เบื่อไหม...? กับการที่เราไม่สามารถทำกิจวัตรบางอย่างในที่กลางแจ้งได้เหมือนเดิม อยากออกไปวิ่ง ออกกำลังกายสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้าก็ทำไม่ได้เพราะค่าฝุ่นสูงเกินไป อยากออกไปปั่นจักรยานในสวนสาธารณะ แต่ไม่เอาดีกว่าเพราะวันนี้ฝุ่นปกคลุมทั่วเมือง
ในวันที่สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ปกคลุมในพื้นที่สำคัญอย่างจังหวัดใหญ่ ๆ ในภาคเหนือ โดยเฉพาะช่วงต้นปี กับหลายจังหวัด ภาคใต้ ในช่วงปลายปี หรือแม้กระทั่งกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทยที่มักจะติดอันดับต้น ๆ ของโลกในเรื่องค่าฝุ่นที่เกินค่ามาตรฐาน สถานการณ์แบบนี้ เรามักจะตื่นตระหนกกันในช่วงเวลาหนึ่ง แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไป โดยไม่มีใครพูดถึงว่าผลกระทบในระยะยาวที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย มันคืออะไร...?
ฝุ่นเล็ก ๆ ที่อาจมองเห็นไม่ได้ด้วยตา อาจทำให้เราไม่ได้ใส่ใจ จนมองข้ามและไม่ประเมินมูลค่าเป็นตัวเลขออกมา ว่าสุดท้ายแล้วเราต้องสูญเสียเม็ดเงินไปเท่าไรกับปัญหาฝุ่นพิษเหล่านี้ เรามาไล่ดูกันตั้งแต่กรุงเทพมหานคร เราต้องสูญเสียต้นทุนมลพิษทางอากาศสูงถึง 550,000 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาพรวมอยู่ที่ 50,000 ล้านบาทต่อปี จังหวัดในภาคใต้อย่าง จังหวัดสงขลา หรือนครศรีธรรมราช อยู่ที่ 18,000 ล้านบาทต่อปี และภาพรวมทั้งประเทศอยู่ที่ 2,000,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของ GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ พูดง่าย ๆ ก็คือ 100 บาท ที่เราผลิตสินค้าและบริการขึ้นมา เราต้องสังเวยให้กับสุขภาพ ความสุขของคนที่ลดลง 12 บาท หากคิดดูดี ๆ เสียมากกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มอีก
แต่ถ้ามองภาพใหญ่ในระดับอาเซียน เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่เกิดขึ้น ปัจจัยหลักก็มาจากประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีอาณาเขตติดต่อกัน และการแก้ไขปัญหาแบบกำหนดนโยบาย Master Plan ฉบับเดียวใช้ทั้งประเทศคงไม่มีวันได้ผล เพราะปัจจัยแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป อย่างพื้นที่ในภาคเหนือที่เรามักจะมีฝุ่นพิษข้ามพรมแดนในช่วงฤดูกาลเผาจากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำการเกษตร เกาะเกี่ยวและกระทบกันในเมียนมา ลาว หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากกัมพูชา และมาที่ตอนใต้บ้านเรา ที่มักจะได้รับผลกระทบจากเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย แน่นอนว่าเฉพาะกำลังของประชาชนคนตาดำ ๆ ก็ไม่อาจจะลงมาแก้ปัญหานี้ได้ในระดับความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐ
ที่ผ่านมา ประชาคมอาเซียน พยายามสร้างกรอบความร่วมมือเรื่องการแก้ไขปัญหามลพิษข้ามพรมแดน Agreement on transboundary haze pollution ตั้งแต่ปี ค.ศ.2002 แต่ยังไม่ครบ 10 ประเทศ จนสถานการณ์วิกฤตถึงขั้นต้องปิดสนามบินของประเทศสิงคโปร์ ในปี ค.ศ.2013 ประเทศอินโดนีเซียจึงเข้ามาร่วมความร่วมมือนี้เป็นประเทศสุดท้าย และบังคับใช้กรอบความร่วมมือเรื่องฝุ่นพิษข้ามพรมแดนครบทั้ง 10 ประเทศ ในปี ค.ศ.2014
การเดินทางของ ASEAN Checkpoint ในครั้งนี้ เราจึงออกเดินทางไปสำรวจปัญหานี้ที่ปลายด้ามขวานไทยอย่างจังหวัดสงขลา ที่ได้รับผลกระทบมลพิษข้ามพรมแดนตั้งแต่ปีที่แล้ว
จุดหมายที่ 2 กับการไปสำรวจปัญหาขยะภายในประเทศอินโดนีเซีย กับแม่น้ำ Citarum แม่น้ำที่สกปรกที่สุดในโลก ทอดยาวกว่า 300 กิโลเมตร หล่อเลี้ยงชีวิตคนริมฝั่งน้ำหลาย 10 ล้านคนในพื้นที่ชวาตะวันตก ก่อนหน้านี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ ADB เคยประเมินไว้ว่าต้องใช้งบประมาณสูงถึง 420,000 ล้านบาท ใช้เวลานานถึง 20 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาแม่น้ำสายนี้ ในขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียตั้งเป้าว่าจะแก้ปัญหาให้ได้ภายใน 7 ปี อินโดนีเซียจะทำได้จริงหรือไม่ ลองมาพิสูจน์กัน
จุดหมายสุดท้าย คือประเทศสิงคโปร์ ที่นี่ก็ยังมีปัญหาขยะพลาสติกเช่นกัน เราจึงได้เห็นกลุ่มอาสาสมัครมาช่วยกันเก็บขยะที่เกลื่อนกลาดอยู่ริมชายหาดทุกวันหยุด และครั้งนี้เราก็ไม่พลาดที่จะไปหาคำตอบว่า ขยะทะเล ที่อยู่ตามชายหาดของสิงคโปร์มาจากที่ไหน การเดินทางของ ASEAN Checkpoint วันนี้ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ไปสักหน่อย แต่ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่หรือเรื่องไกลตัว เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อม ท้ายที่สุดแล้วก็จะวนกลับมากระทบกับเราทุกคน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
ออกเดินทางและทำความเข้าใจไปด้วยกัน พร้อมพิสูจน์กันว่าความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นเพียงแค่สัญญา หรือวาทกรรม ติดตามชมในรายการสารคดี ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์ ตอน สิ่งแวดล้อมในอาเซียน วันเสาร์ที่ 21 มี.ค. 63 เวลา 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เบื่อไหม...? กับการที่เราไม่สามารถทำกิจวัตรบางอย่างในที่กลางแจ้งได้เหมือนเดิม อยากออกไปวิ่ง ออกกำลังกายสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้าก็ทำไม่ได้เพราะค่าฝุ่นสูงเกินไป อยากออกไปปั่นจักรยานในสวนสาธารณะ แต่ไม่เอาดีกว่าเพราะวันนี้ฝุ่นปกคลุมทั่วเมือง
ในวันที่สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM2.5 ปกคลุมในพื้นที่สำคัญอย่างจังหวัดใหญ่ ๆ ในภาคเหนือ โดยเฉพาะช่วงต้นปี กับหลายจังหวัด ภาคใต้ ในช่วงปลายปี หรือแม้กระทั่งกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทยที่มักจะติดอันดับต้น ๆ ของโลกในเรื่องค่าฝุ่นที่เกินค่ามาตรฐาน สถานการณ์แบบนี้ เรามักจะตื่นตระหนกกันในช่วงเวลาหนึ่ง แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไป โดยไม่มีใครพูดถึงว่าผลกระทบในระยะยาวที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย มันคืออะไร...?
ฝุ่นเล็ก ๆ ที่อาจมองเห็นไม่ได้ด้วยตา อาจทำให้เราไม่ได้ใส่ใจ จนมองข้ามและไม่ประเมินมูลค่าเป็นตัวเลขออกมา ว่าสุดท้ายแล้วเราต้องสูญเสียเม็ดเงินไปเท่าไรกับปัญหาฝุ่นพิษเหล่านี้ เรามาไล่ดูกันตั้งแต่กรุงเทพมหานคร เราต้องสูญเสียต้นทุนมลพิษทางอากาศสูงถึง 550,000 ล้านบาทต่อปี ในขณะที่จังหวัดเชียงใหม่ ภาพรวมอยู่ที่ 50,000 ล้านบาทต่อปี จังหวัดในภาคใต้อย่าง จังหวัดสงขลา หรือนครศรีธรรมราช อยู่ที่ 18,000 ล้านบาทต่อปี และภาพรวมทั้งประเทศอยู่ที่ 2,000,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของ GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ พูดง่าย ๆ ก็คือ 100 บาท ที่เราผลิตสินค้าและบริการขึ้นมา เราต้องสังเวยให้กับสุขภาพ ความสุขของคนที่ลดลง 12 บาท หากคิดดูดี ๆ เสียมากกว่าภาษีมูลค่าเพิ่มอีก
แต่ถ้ามองภาพใหญ่ในระดับอาเซียน เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่เกิดขึ้น ปัจจัยหลักก็มาจากประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีอาณาเขตติดต่อกัน และการแก้ไขปัญหาแบบกำหนดนโยบาย Master Plan ฉบับเดียวใช้ทั้งประเทศคงไม่มีวันได้ผล เพราะปัจจัยแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป อย่างพื้นที่ในภาคเหนือที่เรามักจะมีฝุ่นพิษข้ามพรมแดนในช่วงฤดูกาลเผาจากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำการเกษตร เกาะเกี่ยวและกระทบกันในเมียนมา ลาว หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากกัมพูชา และมาที่ตอนใต้บ้านเรา ที่มักจะได้รับผลกระทบจากเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย แน่นอนว่าเฉพาะกำลังของประชาชนคนตาดำ ๆ ก็ไม่อาจจะลงมาแก้ปัญหานี้ได้ในระดับความสัมพันธ์แบบรัฐต่อรัฐ
ที่ผ่านมา ประชาคมอาเซียน พยายามสร้างกรอบความร่วมมือเรื่องการแก้ไขปัญหามลพิษข้ามพรมแดน Agreement on transboundary haze pollution ตั้งแต่ปี ค.ศ.2002 แต่ยังไม่ครบ 10 ประเทศ จนสถานการณ์วิกฤตถึงขั้นต้องปิดสนามบินของประเทศสิงคโปร์ ในปี ค.ศ.2013 ประเทศอินโดนีเซียจึงเข้ามาร่วมความร่วมมือนี้เป็นประเทศสุดท้าย และบังคับใช้กรอบความร่วมมือเรื่องฝุ่นพิษข้ามพรมแดนครบทั้ง 10 ประเทศ ในปี ค.ศ.2014
การเดินทางของ ASEAN Checkpoint ในครั้งนี้ เราจึงออกเดินทางไปสำรวจปัญหานี้ที่ปลายด้ามขวานไทยอย่างจังหวัดสงขลา ที่ได้รับผลกระทบมลพิษข้ามพรมแดนตั้งแต่ปีที่แล้ว
จุดหมายที่ 2 กับการไปสำรวจปัญหาขยะภายในประเทศอินโดนีเซีย กับแม่น้ำ Citarum แม่น้ำที่สกปรกที่สุดในโลก ทอดยาวกว่า 300 กิโลเมตร หล่อเลี้ยงชีวิตคนริมฝั่งน้ำหลาย 10 ล้านคนในพื้นที่ชวาตะวันตก ก่อนหน้านี้ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ ADB เคยประเมินไว้ว่าต้องใช้งบประมาณสูงถึง 420,000 ล้านบาท ใช้เวลานานถึง 20 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาแม่น้ำสายนี้ ในขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียตั้งเป้าว่าจะแก้ปัญหาให้ได้ภายใน 7 ปี อินโดนีเซียจะทำได้จริงหรือไม่ ลองมาพิสูจน์กัน
จุดหมายสุดท้าย คือประเทศสิงคโปร์ ที่นี่ก็ยังมีปัญหาขยะพลาสติกเช่นกัน เราจึงได้เห็นกลุ่มอาสาสมัครมาช่วยกันเก็บขยะที่เกลื่อนกลาดอยู่ริมชายหาดทุกวันหยุด และครั้งนี้เราก็ไม่พลาดที่จะไปหาคำตอบว่า ขยะทะเล ที่อยู่ตามชายหาดของสิงคโปร์มาจากที่ไหน การเดินทางของ ASEAN Checkpoint วันนี้ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ไปสักหน่อย แต่ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่หรือเรื่องไกลตัว เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อม ท้ายที่สุดแล้วก็จะวนกลับมากระทบกับเราทุกคน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
ออกเดินทางและทำความเข้าใจไปด้วยกัน พร้อมพิสูจน์กันว่าความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นเพียงแค่สัญญา หรือวาทกรรม ติดตามชมในรายการสารคดี ASEAN Checkpoint วิถีอาเซียน พันธสัญญาอุษาคเนย์ ตอน สิ่งแวดล้อมในอาเซียน วันเสาร์ที่ 21 มี.ค. 63 เวลา 21.10 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live