รักข้ามสายพันธุ์ ? “ปลากระเบน” ตั้งท้อง คาด “ฉลาม” พ่อเด็ก


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

20 ก.พ. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

รักข้ามสายพันธุ์ ? “ปลากระเบน” ตั้งท้อง คาด “ฉลาม” พ่อเด็ก

https://www.thaipbs.or.th/now/content/830

รักข้ามสายพันธุ์ ? “ปลากระเบน” ตั้งท้อง คาด “ฉลาม” พ่อเด็ก
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

เกิดเรื่องสุดฉงน ! ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Aquarium and Shark Lab เมืองเฮนเดอร์สันวิลล์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ “ปลากระเบนตัวเมีย” มีตัวเดียวเกิดตั้งท้อง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่า “ฉลามตัวผู้” อาจเป็นพ่อของ “ลูกปลากระเบน” ที่กำลังจะลืมตาดูโลก

ในตอนแรกทางพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำและห้องทดลองฉลามโดยทีม ECCO ได้เกิดความกังวลว่า “ปลากระเบน” อาจเป็น “มะเร็ง” เนื่องจากตัวเริ่มบวม แต่เมื่อทำการอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) ทำให้ทราบว่ากำลัง “ตั้งท้อง”

ภาพผลการทำอัลตราซาวนด์ปลากระเบน ภาพจาก Aquarium & Shark Lab by Team ECCO

“ชาร์ล็อตต์” ปลากระเบนของเรากำลังรอคอยลูกของเธอที่กำลังจะเกิด โดยทางเราได้ทราบเรื่องมากว่า 3 เดือนแล้ว ที่สำคัญและน่าทึ่งจริง ๆ ก็คือเรา (พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ) ไม่มีปลากระเบนตัวผู้ ! ทีม ECCO ได้ให้ข้อมูลไว้บนโลกโซเชียลมีเดีย

เรื่องนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยมากมาย โดย Brenda Ramer ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหารของทีม ECCO ได้ให้ความเห็นว่า แน่นอนว่ามีหลายแนวทางเพื่อช่วยให้ตั้งครรภ์ได้แม้ไม่มีตัวผู้อยู่ด้วย ซึ่ง “ปลากระเบน” บางสายพันธุ์สามารถเก็บสเปิร์มไว้ใช้ในภายหลังได้ แต่ทั้งนี้ไม่มี “ปลากระเบนตัวผู้” เก็บไว้ในถังร่วมกับ “ชาร์ลอตต์” เลย

แต่มีตัวผู้จากสายพันธุ์อื่นอยู่กับ “ปลากระเบน” ด้วย ซึ่งนำไปสู่ข้ออ้างที่ไม่น่าเป็นไปได้ (แต่ไม่ได้อยู่นอกขอบเขตความเป็นไปได้ทั้งหมด) ว่า “ฉลามตัวผู้” อาจทำให้ “ชาร์ลอตต์” ตั้งท้อง

ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์มี 2-3 ทฤษฎี ว่าเหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวข้องกับฉลามตัวผู้ ผู้อำนวยการ April Smith กล่าวว่าคำอธิบายที่เป็นไปได้ประการหนึ่งคือกระบวนการพาร์ธีโนเจเนซิส (Parthenogenesis) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ตัวเมียสามารถผลิต “เอ็มบริโอ” โดยไม่อาศัยเพศ ไม่ต้องปฏิสนธิกับอสุจิ

นี่เป็นกลไกการเอาชีวิตรอดที่ช่วยให้สามารถอนุรักษ์สายพันธุ์ได้ และมักเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่มีตัวผู้อยู่ด้วย เช่น ในสวนสัตว์หรือพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หรือแม้แต่ในพื้นที่อันเงียบสงบใต้ทะเลลึก

แต่นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาทฤษฎีอื่นขึ้น เมื่อสังเกตเห็นรอยกัดบนตัว “ปลากระเบน” โดยปลากระเบนแบ่งปันถังกับฉลามตัวผู้จุดขาว 2 ตัว เมื่อเรา (พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ) ปิดไฟ ฉลามอาจเข้าไปกัดแล้วทำการผสมพันธุ์ ซึ่งหนึ่งในสองตัวนี้อาจเป็นพ่อของเด็ก

ทั้งนี้ ทฤษฎีทั้งหมดจะได้รับการยืนยันหลัง “ปลากระเบน” คลอด เว้นแต่นักวิทยาศาสตร์จะพบเบาะแสที่เป็นเหตุเป็นผลสามารถนำมาอธิบายหักล้างแนวคิดเกี่ยวกับการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ได้ก่อน

อนึ่ง ฉลามและปลากระเบนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในทางอนุกรมวิธาน หรือ Taxonomically (วิธีการจัดหมวดหมู่หรือจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต) ดังนั้นในทางทฤษฎี “ฉลาม” กับ “ปลากระเบน” สามารถผสมพันธุ์กันได้

🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :  iflscience, businessinsider, Aquarium & Shark Lab by Team ECCO

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ปลากระเบนตั้งท้องปลากระเบนฉลามฉลามขาวรักข้ามสายพันธุ์วิทยาศาสตร์Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover : (jiraphob.thawisoonsong@gmail.com)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด