ถ้าพูดถึงสัตว์วายร้ายใน “อุทยานแห่งชาติกากาดู (Kakadu National Park)” จระเข้คงขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ใครจะคิดว่า “ควาย” ก็เป็นจอมวายร้ายเหมือนกัน “ควาย” ถูกนำเข้ามาในรัฐ Northern Territory ในศตวรรษที่ 19 เพื่อนำมาใช้งานและเป็นแหล่งเนื้อสัตว์สำหรับผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของออสเตรเลีย แต่หลังจากคนกลุ่มนั้นย้ายไป ควายเลี้ยงก็ถูกปล่อยคืนสู่ป่าและเพิ่มปริมาณขึ้นมาก พวกมันทำลายแหล่งที่อยู่และแหล่งอาหารของสัตว์พื้นเมือง รวมถึงพืชเฉพาะถิ่นในกากาดู จึงถูกตราหน้าว่าสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง แต่วิถีชีวิตของสัตว์ที่เปลี่ยนไป บางทีก็มีสาเหตุมาจากมนุษย์นั่นเอง
ชมย้อนหลังรายการ A Life on the Road ถนน คน ชีวิต ได้ทาง www.thaipbs.or.th/ALife
ถ้าพูดถึงสัตว์วายร้ายใน “อุทยานแห่งชาติกากาดู (Kakadu National Park)” จระเข้คงขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ใครจะคิดว่า “ควาย” ก็เป็นจอมวายร้ายเหมือนกัน “ควาย” ถูกนำเข้ามาในรัฐ Northern Territory ในศตวรรษที่ 19 เพื่อนำมาใช้งานและเป็นแหล่งเนื้อสัตว์สำหรับผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของออสเตรเลีย แต่หลังจากคนกลุ่มนั้นย้ายไป ควายเลี้ยงก็ถูกปล่อยคืนสู่ป่าและเพิ่มปริมาณขึ้นมาก พวกมันทำลายแหล่งที่อยู่และแหล่งอาหารของสัตว์พื้นเมือง รวมถึงพืชเฉพาะถิ่นในกากาดู จึงถูกตราหน้าว่าสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง แต่วิถีชีวิตของสัตว์ที่เปลี่ยนไป บางทีก็มีสาเหตุมาจากมนุษย์นั่นเอง
ชมย้อนหลังรายการ A Life on the Road ถนน คน ชีวิต ได้ทาง www.thaipbs.or.th/ALife