ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ
ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์
5 ก.ค. 63

การเดินทางครั้งนี้ เรามุ่งหน้าไป 3 ประเทศด้วยกันคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย กับประเด็นวัฒนธรรมร่วมสมัย จุดที่ทำให้เราแปลกใจสำหรับการเดินทางไปทั้งประเทศสิงคโปร์ และย้อนกลับมาที่ประเทศไทย คือจุดเริ่มต้นของการมองเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม มาจาก “พิษเศรษฐกิจ”

สำหรับประเทศไทย เราเดินทางไปที่จังหวัดเชียงใหม่ ไปเยือนโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ถ้าหากมองย้อนกลับไปถึงที่มาของโรงเรียนแห่งนี้ หลายคนคงไม่อยากจะเชื่อว่าที่นี่เกิดขึ้นเพราะพิษต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ชีวิตผู้คนที่ผูกติดกับทุนนิยมในเมืองใหญ่ กลับได้รับผลกระทบหนัก แต่สำหรับคนในท้องถิ่นกลับไม่เป็นเช่นนั้น ยังคงอยู่ได้ท่ามกลางความล่มสลายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 กว่าปีก่อน หลายคนในเชียงใหม่จึงหันมาใส่ใจคุณค่าทางความคิดและมรดกทางวัฒนธรรมที่ส่งต่อกันมามากยิ่งขึ้น รวมถึงคนรุ่นใหม่วัยหนุ่มสาวด้วยเช่นกัน และความน่าสนใจของที่นี่คือการเป็นตลาดนัดแห่งแรกของภาคเหนือ มาจนวันนี้ที่นี่ก็เหมือนตลาดวิชาแห่งภูมิปัญญา ให้ผู้คนได้มาเรียนรู้งานหัตถกรรมทุกวันหยุด ละวางจากโลกโซเชียลและสังคมอันวุ่นวาย ตลาด หรือกาดนี้ ก็ไม่ได้ทำหน้าที่แค่เป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งรวมคนที่สนใจงานศิลปะทั้งในและต่างประเทศ

จุดหมายที่ 2 กับประเทศสิงคโปร์ ที่โดยปกติเราอาจจะชินตากับตึกสูงระฟ้าที่แทรกซึมไปด้วยต้นไม้ ในทุกพื้นที่ของสิงคโปร์ แต่สีสันที่ซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่สีเขียวและตึกสูงเช่นนี้ ก็คืองานศิลปะที่มีอยู่ทั่วสิงคโปร์ ประเทศเล็ก ๆ ปลายแหลมมลายู ที่หลอมรวมศิลปะทั้งอินเดีย จีน มลายู ไว้ด้วยกันอย่างลงตัว จนสามารถสร้างอัตลักษณ์ของสิงคโปร์ได้ แม้ว่าจะรวมประเทศเป็นเอกราชได้เพียง 50 กว่าปี

จุดหมายสุดท้ายกับประเทศมาเลเซีย กับการสัมผัสสีสันของความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่เราจะได้เห็นทั่วมาเลเซีย โดยเฉพาะกัวลาลัมเปอร์ เป็นพหุวัฒนธรรมที่น่ามาสัมผัสอีกแบบหนึ่ง ทั้งชาวมาเลเซียดั้งเดิม อินเดีย รวมถึงจีน ที่ผสมผสานกัน อยู่ในกัวลาลัมเปอร์แห่งนี้ แน่นอนว่างานศิลปะของที่นี่ เราจะได้เห็นความหลากหลายตามแต่ละพื้นที่ของกัวลาลัมเปอร์ แม้ว่าการย้ายถิ่นฐานของแต่ละเชื้อชาติจะเกิดขึ้นนานมากแล้ว แต่ก็ยังทิ้งวัฒนธรรมให้เราได้เห็นผ่าน Street art หรือ งานศิลปะ และพัฒนาให้มีความร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น

ที่เกริ่นกล่าวมาทั้งหมด อาจเป็นเพียงเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่รายการ ASEAN Checkpoint ได้ออกไปสัมผัสและโฟกัสให้เห็นเป็นภาพถ่ายกับเรื่องราววัฒนธรรมร่วมสมัยทั้ง 3 ประเทศนี้ สีสันของศิลปะและวัฒนธรรมทั้ง 3 ประเทศจะเป็นอย่างไร ออกเดินทางและร่วม Checkpoint ไปพร้อมกัน ในรายการสารคดี ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์ ตอน วัฒนธรรมร่วมสมัย วันอาทิตย์ที่ 5 ก.ค. 63 เวลา 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

วัฒนธรรมร่วมสมัย

5 ก.ค. 63

การเดินทางครั้งนี้ เรามุ่งหน้าไป 3 ประเทศด้วยกันคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย กับประเด็นวัฒนธรรมร่วมสมัย จุดที่ทำให้เราแปลกใจสำหรับการเดินทางไปทั้งประเทศสิงคโปร์ และย้อนกลับมาที่ประเทศไทย คือจุดเริ่มต้นของการมองเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม มาจาก “พิษเศรษฐกิจ”

สำหรับประเทศไทย เราเดินทางไปที่จังหวัดเชียงใหม่ ไปเยือนโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา ถ้าหากมองย้อนกลับไปถึงที่มาของโรงเรียนแห่งนี้ หลายคนคงไม่อยากจะเชื่อว่าที่นี่เกิดขึ้นเพราะพิษต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ชีวิตผู้คนที่ผูกติดกับทุนนิยมในเมืองใหญ่ กลับได้รับผลกระทบหนัก แต่สำหรับคนในท้องถิ่นกลับไม่เป็นเช่นนั้น ยังคงอยู่ได้ท่ามกลางความล่มสลายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 กว่าปีก่อน หลายคนในเชียงใหม่จึงหันมาใส่ใจคุณค่าทางความคิดและมรดกทางวัฒนธรรมที่ส่งต่อกันมามากยิ่งขึ้น รวมถึงคนรุ่นใหม่วัยหนุ่มสาวด้วยเช่นกัน และความน่าสนใจของที่นี่คือการเป็นตลาดนัดแห่งแรกของภาคเหนือ มาจนวันนี้ที่นี่ก็เหมือนตลาดวิชาแห่งภูมิปัญญา ให้ผู้คนได้มาเรียนรู้งานหัตถกรรมทุกวันหยุด ละวางจากโลกโซเชียลและสังคมอันวุ่นวาย ตลาด หรือกาดนี้ ก็ไม่ได้ทำหน้าที่แค่เป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งรวมคนที่สนใจงานศิลปะทั้งในและต่างประเทศ

จุดหมายที่ 2 กับประเทศสิงคโปร์ ที่โดยปกติเราอาจจะชินตากับตึกสูงระฟ้าที่แทรกซึมไปด้วยต้นไม้ ในทุกพื้นที่ของสิงคโปร์ แต่สีสันที่ซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่สีเขียวและตึกสูงเช่นนี้ ก็คืองานศิลปะที่มีอยู่ทั่วสิงคโปร์ ประเทศเล็ก ๆ ปลายแหลมมลายู ที่หลอมรวมศิลปะทั้งอินเดีย จีน มลายู ไว้ด้วยกันอย่างลงตัว จนสามารถสร้างอัตลักษณ์ของสิงคโปร์ได้ แม้ว่าจะรวมประเทศเป็นเอกราชได้เพียง 50 กว่าปี

จุดหมายสุดท้ายกับประเทศมาเลเซีย กับการสัมผัสสีสันของความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่เราจะได้เห็นทั่วมาเลเซีย โดยเฉพาะกัวลาลัมเปอร์ เป็นพหุวัฒนธรรมที่น่ามาสัมผัสอีกแบบหนึ่ง ทั้งชาวมาเลเซียดั้งเดิม อินเดีย รวมถึงจีน ที่ผสมผสานกัน อยู่ในกัวลาลัมเปอร์แห่งนี้ แน่นอนว่างานศิลปะของที่นี่ เราจะได้เห็นความหลากหลายตามแต่ละพื้นที่ของกัวลาลัมเปอร์ แม้ว่าการย้ายถิ่นฐานของแต่ละเชื้อชาติจะเกิดขึ้นนานมากแล้ว แต่ก็ยังทิ้งวัฒนธรรมให้เราได้เห็นผ่าน Street art หรือ งานศิลปะ และพัฒนาให้มีความร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น

ที่เกริ่นกล่าวมาทั้งหมด อาจเป็นเพียงเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่รายการ ASEAN Checkpoint ได้ออกไปสัมผัสและโฟกัสให้เห็นเป็นภาพถ่ายกับเรื่องราววัฒนธรรมร่วมสมัยทั้ง 3 ประเทศนี้ สีสันของศิลปะและวัฒนธรรมทั้ง 3 ประเทศจะเป็นอย่างไร ออกเดินทางและร่วม Checkpoint ไปพร้อมกัน ในรายการสารคดี ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์ ตอน วัฒนธรรมร่วมสมัย วันอาทิตย์ที่ 5 ก.ค. 63 เวลา 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์

ล่าสุด
เศรษฐกิจในอาเซียน
เศรษฐกิจในอาเซียน
7 มี.ค. 63
การท่องเที่ยวในอาเซียน
การท่องเที่ยวในอาเซียน
14 มี.ค. 63
สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
21 มี.ค. 63
การศึกษาและแรงงานในอาเซียน
การศึกษาและแรงงานในอาเซียน
28 มี.ค. 63
เมืองอัจฉริยะในอาเซียน
เมืองอัจฉริยะในอาเซียน
4 เม.ย. 63
วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน
วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน
11 เม.ย. 63
กำลังเล่น...
วัฒนธรรมร่วมสมัย
วัฒนธรรมร่วมสมัย
5 ก.ค. 63
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
12 ก.ค. 63

ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์

ล่าสุด
เศรษฐกิจในอาเซียน
เศรษฐกิจในอาเซียน
7 มี.ค. 63
การท่องเที่ยวในอาเซียน
การท่องเที่ยวในอาเซียน
14 มี.ค. 63
สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
21 มี.ค. 63
การศึกษาและแรงงานในอาเซียน
การศึกษาและแรงงานในอาเซียน
28 มี.ค. 63
เมืองอัจฉริยะในอาเซียน
เมืองอัจฉริยะในอาเซียน
4 เม.ย. 63
วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน
วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน
11 เม.ย. 63
กำลังเล่น...
วัฒนธรรมร่วมสมัย
วัฒนธรรมร่วมสมัย
5 ก.ค. 63
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
12 ก.ค. 63

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย