในวงเองก็มีหลากหลายเชื้อชาติ นับว่าเป็นการแสดงถึงบรรยากาศการฉลองตรุษจีนในมาเลเซียที่ไม่จำกัดเฉพาะชาวจีน และแม้ในอดีตย่านคนจีนในมาเลเซีย อย่างปีนัง มะละกา กัวลาลัมเปอร์ และอิโป จะเรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงของเพลงภาษาจีน แต่ปัจจุบันเพลงจีนก็ถือเป็นหนึ่งในความบันเทิงกระแสหลัก มีคนเชื้อสายมลายูเข้าสู่วงการเพลงจีนหลายคน เช่น Shila Amzah นักร้องสาวภายใต้ฮีญาบที่สร้างชื่อจากการร้องเพลงจีนจนโด่งดัง สะท้อนการผสมผสานของผู้คนในสังคมหลากหลายวัฒนธรรม ดังเช่นในตรุษจีนปีนี้ที่ยังได้เห็นถึงแนวคิดในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางวัฒนธรรมที่หลากหลาย อย่างการเชิดสิงโตในมาเลเซียที่ประยุกต์เข้ากับระบำกระทบไม้ของชนเผ่าในรัฐซาบาห์ กลายเป็นเสน่ห์ของตรุษจีนในภูมิภาคแห่งความหลากหลายอย่างอาเซียน
นอกจากจะสร้างความสุขแล้ว บางครั้งบทเพลงก็ยังถูกใช้ไม่ต่างจากอาวุธ เมื่อผู้ประพันธ์ใส่ความเกลียดชังลงไปในเนื้อเพลงจนเกิดเป็น Diss track บทเพลงที่ศิลปินใช้โจมตีคู่อริโดยเฉพาะ ดังเช่น นักร้อง B.o.B ที่ใช้ความเป็นศิลปินแร็ป แต่งเพลง Diss track ในชื่อ Flatline เพื่อโจมตีไทสันโดยเฉพาะ แม้จะไม่รุนแรงเหมือนสมัยยุค 90 แต่วัฒนธรรมการแต่งเพลง Diss track ก็ยังมีอยู่อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในแวดวงฮิปฮอปทุกวันนี้ ซึ่งเหยื่อของเพลง Diss track หลายรายก็ต้องหมดอนาคตในวงการเพลง หลังจากการเสียเครดิตเพราะถูกโจมตีด้วยบทเพลงเหล่านี้มาแล้ว
ขึ้นชื่อว่าไซอิ๋ว ใครๆ ก็ต้องนึกถึงกลุ่มนักเดินทางอันประกอบไปด้วย พระถังซัมจั๋ง และสัตว์อีก 3 ตัวเป็นเพื่อนร่วมทางคือ หงอคงหรือเห้งเจีย พระเอกนักบู๊ที่เป็นลิง, ซัวเจ๋งหรือปิศาจปลา และตือโป๊ยก่ายที่เป็นครึ่งคนครึ่งหมู และล่าสุดภาพยนตร์ภาคต่ออันโด่งดังของจีนเรื่อง The Monkey King 2 ก็ไม่พลาดที่จะนำตัวละครหลักทั้งสี่มาสร้างสีสันในช่วงตรุษจีนด้วย แต่สำหรับป้ายบิลบอร์ดโฆษณาที่ริมทางด่วนแห่งหนึ่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กลับไม่มีตือโป๊ยก่ายปรากฎอยู่ด้วย ข้อสังเกตนี้กลายเป็นที่ถกเถียงอย่างมากในโลกออนไลน์ของมาเลเซีย ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมและถือว่าหมูเป็นสัตว์สกปรก ทำให้หลายคนออกมาวิจารณ์อย่างหนักถึงเรื่องที่ไม่ยอมคำนึงถึงประชากรชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศมากถึงร้อยละ 24 รวมถึงเรื่องการเซ็นเซอร์ที่เข้มงวดจนเกินไป
ติดตามชมรายการไทยบันเทิง วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.05 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
Beatbox ส่งความสุข น่าจะเป็นคำจำกัดความที่ชัดเจนที่สุด เมื่อพูดถึงคลิปเพลงใหม่ของวงประสานเสียงจากมาเลเซีย "C.O.V." เพราะนอกจากเทคนิคทำเสียงดนตรีจากปาก และการประสานเสียง A Cappella เนื้อหาของเพลงทั้งหมดยังเป็นคำอวยพรในเทศกาลตรุษจีน ดัดแปลงจากเพลงจีนความหมายมงคลยอดนิยม เช่น เพลงกงซี กงซี หรือยินดี ยินดี และเหอ ซิง เหนียนหรือเพลงยินดีปีใหม่ ซึ่งสมาชิกในวงเองก็มีหลากหลายเชื้อชาติ นับว่าเป็นการแสดงถึงบรรยากาศการฉลองตรุษจีนในมาเลเซียที่ไม่จำกัดเฉพาะชาวจีน และแม้ในอดีตย่านคนจีนในมาเลเซีย อย่างปีนัง มะละกา กัวลาลัมเปอร์ และอิโป จะเรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงของเพลงภาษาจีน แต่ปัจจุบันเพลงจีนก็ถือเป็นหนึ่งในความบันเทิงกระแสหลัก มีคนเชื้อสายมลายูเข้าสู่วงการเพลงจีนหลายคน เช่น Shila Amzah นักร้องสาวภายใต้ฮีญาบที่สร้างชื่อจากการร้องเพลงจีนจนโด่งดัง สะท้อนการผสมผสานของผู้คนในสังคมหลากหลายวัฒนธรรม ดังเช่นในตรุษจีนปีนี้ที่ยังได้เห็นถึงแนวคิดในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางวัฒนธรรมที่หลากหลาย อย่างการเชิดสิงโตในมาเลเซียที่ประยุกต์เข้ากับระบำกระทบไม้ของชนเผ่าในรัฐซาบาห์ กลายเป็นเสน่ห์ของตรุษจีนในภูมิภาคแห่งความหลากหลายอย่างอาเซียน
นอกจากจะสร้างความสุขแล้ว บางครั้งบทเพลงก็ยังถูกใช้ไม่ต่างจากอาวุธ เมื่อผู้ประพันธ์ใส่ความเกลียดชังลงไปในเนื้อเพลงจนเกิดเป็น Diss track บทเพลงที่ศิลปินใช้โจมตีคู่อริโดยเฉพาะ ดังเช่น นักร้อง B.o.B ที่ใช้ความเป็นศิลปินแร็ป แต่งเพลง Diss track ในชื่อ Flatline เพื่อโจมตีไทสันโดยเฉพาะ แม้จะไม่รุนแรงเหมือนสมัยยุค 90 แต่วัฒนธรรมการแต่งเพลง Diss track ก็ยังมีอยู่อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในแวดวงฮิปฮอปทุกวันนี้ ซึ่งเหยื่อของเพลง Diss track หลายรายก็ต้องหมดอนาคตในวงการเพลง หลังจากการเสียเครดิตเพราะถูกโจมตีด้วยบทเพลงเหล่านี้มาแล้ว
ขึ้นชื่อว่าไซอิ๋ว ใครๆ ก็ต้องนึกถึงกลุ่มนักเดินทางอันประกอบไปด้วย พระถังซัมจั๋ง และสัตว์อีก 3 ตัวเป็นเพื่อนร่วมทางคือ หงอคงหรือเห้งเจีย พระเอกนักบู๊ที่เป็นลิง, ซัวเจ๋งหรือปิศาจปลา และตือโป๊ยก่ายที่เป็นครึ่งคนครึ่งหมู และล่าสุดภาพยนตร์ภาคต่ออันโด่งดังของจีนเรื่อง The Monkey King 2 ก็ไม่พลาดที่จะนำตัวละครหลักทั้งสี่มาสร้างสีสันในช่วงตรุษจีนด้วย แต่สำหรับป้ายบิลบอร์ดโฆษณาที่ริมทางด่วนแห่งหนึ่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กลับไม่มีตือโป๊ยก่ายปรากฎอยู่ด้วย ข้อสังเกตนี้กลายเป็นที่ถกเถียงอย่างมากในโลกออนไลน์ของมาเลเซีย ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมและถือว่าหมูเป็นสัตว์สกปรก ทำให้หลายคนออกมาวิจารณ์อย่างหนักถึงเรื่องที่ไม่ยอมคำนึงถึงประชากรชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศมากถึงร้อยละ 24 รวมถึงเรื่องการเซ็นเซอร์ที่เข้มงวดจนเกินไป
ติดตามชมรายการไทยบันเทิง วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11.05 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live