ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ
ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์
11 เม.ย. 63

โลกร้อนขึ้นทุกวัน ภัยแล้งมาเยือนแทบทุกปี ปะการังฟอกขาวจนความงามใต้ท้องทะเลกลายเป็นแค่ภาพในอดีต น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายอย่างรวดเร็ว สัตว์บางชนิดสูญพันธุ์จนน่าตกใจ ภัยพิบัติเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว นี่คือสัญญาณเตือนจากโลกใบนี้ที่กำลังอ่อนแอลงทุกที พร้อมบอกเราให้รับรู้และตื่นตัวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change แม้ว่าการตระหนักหรือตื่นตัวกับปัญหาตอนนี้ อาจจะดูสายเกินไปเสียด้วยซ้ำกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติที่เสื่อมโทรมลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ดีกว่าไม่เริ่มลงมือทำอะไรเลย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นับว่าเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

หลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศพยายามผลักดันแนวทาง สังคมคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Society ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่โลกใบนี้ นี่คือส่วนหนึ่งของความพยายามในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในขณะที่ภูมิภาคอาเซียนก็มีความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ภายใต้ข้อตกลงที่เรียกว่า ASEAN Ministerial Meeting on Environment หรือว่า AMME ที่เน้นความยั่งยืนใน 4 มิติ มิติแรกคือการรักษาและการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ มิติที่ 2 คือความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมภายในเมือง มิติที่ 3 คือเรื่องของการพัฒนาสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน และมิติสุดท้ายคือการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

ASEAN Checkpoint ในครั้งนี้ จึงออกเดินทางไปยัง 2 ประเทศ เพื่อสำรวจวิถีชีวิตและสังคมคาร์บอนต่ำ ในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ยอมรับเลยว่า การเดินทางมายังประเทศมาเลเซียครั้งนี้ กับการโฟกัสเรื่องสิ่งแวดล้อมถือว่าเกินความคาดหมายในหลาย ๆ เรื่อง จนทำให้รู้สึกทึ่งกับประเทศนี้อย่างมาก ถนนสองข้างทางในเมืองใหญ่อย่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ อาคารแต่ละที่มีต้นไม้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของตึกนั้น ๆ ที่นี่มีพื้นที่สีเขียวประมาณ 44 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน ขณะที่ค่ามาตรฐานของเมืองที่น่าอยู่ ปลอดมลพิษขององค์การอนามัยโลกระบุว่าจะต้องมีพื้นที่สีเขียวไม่ต่ำกว่า 10 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน นี่อาจจะเป็นหลักฐานที่บอกได้ชัดเจนว่า คุณภาพชีวิตของชาวเมืองมาเลเซียดีเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียน

แต่ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ Cyberjaya ชุมชนสีเขียวต้นแบบในรัฐสลังงอร์ ที่ใช้เวลาเดินทางจากสนามบินเพียงแค่ 15 นาที ที่นี่น่าจะเป็นจุดหมายสำคัญในการพิสูจน์ความพยายามของรัฐบาลมาเลเซีย ในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีและการรวบรวมฐานข้อมูลต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้เข้าใจและรับรู้ถึงผลลัพธ์จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมว่ามันมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเพียงใด

สวนสาธารณะในชุมชน Cyberjaya แห่งนี้เต็มไปด้วยต้นไม้นานาชนิดกว่า 300 ต้น คืออีกหนึ่งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและห้องสมุดมีชีวิตของเด็ก ๆ ที่นี่ จักรยานไฟฟ้าที่พยายามพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เชื่อมต่อรถสาธารณะก็เป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจให้คนหันหลังให้รถยนต์ส่วนบุคคล แล้วกลับมาใช้ระบบขนส่งมวลชนแทน และอีกจุดที่นับว่าเป็นสิ่งที่พลาดไม่ได้คือ มัสยิดสีเขียว ที่ถูกออกแบบมาอย่างสวยงามและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุด ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ แสงสว่างตามธรรมชาติ ความเย็นจากลมและน้ำ จนได้รับรางวัลมัสยิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Green Building Index เป็นแห่งแรก ทั้งหมดนี้ถูกคิดและวางแผนมาอย่างดีเป็นระยะเวลานาน นั่นแสดงถึงวิสัยทัศน์ของผู้นำที่มองเห็นความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมและจริงใจที่จะแก้ไขปัญหาระดับโลกไปพร้อมกัน

จุดหมายสุดท้ายกับประเทศสิงคโปร์ เมืองคาร์บอนต่ำที่นับเป็นตัวอย่างที่ดีแห่งหนึ่งของโลก เพราะการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมานานหลาย 10 ปี ตั้งแต่สมัยนายกรัฐมนตรีลีกวนยู จึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศนี้จะได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีผลการดำเนินงานที่ดีที่สุดในเอเชียในด้าน Green City Index โดย Economist Intelligence Unit และ Siemens แน่นอนว่า ความโดดเด่นในเรื่องต้นไม้ในเมืองส่งผลให้ที่นี่มีพื้นที่สีเขียวต่อประชากรมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก นั่นคือ 66 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน แต่ถ้าเทียบกับกรุงเทพฯ มีอยู่เพียง 5.46 ตารางเมตรต่อคนเท่านั้น รู้แบบนี้แล้วอาจจะดูเศร้าใจ แต่มันคือความจริงที่สะท้อนให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องหันกลับมาใส่ใจเรื่องราวใกล้ตัวเหล่านี้อย่างจริงจัง

ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่รายการ ASEAN Checkpoint ได้ออกไปสัมผัสและโฟกัสให้เห็นเป็นภาพถ่าย ทั้ง 2 ประเทศนี้ประสบความสำเร็จในเรื่องการจัดการพื้นที่สีเขียวและสังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างไร ไปร่วมหาคำตอบในรายการสารคดี ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์ ตอน วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน วันเสาร์ที่ 11 เม.ย. 63 เวลา 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน

11 เม.ย. 63

โลกร้อนขึ้นทุกวัน ภัยแล้งมาเยือนแทบทุกปี ปะการังฟอกขาวจนความงามใต้ท้องทะเลกลายเป็นแค่ภาพในอดีต น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายอย่างรวดเร็ว สัตว์บางชนิดสูญพันธุ์จนน่าตกใจ ภัยพิบัติเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว นี่คือสัญญาณเตือนจากโลกใบนี้ที่กำลังอ่อนแอลงทุกที พร้อมบอกเราให้รับรู้และตื่นตัวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change แม้ว่าการตระหนักหรือตื่นตัวกับปัญหาตอนนี้ อาจจะดูสายเกินไปเสียด้วยซ้ำกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติที่เสื่อมโทรมลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ดีกว่าไม่เริ่มลงมือทำอะไรเลย โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นับว่าเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

หลายปีที่ผ่านมา หลายประเทศพยายามผลักดันแนวทาง สังคมคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Society ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่โลกใบนี้ นี่คือส่วนหนึ่งของความพยายามในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ในขณะที่ภูมิภาคอาเซียนก็มีความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ภายใต้ข้อตกลงที่เรียกว่า ASEAN Ministerial Meeting on Environment หรือว่า AMME ที่เน้นความยั่งยืนใน 4 มิติ มิติแรกคือการรักษาและการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ มิติที่ 2 คือความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมภายในเมือง มิติที่ 3 คือเรื่องของการพัฒนาสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน และมิติสุดท้ายคือการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

ASEAN Checkpoint ในครั้งนี้ จึงออกเดินทางไปยัง 2 ประเทศ เพื่อสำรวจวิถีชีวิตและสังคมคาร์บอนต่ำ ในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ยอมรับเลยว่า การเดินทางมายังประเทศมาเลเซียครั้งนี้ กับการโฟกัสเรื่องสิ่งแวดล้อมถือว่าเกินความคาดหมายในหลาย ๆ เรื่อง จนทำให้รู้สึกทึ่งกับประเทศนี้อย่างมาก ถนนสองข้างทางในเมืองใหญ่อย่างกรุงกัวลาลัมเปอร์ เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ อาคารแต่ละที่มีต้นไม้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของตึกนั้น ๆ ที่นี่มีพื้นที่สีเขียวประมาณ 44 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน ขณะที่ค่ามาตรฐานของเมืองที่น่าอยู่ ปลอดมลพิษขององค์การอนามัยโลกระบุว่าจะต้องมีพื้นที่สีเขียวไม่ต่ำกว่า 10 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน นี่อาจจะเป็นหลักฐานที่บอกได้ชัดเจนว่า คุณภาพชีวิตของชาวเมืองมาเลเซียดีเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียน

แต่ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือ Cyberjaya ชุมชนสีเขียวต้นแบบในรัฐสลังงอร์ ที่ใช้เวลาเดินทางจากสนามบินเพียงแค่ 15 นาที ที่นี่น่าจะเป็นจุดหมายสำคัญในการพิสูจน์ความพยายามของรัฐบาลมาเลเซีย ในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีและการรวบรวมฐานข้อมูลต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้เข้าใจและรับรู้ถึงผลลัพธ์จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมว่ามันมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมเพียงใด

สวนสาธารณะในชุมชน Cyberjaya แห่งนี้เต็มไปด้วยต้นไม้นานาชนิดกว่า 300 ต้น คืออีกหนึ่งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและห้องสมุดมีชีวิตของเด็ก ๆ ที่นี่ จักรยานไฟฟ้าที่พยายามพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เชื่อมต่อรถสาธารณะก็เป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจให้คนหันหลังให้รถยนต์ส่วนบุคคล แล้วกลับมาใช้ระบบขนส่งมวลชนแทน และอีกจุดที่นับว่าเป็นสิ่งที่พลาดไม่ได้คือ มัสยิดสีเขียว ที่ถูกออกแบบมาอย่างสวยงามและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุด ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ แสงสว่างตามธรรมชาติ ความเย็นจากลมและน้ำ จนได้รับรางวัลมัสยิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Green Building Index เป็นแห่งแรก ทั้งหมดนี้ถูกคิดและวางแผนมาอย่างดีเป็นระยะเวลานาน นั่นแสดงถึงวิสัยทัศน์ของผู้นำที่มองเห็นความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมและจริงใจที่จะแก้ไขปัญหาระดับโลกไปพร้อมกัน

จุดหมายสุดท้ายกับประเทศสิงคโปร์ เมืองคาร์บอนต่ำที่นับเป็นตัวอย่างที่ดีแห่งหนึ่งของโลก เพราะการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมานานหลาย 10 ปี ตั้งแต่สมัยนายกรัฐมนตรีลีกวนยู จึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศนี้จะได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีผลการดำเนินงานที่ดีที่สุดในเอเชียในด้าน Green City Index โดย Economist Intelligence Unit และ Siemens แน่นอนว่า ความโดดเด่นในเรื่องต้นไม้ในเมืองส่งผลให้ที่นี่มีพื้นที่สีเขียวต่อประชากรมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก นั่นคือ 66 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน แต่ถ้าเทียบกับกรุงเทพฯ มีอยู่เพียง 5.46 ตารางเมตรต่อคนเท่านั้น รู้แบบนี้แล้วอาจจะดูเศร้าใจ แต่มันคือความจริงที่สะท้อนให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องหันกลับมาใส่ใจเรื่องราวใกล้ตัวเหล่านี้อย่างจริงจัง

ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่รายการ ASEAN Checkpoint ได้ออกไปสัมผัสและโฟกัสให้เห็นเป็นภาพถ่าย ทั้ง 2 ประเทศนี้ประสบความสำเร็จในเรื่องการจัดการพื้นที่สีเขียวและสังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างไร ไปร่วมหาคำตอบในรายการสารคดี ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์ ตอน วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน วันเสาร์ที่ 11 เม.ย. 63 เวลา 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์

ล่าสุด
เศรษฐกิจในอาเซียน
เศรษฐกิจในอาเซียน
7 มี.ค. 63
การท่องเที่ยวในอาเซียน
การท่องเที่ยวในอาเซียน
14 มี.ค. 63
สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
21 มี.ค. 63
การศึกษาและแรงงานในอาเซียน
การศึกษาและแรงงานในอาเซียน
28 มี.ค. 63
เมืองอัจฉริยะในอาเซียน
เมืองอัจฉริยะในอาเซียน
4 เม.ย. 63
กำลังเล่น...
วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน
วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน
11 เม.ย. 63
วัฒนธรรมร่วมสมัย
วัฒนธรรมร่วมสมัย
5 ก.ค. 63
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
12 ก.ค. 63

ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์

ล่าสุด
เศรษฐกิจในอาเซียน
เศรษฐกิจในอาเซียน
7 มี.ค. 63
การท่องเที่ยวในอาเซียน
การท่องเที่ยวในอาเซียน
14 มี.ค. 63
สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
สิ่งแวดล้อมในอาเซียน
21 มี.ค. 63
การศึกษาและแรงงานในอาเซียน
การศึกษาและแรงงานในอาเซียน
28 มี.ค. 63
เมืองอัจฉริยะในอาเซียน
เมืองอัจฉริยะในอาเซียน
4 เม.ย. 63
กำลังเล่น...
วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน
วิถีคาร์บอนต่ำในอาเซียน
11 เม.ย. 63
วัฒนธรรมร่วมสมัย
วัฒนธรรมร่วมสมัย
5 ก.ค. 63
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
12 ก.ค. 63

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย