ในยุคที่โลกเปลี่ยนไว และเทคโนโลยีทั้งปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่มนุษย์ในหลาย ๆ ส่วน กลไกสำคัญที่จะทำหน้าที่พัฒนามนุษย์ให้เหนือกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ก็คือ “การศึกษา” เพื่อผลิตทรัพยากรแรงงานที่มีคุณภาพ และสามารถรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไปได้อย่างทันท่วงที
ในวันที่แรงงานและการศึกษาเคลื่อนย้ายระหว่าง 10 ประเทศในอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสาขาอาชีพที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงของประชาคมอาเซียนที่เป็นแรงงานวิชาชีพชั้นสูง ที่ผ่านมาประชาคมอาเซียนได้กำหนดมาตรฐานร่วมกันเรียกว่า MRA หรือ Mutual Recognition Arrangement ปัจจุบันทำไปแล้ว 7 + 1 วิชาชีพ ประกอบด้วย วิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักบัญชี และอาชีพบริการด้านการท่องเที่ยว
กรอบความร่วมมือที่ 2 เราเรียกว่า The ASEAN Agreement on the Movement of Natural Persons ความร่วมมือนี้ เราเน้นไปที่ 2 จำพวก พวกแรกคือ Business visitor คือผู้บริหารระดับกลางขึ้นไป ผู้จัดการ จนถึงระดับ CEO สามารถเข้าไปทำงานในประเทศอาเซียนได้ในช่วงสั้น ๆ โดยไม่ต้องขอ Working Visa หรือ Work permit ใช้ระยะเวลาประมาณ 90 วัน ต่ออายุได้ 1 - 2 ครั้ง
หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วแรงงานด้อยฝีมือชาวเมียนมา ลาว กัมพูชา นอกเหนือจากอาชีพทั้งหมดที่กล่าวมานี้อยู่ในความร่วมมือใด..? ที่ผ่านมาประเทศไทยมีบันทึกความเข้าใจ (MOU) แบบทวิภาคีระหว่างไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา อนุญาตให้แรงงาน ด้อยฝีมือไปจนถึงกึ่งฝีมือเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ โดยต้องเข้าไปจดทะเบียนแรงงานกับกระทรวงแรงงาน เพื่อแก้ปัญหาในตอนนี้ที่ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานเพราะเข้าสู่สังคมสูงวัย
ASEAN Checkpoint ครั้งนี้ จึงออกเดินทางสำรวจห้องเรียนและวิถีชีวิตแรงงานใน 3 ประเทศ เพื่อสะท้อนความร่วมมือดังกล่าวว่าที่ผ่านมาความร่วมมือของประชาคมอาเซียนสำเร็จหรือไม่...?
เริ่มตั้งแต่ ประเทศเมียนมา กับการสัมผัสห้องเรียนในแบบเมียนมา พร้อมพูดคุยกับนักศึกษาถึงมุมมองและแนวคิดด้านโอกาสในตลาดแรงงาน รวมถึงการปรับตัวด้านการศึกษาหลังจากเปิดประเทศ พร้อมติดตามแรงงานชาวมาเลเซีย ที่เดินทางไปทำงานในหลายประเทศ ตั้งแต่ประเทศบรูไน อินโดนีเซีย ไทย และเมียนมา ประสบการณ์การทำงานในต่างแดนของเขา จะสะท้อนภาพอาเซียนอย่างไรบ้างต้องติดตาม
จุดหมายที่ 2 กับห้องเรียนของมาเลเซียและไทย ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายใต้โครงการ ASEAN Young Innovator พื้นที่แห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ จากแนวคิดของนักเรียนชั้นมัธยมฯ ในวันที่โลกนี้ไร้พรมแดนด้วยเทคโนโลยี ห้องเรียนสี่เหลี่ยมแบบเดิมจึงนำไปสู่อิสระแห่งการเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อเข้าใจความต่างหลากหลายระหว่างประเทศในอาเซียน
จุดหมายที่ 3 กับการติดตามแรงงานภาคบริการที่เคลื่อนย้ายจากประเทศฟิลิปปินส์ สู่ประเทศมาเลเซีย เพราะอะไร แรงงานชาวฟิลิปปินส์ถึงเนื้อหอมในกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร ต้องไปหาคำตอบพร้อมกัน
ออกเดินทางสำรวจความสำเร็จของประชาคมอาเซียน ในมิติของการศึกษาและแรงงาน ในรายการสารคดี ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์ ตอน การศึกษาและแรงงานในอาเซียน วันเสาร์ที่ 28 มี.ค. 63 เวลา 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ในยุคที่โลกเปลี่ยนไว และเทคโนโลยีทั้งปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่มนุษย์ในหลาย ๆ ส่วน กลไกสำคัญที่จะทำหน้าที่พัฒนามนุษย์ให้เหนือกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ก็คือ “การศึกษา” เพื่อผลิตทรัพยากรแรงงานที่มีคุณภาพ และสามารถรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไปได้อย่างทันท่วงที
ในวันที่แรงงานและการศึกษาเคลื่อนย้ายระหว่าง 10 ประเทศในอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสาขาอาชีพที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงของประชาคมอาเซียนที่เป็นแรงงานวิชาชีพชั้นสูง ที่ผ่านมาประชาคมอาเซียนได้กำหนดมาตรฐานร่วมกันเรียกว่า MRA หรือ Mutual Recognition Arrangement ปัจจุบันทำไปแล้ว 7 + 1 วิชาชีพ ประกอบด้วย วิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล นักบัญชี และอาชีพบริการด้านการท่องเที่ยว
กรอบความร่วมมือที่ 2 เราเรียกว่า The ASEAN Agreement on the Movement of Natural Persons ความร่วมมือนี้ เราเน้นไปที่ 2 จำพวก พวกแรกคือ Business visitor คือผู้บริหารระดับกลางขึ้นไป ผู้จัดการ จนถึงระดับ CEO สามารถเข้าไปทำงานในประเทศอาเซียนได้ในช่วงสั้น ๆ โดยไม่ต้องขอ Working Visa หรือ Work permit ใช้ระยะเวลาประมาณ 90 วัน ต่ออายุได้ 1 - 2 ครั้ง
หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วแรงงานด้อยฝีมือชาวเมียนมา ลาว กัมพูชา นอกเหนือจากอาชีพทั้งหมดที่กล่าวมานี้อยู่ในความร่วมมือใด..? ที่ผ่านมาประเทศไทยมีบันทึกความเข้าใจ (MOU) แบบทวิภาคีระหว่างไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา อนุญาตให้แรงงาน ด้อยฝีมือไปจนถึงกึ่งฝีมือเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ โดยต้องเข้าไปจดทะเบียนแรงงานกับกระทรวงแรงงาน เพื่อแก้ปัญหาในตอนนี้ที่ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานเพราะเข้าสู่สังคมสูงวัย
ASEAN Checkpoint ครั้งนี้ จึงออกเดินทางสำรวจห้องเรียนและวิถีชีวิตแรงงานใน 3 ประเทศ เพื่อสะท้อนความร่วมมือดังกล่าวว่าที่ผ่านมาความร่วมมือของประชาคมอาเซียนสำเร็จหรือไม่...?
เริ่มตั้งแต่ ประเทศเมียนมา กับการสัมผัสห้องเรียนในแบบเมียนมา พร้อมพูดคุยกับนักศึกษาถึงมุมมองและแนวคิดด้านโอกาสในตลาดแรงงาน รวมถึงการปรับตัวด้านการศึกษาหลังจากเปิดประเทศ พร้อมติดตามแรงงานชาวมาเลเซีย ที่เดินทางไปทำงานในหลายประเทศ ตั้งแต่ประเทศบรูไน อินโดนีเซีย ไทย และเมียนมา ประสบการณ์การทำงานในต่างแดนของเขา จะสะท้อนภาพอาเซียนอย่างไรบ้างต้องติดตาม
จุดหมายที่ 2 กับห้องเรียนของมาเลเซียและไทย ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายใต้โครงการ ASEAN Young Innovator พื้นที่แห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ จากแนวคิดของนักเรียนชั้นมัธยมฯ ในวันที่โลกนี้ไร้พรมแดนด้วยเทคโนโลยี ห้องเรียนสี่เหลี่ยมแบบเดิมจึงนำไปสู่อิสระแห่งการเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อเข้าใจความต่างหลากหลายระหว่างประเทศในอาเซียน
จุดหมายที่ 3 กับการติดตามแรงงานภาคบริการที่เคลื่อนย้ายจากประเทศฟิลิปปินส์ สู่ประเทศมาเลเซีย เพราะอะไร แรงงานชาวฟิลิปปินส์ถึงเนื้อหอมในกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร ต้องไปหาคำตอบพร้อมกัน
ออกเดินทางสำรวจความสำเร็จของประชาคมอาเซียน ในมิติของการศึกษาและแรงงาน ในรายการสารคดี ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์ ตอน การศึกษาและแรงงานในอาเซียน วันเสาร์ที่ 28 มี.ค. 63 เวลา 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live