ในวันที่เราต่างตระหนกตกใจกับภาวะที่หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (AI = Artificial Intelligence) เข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ ในหลาย ๆ ด้าน ผนวกกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างโรคโควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก เป็น Disruptor ที่เข้ามาเขย่าวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกมิติ โดยเฉพาะปากท้องของคนทั้งโลก ในขณะที่ IMF คาดการณ์ว่าวิกฤตครั้งนี้อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในรอบเกือบ 100 ปี ผู้คนตกงานจำนวนมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว ภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มธุรกิจในทุกสาขาได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มองดูสถานการณ์แล้วดูจะจนมุมในทุกทาง หลังพิงฝาแบบที่หาทางรอดได้ยาก แต่อย่าลืมว่าอาวุธชั้นเยี่ยมของมนุษย์ที่จะใช้ต่อสู้กับวิกฤตรอบด้านให้ผ่านเรื่องราวเหล่านี้ไปได้ คงหนีไม่พ้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ที่เราจะนำพาสังคมและโลกใบนี้ฝ่าวิกฤตไปได้
รายการ ASEAN Checkpoint ได้ออกเดินทางสำรวจประเทศในภูมิภาคอาเซียน ในมุมมองของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งในประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จุดหมายแรก ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย หนึ่งในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ด้านการออกแบบ ประเทศนี้ถือเป็นหัวเรือใหญ่ ในการผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy ในเวทีการประชุมระดับโลกมาแล้ว ประกอบกับผู้นำที่มองเห็นความสำคัญของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งจัดตั้งองค์กรเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เมื่อปี 2559 ภายใต้ชื่อ Indonesian Creative Economy Agency ที่มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้ง 6 ด้าน หลัก ๆ คือการวิจัย การศึกษาและการพัฒนา การเข้าถึงทุน โครงสร้างพื้นฐาน ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิและกฎหมาย และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันและองค์กรในระดับภูมิภาค โดยมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนอินโดนีเซียให้เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ชั้นนำแห่งหนึ่งของโลกภายใน 10 ปีข้างหน้า แต่ความได้เปรียบของประเทศนี้ที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโต นั่นคือคนวัยหนุ่มสาวที่มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ และมีสถาบันการศึกษามากกว่า 120 แห่ง และมี 14 แห่งที่มีการสอนเรื่องสถาปัตยกรรม การออกแบบและศิลปะในเมืองบันดุง ทั้งหมดนี้มีส่วนช่วยส่งเสริมให้บันดุงเป็นเมืองสร้างสรรค์ ที่นี่จึงเป็นเหมือนห้องทดลองของอินโดนีเซียเพื่อพัฒนาคนรุ่นใหม่ออกมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
จุดหมายที่ 2 เราเดินทางไปยังเมืองจอร์จทาวน์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐปีนัง ที่นี่เป็นทั้งเมืองมรดกโลกที่รับรองโดยองค์การ UNESCO ในปี พ.ศ. 2551 และเมืองสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกัน บรรยากาศอาจจะคล้ายกับเมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต ที่เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร ที่มีอาคารโคโลเนียลสไตล์ชิโน-โปรตุกีส เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวเหมือน ๆ กัน แต่หากลงลึกไปกว่านั้น ที่นี่ได้ออกแบบให้มีศิลปะมามีส่วนร่วมกับทุกพื้นที่ ทั้งในงานด้านกราฟิตี้ของศิลปินจากทั่วโลก งานลวดดัด ฝีมือการสร้างสรรค์ของ เออร์เนสต์ ซาชาเรวิก ศิลปินชาวลิทัวเนีย ซึ่งได้ร่วมมือกับศิลปินชาวมาเลย์ หลุยส์ โลว์ ตัง เยือก คัง หลุยส์ กัน และศิลปินชาวไทย ณัฐพล ม่วงเกลี้ยง โดยแต่ละภาพจะแฝงไปด้วยเรื่องราวเก่าแก่ของเมือง หรือสะท้อนให้เห็นถึงสังคมและวัฒนธรรมในช่วงเวลานั้น ๆ นี่อาจเป็นเพียงเสื้อผ้า หน้าผม ที่เราเห็นแค่เพียงภายนอกในมุมของสายตานักท่องเที่ยว แต่ถ้าลงลึกไปกว่านั้น สิ่งเหล่านี้คือส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และจะเห็นได้ว่าธุรกิจสร้างสรรค์นี้สำคัญกับเศรษฐกิจของเมืองจอร์จทาวน์มาก เพราะสร้างรายได้กว่า 410 ล้านริงกิต และคิดเป็น 8.1 % ในปี พ.ศ.2560
จุดหมายสุดท้าย ขึ้นเหนือไปที่จังหวัดเชียงใหม่ เมืองสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน ด้านงานศิลปหัตถกรรม จุดเด่นของที่นี่คือการกระจายตัวด้านงานหัตถกรรมในวงกว้างมากถึง 25 อำเภอ และนำมาสู่การสร้างสรรค์เศรษฐกิจให้เติบโตไปพร้อมกัน ที่นี่มีทั้งศิลปินท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน สถาบันการศึกษา รวมถึงภาคประชาสังคม ที่พยายามช่วยกันผลักดันภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ที่มีอยู่ดั้งเดิมมาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเสี้ยวเล็ก ๆ ที่หยิบจับมาเล่าสู่กันฟัง จากรายการ ASEAN Checkpoint ทั้ง 3 ประเทศนี้ หยิบใช้แนวคิดด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มาใช้ในมิติใดบ้าง ออกเดินทางและร่วม Checkpoint ไปพร้อมกัน ในรายการสารคดี ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์ ตอน เศรษฐกิจสร้างสรรค์ วันอาทิตย์ที่ 12 ก.ค. 63 เวลา 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ในวันที่เราต่างตระหนกตกใจกับภาวะที่หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (AI = Artificial Intelligence) เข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ ในหลาย ๆ ด้าน ผนวกกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างโรคโควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก เป็น Disruptor ที่เข้ามาเขย่าวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกมิติ โดยเฉพาะปากท้องของคนทั้งโลก ในขณะที่ IMF คาดการณ์ว่าวิกฤตครั้งนี้อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในรอบเกือบ 100 ปี ผู้คนตกงานจำนวนมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว ภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มธุรกิจในทุกสาขาได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มองดูสถานการณ์แล้วดูจะจนมุมในทุกทาง หลังพิงฝาแบบที่หาทางรอดได้ยาก แต่อย่าลืมว่าอาวุธชั้นเยี่ยมของมนุษย์ที่จะใช้ต่อสู้กับวิกฤตรอบด้านให้ผ่านเรื่องราวเหล่านี้ไปได้ คงหนีไม่พ้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ที่เราจะนำพาสังคมและโลกใบนี้ฝ่าวิกฤตไปได้
รายการ ASEAN Checkpoint ได้ออกเดินทางสำรวจประเทศในภูมิภาคอาเซียน ในมุมมองของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งในประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จุดหมายแรก ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย หนึ่งในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ด้านการออกแบบ ประเทศนี้ถือเป็นหัวเรือใหญ่ ในการผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy ในเวทีการประชุมระดับโลกมาแล้ว ประกอบกับผู้นำที่มองเห็นความสำคัญของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งจัดตั้งองค์กรเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เมื่อปี 2559 ภายใต้ชื่อ Indonesian Creative Economy Agency ที่มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้ง 6 ด้าน หลัก ๆ คือการวิจัย การศึกษาและการพัฒนา การเข้าถึงทุน โครงสร้างพื้นฐาน ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิและกฎหมาย และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันและองค์กรในระดับภูมิภาค โดยมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนอินโดนีเซียให้เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ชั้นนำแห่งหนึ่งของโลกภายใน 10 ปีข้างหน้า แต่ความได้เปรียบของประเทศนี้ที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโต นั่นคือคนวัยหนุ่มสาวที่มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ และมีสถาบันการศึกษามากกว่า 120 แห่ง และมี 14 แห่งที่มีการสอนเรื่องสถาปัตยกรรม การออกแบบและศิลปะในเมืองบันดุง ทั้งหมดนี้มีส่วนช่วยส่งเสริมให้บันดุงเป็นเมืองสร้างสรรค์ ที่นี่จึงเป็นเหมือนห้องทดลองของอินโดนีเซียเพื่อพัฒนาคนรุ่นใหม่ออกมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
จุดหมายที่ 2 เราเดินทางไปยังเมืองจอร์จทาวน์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐปีนัง ที่นี่เป็นทั้งเมืองมรดกโลกที่รับรองโดยองค์การ UNESCO ในปี พ.ศ. 2551 และเมืองสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกัน บรรยากาศอาจจะคล้ายกับเมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต ที่เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร ที่มีอาคารโคโลเนียลสไตล์ชิโน-โปรตุกีส เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวเหมือน ๆ กัน แต่หากลงลึกไปกว่านั้น ที่นี่ได้ออกแบบให้มีศิลปะมามีส่วนร่วมกับทุกพื้นที่ ทั้งในงานด้านกราฟิตี้ของศิลปินจากทั่วโลก งานลวดดัด ฝีมือการสร้างสรรค์ของ เออร์เนสต์ ซาชาเรวิก ศิลปินชาวลิทัวเนีย ซึ่งได้ร่วมมือกับศิลปินชาวมาเลย์ หลุยส์ โลว์ ตัง เยือก คัง หลุยส์ กัน และศิลปินชาวไทย ณัฐพล ม่วงเกลี้ยง โดยแต่ละภาพจะแฝงไปด้วยเรื่องราวเก่าแก่ของเมือง หรือสะท้อนให้เห็นถึงสังคมและวัฒนธรรมในช่วงเวลานั้น ๆ นี่อาจเป็นเพียงเสื้อผ้า หน้าผม ที่เราเห็นแค่เพียงภายนอกในมุมของสายตานักท่องเที่ยว แต่ถ้าลงลึกไปกว่านั้น สิ่งเหล่านี้คือส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และจะเห็นได้ว่าธุรกิจสร้างสรรค์นี้สำคัญกับเศรษฐกิจของเมืองจอร์จทาวน์มาก เพราะสร้างรายได้กว่า 410 ล้านริงกิต และคิดเป็น 8.1 % ในปี พ.ศ.2560
จุดหมายสุดท้าย ขึ้นเหนือไปที่จังหวัดเชียงใหม่ เมืองสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน ด้านงานศิลปหัตถกรรม จุดเด่นของที่นี่คือการกระจายตัวด้านงานหัตถกรรมในวงกว้างมากถึง 25 อำเภอ และนำมาสู่การสร้างสรรค์เศรษฐกิจให้เติบโตไปพร้อมกัน ที่นี่มีทั้งศิลปินท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน สถาบันการศึกษา รวมถึงภาคประชาสังคม ที่พยายามช่วยกันผลักดันภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ที่มีอยู่ดั้งเดิมมาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเสี้ยวเล็ก ๆ ที่หยิบจับมาเล่าสู่กันฟัง จากรายการ ASEAN Checkpoint ทั้ง 3 ประเทศนี้ หยิบใช้แนวคิดด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มาใช้ในมิติใดบ้าง ออกเดินทางและร่วม Checkpoint ไปพร้อมกัน ในรายการสารคดี ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์ ตอน เศรษฐกิจสร้างสรรค์ วันอาทิตย์ที่ 12 ก.ค. 63 เวลา 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live