ประเด็นข่าว
ยังเป็นกระแสให้ตามกันต่อถึงเวทีประกวดสามงามมิสยูนิเวิร์สปี 2015 ที่ตัวแทนสาวไทยไม่เพียงเข้ารอบลึก 10 คนสุดท้ายในรอบเกือบ 30 ปี แต่ยังได้ดีใจกับรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมที่ดีไซเนอร์ ดูจะก้าวมาถึงงานดีไซน์ยุค Post modern กับชุด "ตุ๊กๆ ไทยแลนด์" ที่ผู้ออกแบบต้องใช้ทักษะวิศวกรรมมารวมกับแฟชั่น สร้างสรรค์ชุดนี้ให้ชวนนึกถึงประเทศไทยในมุมที่ต่างชาติคุ้นเคย เป็นฝีมือการออกแบบของคุณหิรัญกฤษฏิ์ ภัทรพิบูลย์กุล นักวิชาการวัฒนธรรม วัย 35 ปี
ตำนานสำคัญของกัมพูชาไม่เพียงส่งอิทธิพลต่องานศิลปะดังปรากฎภาพนางอัปสราบนปราสาทขอม แต่ยังมีการประดิษฐ์เป็น "ระบำอัปสรา" หนึ่งในชุดการแสดงที่กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา นำมาจัดแสดงในโอกาสครบรอบ 65 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและกัมพูชา โดยการจัดแสดงในครั้งนี้ นักแสดงจากกัมพูชาไม่เพียงนำชุดการแสดงที่สะท้อนตัวตนมาให้เพื่อนบ้านไทยได้เรียนรู้ แต่ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์นาฏศิลป์กับนักแสดงไทยจากกรมศิลปากร และโรงเรียนพาทยกุลการดนตรีและนาฏศิลป์ เพื่อมุมมองใหม่และความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ย่านการค้าที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในยุคที่กรุงเทพยังเป็นพระนคร แต่กลับซบเซาอย่างรวดเร็ว เพราะการพัฒนาแหล่งการค้าใหม่ หากเรื่องราวของผู้คนในยุครุ่งโรจน์ของวังบูรพา ยังคงเป็นความทรงจำที่เล่าขานมาถึงปัจจุบัน เพราะในสมัยนั้นนอกจากจะมีห้างสรรพสินค้า ภัตตาคารและโรงหนังที่ทันสมัยแล้ว ยังเป็นแหล่งรวมวัยรุ่นในยุคที่วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น ซึ่ง "ย่านวังบูรพา" เป็นที่มาของคำเรียกนักเที่ยวว่า "โก๋หลังวัง" แต่เมื่อความเจริญขยายตัว มีศูนย์กลางความบันเทิงใหม่ๆ อย่างสยาม กลุ่มนักเที่ยวก็เข้าสู่ยุค "เด็กสยาม" ไปตามสมัย ทำให้ในปัจจุบันย่านวังบูรพาเป็นเพียงย่านการค้าเก่ากลางกรุง และนับวันร่องรอยจะเริ่มสูญหายไปตามการพัฒนาพื้นที่ เรื่องเล่าจากคนย่านเก่าเมืองกรุงเทพ จึงนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ย่านวังบูรพาและย่านเก่าอีกหลายแห่งยังคงมีชีวิต และเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนากรุงเทพฯ โดยไม่มองข้ามความเป็นชุมชนที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
ชีวิตที่พลิกผันเพราะอุบัติเหตุช่วงปีใหม่เมื่อ 5 ปีก่อน เปลี่ยนเส้นทางให้ช่างภาพหนุ่ม"กฤชติณท์ วสนาท" เริ่มต้นจับพู่กัน จากวันนั้นที่เดินไม่ได้เหมือนเก่าก็เริ่มจากลองวาดด้วยสีน้ำและกาแฟ การได้ร่วมวาดภาพประมูลช่วยผู้พิการ เป็นส่วนสำคัญให้รักงานศิลปะที่มอบความสุขและยังช่วยเหลือผู้อื่นได้ พัฒนาต่อมาถึงขั้นวาดสีน้ำมัน ถึงจะมีอุปสรรคที่การเคลื่อนไหว แต่เพราะมีสายตาอดีตช่างภาพ ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์สั้นเป็นทุน ทำให้สามารถนำมาปรับใช้กับงานศิลปะได้ โดยเฉพาะงานกราฟิกที่นำมาต่อยอดออกแบบภาพโปสเตอร์นิทรรศการแรกด้วยตัวเอง การได้ร่วมแสดงงานในหอศิลป์ จามจุรีครั้งนี้ ไม่ต่างจากศิลปินมือาชีพ จึงนับว่าเป็นความภูมิใจที่ได้ปรับตัวและใช้ชีวิตในแบบที่เป็นตัวเองอีกครั้ง ร่วมชมนิทรรศการและมอบกำลังใจให้ศิลปินน้องใหม่ได้ ณ หอศิลป์ จามจุรี ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคมนี้ ถึง 22 มกราคม 2559
ติดตามรายละเอียดได้ในไทยบันเทิง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.05 - 12.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
ประเด็นข่าว
ยังเป็นกระแสให้ตามกันต่อถึงเวทีประกวดสามงามมิสยูนิเวิร์สปี 2015 ที่ตัวแทนสาวไทยไม่เพียงเข้ารอบลึก 10 คนสุดท้ายในรอบเกือบ 30 ปี แต่ยังได้ดีใจกับรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยมที่ดีไซเนอร์ ดูจะก้าวมาถึงงานดีไซน์ยุค Post modern กับชุด "ตุ๊กๆ ไทยแลนด์" ที่ผู้ออกแบบต้องใช้ทักษะวิศวกรรมมารวมกับแฟชั่น สร้างสรรค์ชุดนี้ให้ชวนนึกถึงประเทศไทยในมุมที่ต่างชาติคุ้นเคย เป็นฝีมือการออกแบบของคุณหิรัญกฤษฏิ์ ภัทรพิบูลย์กุล นักวิชาการวัฒนธรรม วัย 35 ปี
ตำนานสำคัญของกัมพูชาไม่เพียงส่งอิทธิพลต่องานศิลปะดังปรากฎภาพนางอัปสราบนปราสาทขอม แต่ยังมีการประดิษฐ์เป็น "ระบำอัปสรา" หนึ่งในชุดการแสดงที่กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา นำมาจัดแสดงในโอกาสครบรอบ 65 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและกัมพูชา โดยการจัดแสดงในครั้งนี้ นักแสดงจากกัมพูชาไม่เพียงนำชุดการแสดงที่สะท้อนตัวตนมาให้เพื่อนบ้านไทยได้เรียนรู้ แต่ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์นาฏศิลป์กับนักแสดงไทยจากกรมศิลปากร และโรงเรียนพาทยกุลการดนตรีและนาฏศิลป์ เพื่อมุมมองใหม่และความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ย่านการค้าที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในยุคที่กรุงเทพยังเป็นพระนคร แต่กลับซบเซาอย่างรวดเร็ว เพราะการพัฒนาแหล่งการค้าใหม่ หากเรื่องราวของผู้คนในยุครุ่งโรจน์ของวังบูรพา ยังคงเป็นความทรงจำที่เล่าขานมาถึงปัจจุบัน เพราะในสมัยนั้นนอกจากจะมีห้างสรรพสินค้า ภัตตาคารและโรงหนังที่ทันสมัยแล้ว ยังเป็นแหล่งรวมวัยรุ่นในยุคที่วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น ซึ่ง "ย่านวังบูรพา" เป็นที่มาของคำเรียกนักเที่ยวว่า "โก๋หลังวัง" แต่เมื่อความเจริญขยายตัว มีศูนย์กลางความบันเทิงใหม่ๆ อย่างสยาม กลุ่มนักเที่ยวก็เข้าสู่ยุค "เด็กสยาม" ไปตามสมัย ทำให้ในปัจจุบันย่านวังบูรพาเป็นเพียงย่านการค้าเก่ากลางกรุง และนับวันร่องรอยจะเริ่มสูญหายไปตามการพัฒนาพื้นที่ เรื่องเล่าจากคนย่านเก่าเมืองกรุงเทพ จึงนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำให้ย่านวังบูรพาและย่านเก่าอีกหลายแห่งยังคงมีชีวิต และเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนากรุงเทพฯ โดยไม่มองข้ามความเป็นชุมชนที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
ชีวิตที่พลิกผันเพราะอุบัติเหตุช่วงปีใหม่เมื่อ 5 ปีก่อน เปลี่ยนเส้นทางให้ช่างภาพหนุ่ม"กฤชติณท์ วสนาท" เริ่มต้นจับพู่กัน จากวันนั้นที่เดินไม่ได้เหมือนเก่าก็เริ่มจากลองวาดด้วยสีน้ำและกาแฟ การได้ร่วมวาดภาพประมูลช่วยผู้พิการ เป็นส่วนสำคัญให้รักงานศิลปะที่มอบความสุขและยังช่วยเหลือผู้อื่นได้ พัฒนาต่อมาถึงขั้นวาดสีน้ำมัน ถึงจะมีอุปสรรคที่การเคลื่อนไหว แต่เพราะมีสายตาอดีตช่างภาพ ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์สั้นเป็นทุน ทำให้สามารถนำมาปรับใช้กับงานศิลปะได้ โดยเฉพาะงานกราฟิกที่นำมาต่อยอดออกแบบภาพโปสเตอร์นิทรรศการแรกด้วยตัวเอง การได้ร่วมแสดงงานในหอศิลป์ จามจุรีครั้งนี้ ไม่ต่างจากศิลปินมือาชีพ จึงนับว่าเป็นความภูมิใจที่ได้ปรับตัวและใช้ชีวิตในแบบที่เป็นตัวเองอีกครั้ง ร่วมชมนิทรรศการและมอบกำลังใจให้ศิลปินน้องใหม่ได้ ณ หอศิลป์ จามจุรี ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคมนี้ ถึง 22 มกราคม 2559
ติดตามรายละเอียดได้ในไทยบันเทิง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.05 - 12.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live